CQI ( ContinuousQuality Improvement) การดูแลสุขภาพของชมรมผู้สูงอายุตำบลหนองโสน หลักการและเหตุผล เนื่องจากประเทศไทยได้กลายเป็นสังคมสูงวัยไปแล้วคือประชากรไทยกำลังสูงวัยขึ้นอย่างรวดเร็วมาก ประเทศไทยได้กลายเป็น “สังคมสูงวัย” มาตั้งแต่ปี 2548 แล้ว เมื่อสัดส่วนประชากรสูงอายุ (60ปีขึ้นไป) สูงถึงร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมดประเทศไทยกำลังจะกลายเป็น “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์”เมื่อประชากรอายุ 60ปีขึ้นไปมีมากถึงร้อยละ 20 ในปี 2564 หรือในอีกเพียง 5 ปีข้างหน้าและคาดว่าจะเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอดในอีกไม่ถึง 20 ปีข้างหน้านี้เมื่อประชากรอายุ60 ปีขึ้นไป มีสัดส่วนถึงร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งตำบลหนองโสนกำลังก้าวเข้าสู้สังคมผู้สูงอายุโดยมีประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด 1,569 คิดเป็นร้อยละ 18.30 ของประชากรทั้งหมดนอกจากนี้ยังสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มติดบ้าน 23 คน ร้อยละ 1.53 ติดสังคม 1,465 คนร้อยละ 97.99 และติดเตียง 7 คน ร้อยละ 0.44 จึงต้องเตรียมพร้อมรองรับการดูแลด้านสุขภาพวัยสูงอายุ เพราะเป็นวัยที่เกิดปัญหาความเสื่อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจประกอบกับ เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่างๆ รวมทั้งปัญหาสุขภาพการสูญเสียฟันและสุขภาพช่องปากส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ การบริการด้านสาธารณสุขและการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ซึ่งทำให้ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลปัญหาสุขภาพค่อนข้างสูง การตรวจคัดกรองสุขภาพของกลุ่มผู้สูงอายุในแต่ละกลุ่มมีความต้องการด้านการดูแลสุขภาพที่ต่างกัน จากที่ผ่านมาตำบลหนองโสนได้ให้สนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุและการทำกิจกรรมต่างๆในชมรมผู้สูงอายุแต่ยังไม่มีรูปแบบหรือการดำเนินกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพและการดูแลสุขภาพที่ต่อเนื่อง ดังนั้นการบริการด้านสุขภาพให้ครอบคลุมทั้ง4 ด้านทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันสุขภาพการรักษาสุขภาพและการฟื้นฟูสุขภาพที่เหมาะสม จะทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตยืนยาวอย่างมีคุณภาพต้องมีการส่งเสริมและป้องกันโรคในผู้สูงอายุที่ยังมีสุขภาพดีให้มีสุขภาพแข็งแรงเพื่อยืดเวลาที่จะเกิดการเจ็บป่วยเรื้อรังออกไป และในผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยให้หายหรือทุเลาจากการป่วย ลดการเกิดความพิการหรือทุพพลภาพและยืดเวลาของการเข้าสู่ภาวะทุพพลภาพออกไป รวมทั้งต้องคำนึงถึงการให้บริการแบบองค์รวมอย่างเป็นระบบและบูรณาการ จากข้อมูลดังกล่าวทางองค์กรบริหารส่วนตำบลหนองโสนและหน่วยบริการสุขภาพทั้งสองแห่งและคณะกรรมการชมรมจึงได้ร่วมกันดำเนินงานสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุและเห็นความสำคัญของแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่สามารถนำมาเป็นหลักในดำเนินงานดูแลผู้สูงอายุได้ครอบคลุมเพราะในอนาคตตำบลหนองโสนต้องมีการรองรับสังคมกลุ่มผู้สูงอายุ และต้องการเห็นคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลหนองโสนมีสุขภาพที่ดี ปัญหาที่พบ เนื่องจากปัญหาที่พบได้ในวัยผู้สูงอายุสุขภาพร่างกายเริ่มเสื่อมโทรมและมีโรคต่างๆเกิดขึ้นตามมา