ดู: 2416|ตอบกลับ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

CQI2559_CAUTIทีมป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ

[คัดลอกลิงก์]

359

กระทู้

406

โพสต์

2327

เครดิต

ผู้ดูแลระบบ

Rank: 9Rank: 9Rank: 9

เครดิต
2327
CQI2559_CAUTIทีมป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ



1.      ชื่อผลงาน / โครงการพัฒนา
DC procedure with SS technique เพื่อลดอัตราการเกิดCaUTI ในโรงพยาบาลสามง่าม
(Double Checklist procedure with strongly steriletechnique)

2.       คำสำคัญ
1.       CaUTI (Catheterassociated Urinary Tract Infection)
2.       Double Checklist procedure
3.       Strongly sterile technique

3.      สรุปผลงานโดยย่อ
การติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะเป็นปัญหาที่สำคัญซึ่งทางองค์การอนามัยโลกได้ทำการสำรวจปัญหาการติดเชื้อในโรงพยาบาลทั้งหมด47 แห่งจาก 14 ประเทศ  รวมทั้งประเทศไทย
ในปี 1988 พบว่า ปัญหาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะอยู่ในกลุ่มผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะ
สูงถึงร้อยละ 31.2 (1) จากข้อมูลดังกล่าวส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยทำให้ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยนานขึ้นเพิ่มความรุนแรงของการเจ็บป่วย เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อดื้อยาและเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อลุกลามเข้ากระแสเลือดรวมถึงยังส่งผลต่อบุคลากรทางสาธารณสุขอีกด้วยซึ่งจากการเก็บข้อมูลของโรงพยาบาลสามง่ามพบสัดส่วนการติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะต่อการติดเชื้อทั้งหมดของโรงพยาบาลปี 2557 - 2558 คิดเป็นร้อยละ 16.67 ,45.45 ตามลำดับ
จากข้อมูลดังกล่าวทางคณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อโรงพยาบาลสามง่ามจึงนำปัญหาการติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะมาทำทบทวนและได้คิดมาตรการDCprocedure with SS technique เพื่อนำมาเป็นเครื่องมือในการป้องกันการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะโดยเน้นขั้นตอนการเตรียมอุปกรณ์การสวนปัสสาวะ  เทคนิคการสวนปัสสาวะ และการดูแลระหว่างคาสายสวนปัสสาวะ
หลังจากได้เก็บรวบรวมข้อมูล พบว่าอัตราการติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะต่อพัน
วันคาสายสวนลดลง จาก  2.32 ,8.61 ตามลำดับในปี 2557- 2558  เป็น 4.17  ในปี 2559

4.      ชื่อ และ ที่อยู่องค์กร
โรงพยาบาลสามง่ามอ.สามง่าม จ. พิจิตร

5.      สมาชิกทีม
    1.  นพ.ดนัยพร           สุขอยู่
    2.  น.ส.วรรณภา          เขียวขำ
    3.  น.ส.สุทธิดา            อัษฎาธานนท์
    4.  นางณัฐณิชา          เมฆฉาย
    5.  นางลำเจียก           เทียมวิไล
    6.  นางสุรีย์พร           ศักดิ์เพชร
    7.  นางเพ็ญพิมล          ธีรธิติไชย
    8.  น.ส.จารุวรรณ         บัญญัติ
    9.  น.ส.ปาจรีย์            สีเขียว
    10.นางมณีพรรณ         นพศิริ

6.      เป้าหมาย
เพื่อลดอัตราการเกิดการติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะต่อพันวันคาสายสวนปัสสาวะ ในโรงพยาบาลสามง่าม

7.      ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ
     ผู้ป่วยที่เข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลสามง่ามส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังและมีโรคร่วม
หลายโรคและบางส่วนสมัครใจรักษาใกล้บ้านเช่น ผู