สมาชิกในครอบครัวควรจะใส่ใจและดูแลผู้สูงอายุให้มากขึ้นรวมถึงการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ และควรปรับสภาพภายในบ้านให้เหมาะกับผู้สูงอายุ ด้านการบริทางการแพทย์ส่วนใหญ่รักษาด้วยสิทธิบัตรทองและสิทธิข้าราชการที่ บางรายสามารถเดินทางมารักษาที่สถานบริการได้แต่บางรายมีปัญหาสุขภาพ หรือการเดินทางที่ไม่สะดวกที่ต้องได้รับการตรวจประเมินเยี่ยมบ้านในพื้นที่ ด้านการเปลี่ยนแปลงทางด้านสิ่งแวดล้อมผลจากการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจทำให้รูปแบบและขนาดของครอบครัวแปรเปลี่ยนไปผู้สูงอายุบางรายขาดผู้ดูแล ดังนั้นเพื่อเป็นการสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวชุมชน ควรสนับสนุนให้มีผู้ดูแลหรือค่อยช่วยเหลือให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุประจำ วัตถุประสงค์ 1.เพื่อให้บริการสุขภาพผู้สูงอายุในกลุ่ม ติดบ้าน ติดเตียงและติดสังคมได้อย่างครอบคลุม 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุตำบลหนองโสนทำกิจกรรมร่วมกัน 3. เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชมรมผู้สูงอายุตำบลหนองโสน ตัวชี้วัด 1.ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงมีผู้ดูแล100% 2. ชมรมผู้สูงอายุตำบลหนองโสนมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง 3. ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมทุกเดือนอย่างน้อย 80 % เป้าหมาย ผู้ที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ตำบลหนองโสน ตำบลหนองโสน วิธีการดำเนินงาน การวางแนวการแก้ไขปัญหา 1. สำรวจและคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ 2.วิเคราะห์ปัญหาการดำเนินงานในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ในศตวรรษนี้การสูงวัยของประชากรเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกมีการแบ่งระดับผู้สูงอายุด้วยกัน3 ระดับดังนี้
ระดับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) หมายถึง มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ10 ระดับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) หมายถึงสังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ60ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ20
ระดับสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-aged society) หมายถึงสังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ65ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ20 ตาราง แสดงจำนวนผู้สูงอายุรายหมู่บ้าน ตำบลหนองโสน อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร หมู่ | | | กลุ่มสูงอายุวัย80ปีขึ้นไป | | | | | | | | | | | 1 | | | | | | | | | | | 2 | | | | | | | | | | | 3 | | | | | | | | | | | 4 | | | | | | | | | | | 5 | | | | | | | | | | | 6 | | | | | | | | | | | 7 | | | | | | | | | | | 8 | | | | | | | | | | | 9 | | | | | | | | | | | 10 | | | | | | | | | | | 11 | | | | | | | | | | | 12 | | | | | | | | | | | 13 | | | | | | | | | | | 14 | | | | | | | | | | | 15 | | | | | | | | | | | 16 | | | | | | | | | | | 17 | | | | | | | | | | | 18 | | | | | | | | | | | 19 | | | | | | | | | | | 20 | | | | | | | | | | |
ตำบลหนองโสนระดับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) คือมีผู้สูงอายุ มีจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด 1,569 คน จากจำนวนประชากรทั้งหมด 8,570 คน คิดเป็นร้อยละ18.30 ของประชาการทั้งหมดแบ่งเป็น ผู้สูงอายุ ชาย จำนวน 756 คน ผู้สูงอายุ หญิงจำนวน 813 คนแบ่งเป็นช่วงอายุดังนี้ ผู้สูงอายุวัยต้น (60-69 ปี) ชาย 460 คน หญิง 507 คน ทั้งหมด 967 คน ผู้สูงอายุวัยกลาง (70-79 ปี) ชาย 223 คน หญิง 228 คน ทั้งหมด 451 คน ผู้สูงอายุวัยปลาย (80ปีขึ้นไป) ชาย 73 คน หญิง 78 คน ทั้งหมด 151 คน 3.แบ่งประเภทผู้สูงอายุเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มติดบ้าน ติดเตียง และติดสังคม ตาราง แสดงข้อมูลผู้สูงอายุตามกลุ่มได้รับการตรวจศักยภาพตามความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (Barthel Activities of Daily Living : ADL) 2559 รายหมู่ หมู่ | | | | | | | | | | 1 | | | | | | | | | | 2 | | | | | | | | | | 3 | | | | | | | | | | 4 | | | | | | | | | | 5 | | | | | | | | | | 6 | | | | | | | | | | 7 | | | | | | | | | | 8 | | | | | | | | | | 9 | | | | | | | | | | 10 | | | | | | | | | | 11 | | | | | | | | | | 12 | | | | | | | | | | 13 | | | | | | | | | | 14 | | | | | | | | | | 15 | | | | | | | | | | 16 | | | | | | | | | | 17 | | | | | | | | | | 18 | | | | | | | | | | 19 | | | | | | | | | | 20 | | | | | | | | | |
4.จัดประชุมการดำเนินงาน การทำแผนเกี่ยวกับการดูแลกลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่ภายในเครือข่ายตำบลหนองโสน 5. ประสานงานกับแกนนำชมรมผู้สูงอายุตำบลหนองโสน 6.ส่งเสริมกิจกรรมให้กับกลุ่มผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม - กิจกรรมออกกำลังกายร่วมกัน - เข้าร่วมกิจกรรมตามประเพณีวัฒนธรรมไทย - กิจกรรมส่งเสริมด้านอาชีพให้กับชมรมผู้สูงอายุ 7. เยี่ยมบ้านกลุ่มผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ตามเกณฑ์ 8.สนับสนุนให้ อผส. ดูแลผู้สูงอายุ ติดบ้านติดเตียงโดยการแบ่งพื้นที่รับผิดชอบ | | | | | | | | | | | หรหมหล่ำ | ม.1 | | | | สรีสักดิ์แดง | ม.11 | | | พันธ์สิงห์ดี | ม3 | | | | ศรีทอง | ม.10 | | | ศรีบางตาล | ม.3 | | | | | | | เนตรแก้ว | ม.3 | | | | เกษวิริยการ | ม.8 | | | | | | | เจริญสุข | ม.6 | | | ชาติบุตร | ม.3 | | | | โพธิ์คำ | ม.6 | | | พยัคศรี | ม.7 | | | | | | | แก้วกัน | ม.7 | | | | พุทไธสงค์ | ม.9 | | | โสล้อม | ม.5 | | | | ผังดี | ม.13 | | | | | | | | | | แสนลำพูน | ม20 | | | | ส้มทอง | ม.15 | | | มาลาพันธ์ | ม20 | | | | เอี่ยม แย้ม | ม.9 | | | ผิวอ่อนดี | ม20 | | | | งอยไธสงค์ | ม.9 | | | สระทองเพชร | ม20 | | | | | | | | | | | | | | | | อรุณอาศิรกุล | ม17 | | | | | | | | หงษ์เวียงจันทร์ | ม17 | | | | | | | | ทันใจ | ม17 | | | | | | | | มาบุยช่วย | ม.2 | | | | | | | | | | | | | | | | ทองคงอ่วม | ม20 | | | | | | | | กาบแหวน | ม14 | | | | | | | | จูด้วง | ม19 | | | | | | |
บทบาทของอาสาสมัครดูแลผู้สูอายุ * ผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง - ติดตามเยี่ยมบ้านสัปดาห์ละ1 ครั้ง - ให้การดูแล ช่วยเหลือ แนะนำ ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ - ประสานความช่วยเหลือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งด้านสุขภาพสังคมและเศรษฐกิจ * ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน - ติดตามเยี่ยมบ้านเดือนละ 1 ครั้ง - ให้การดูแล ช่วยเหลือ แนะนำ ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ - ประสานความช่วยเหลือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งด้านสุขภาพสังคมและเศรษฐกิจ 9. ทางด้านการทางการแพทย์ รพ.สต. มีการดำเนินงานเยี่ยมบ้าน ร่วมกับสหวิชาชีพแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ นักกายภาพบำบัด เภสัชกร เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเจ้าหน้าที่แพทย์แผนไทยและผู้ป่วยแพทย์แผนไทยประเมินและเตรียมแผนการดูแลเฉพาะด้านสำหรับผู้สูงอายุที่บ้านโดยบูรณาการร่วมกับคลินิกเบาหวานและความดันโลหิตสูงทุกวันศุกร์ 10.ประเมินผลกระทบต่อสุขภาพกลุ่มผู้สูงอายุ ติดบ้าน ติดเตียงจากแบบบันทึก 11.มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานด้านสุขภาพระดับตำบล และระดับอำเภอ ผลการดำเนินงาน ด้านการส่งเสริมสุขภาพ 1.ผู้สูงอายุมีกิจกรรมออกกำลังกาย ปั่นจักรยาน และรำไม้พอง 2.มีกลุ่มฝีมือสร้างรายได้ให้สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ ด้านการดูแลสุขภาพ ประเภท | | | | ติดบ้าน | | | | ติดเตียง | | | | รวม | | | |
1.ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงได้รับการดูแลสุขภาพทุกราย 2.ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ได้รับการเยี่ยมบ้านตามเกณฑ์ 3.เกิดเครือข่ายการดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุระดับตำบล ผลการดำเนินงานต่อเนื่อง 1.เพิ่มจำนวน อผส.ให้ได้รับการอบรมการดูแลผู้สูงอายุ 2.มีการดำเนินงานเยี่ยมบ้าน กลุ่มผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง โดยเจ้าหน้าที่ รพ.สต. ทีมสหวิชาชีพสมาชิกชมรมผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง 3.มีการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานกิจกรรมในกลุ่มผู้สูงอายุที่หลากหลาย 4.มีการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในให้ครอบคลุม อุปสรรค 1.อผส. ไม่ค่อยมีเวลาออกเยี่ยมกลุ่มสูงอายุติดบ้าน ติดเตียงต้องทำงานประจำ 2.อผส.ยังขาดทักษะในการดูแลผู้สูงอายุจึงต้องมีการปฏิบัติงานร่วมกับเจ้าหน้าที่รพ.สต.เพื่อประเมินการทำงาน 3. เจ้าหน้าที่ไม่ค่อยมีเวลาเข้าร่วมทำกิจกรรมกับผู้สูงอายุ สิ่งที่ภาคภูมิใจ 1.ผู้สูงอายุ 1 รายเป็นผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านได้รับการดูแลกลับมาเป็นผู้สูงอายุติดสังคม และผู้สูงอายุติดเตียงสามารถกลับมาเป็นผู้สูงอายุติดบ้านพอช่วยเหลืองตนเองได้ 2.มีภาคีเครือข่ายการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระดับตำบลเข้มแข็ง 3.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ข้อเสนอแนะการพัฒนา 1.สนับสนุนให้มีการ อบรม อผส. ครบทุกหมู่บ้าน 2.ส่งเสริมให้มีกิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ กลุ่มติดบ้าน ติดเตียงอย่างต่อเนื่อง 3.มีการสนับสนุนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพกลุ่มผู้สูงอายุอย่างครอบคลุม4 มิติ ภาคผนวก -การตรวจสุขภาพ -จัดประชุมชี้แจ้งแนวทางการดำเนินงาน -การส่งเสริมการออกกกำลังกาย -ร่วมกิจกรรมประเพณีไทย -สร้างรายได้ สร้างอาชีพ -ช่วยเหลือสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ -อผส. การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง -การเยี่ยมบ้านของทีมสหวิชาชีพ DOWNLOAD >>
CQIรพ.สต.มาปกระเปา.doc
(9.84 MB, ดาวน์โหลดแล้ว: 503)
CQI2559_การดูแลสุขภาพของชมรมผู้สูงอายุ.ppt.ppt
(9.46 MB, ดาวน์โหลดแล้ว: 563)
|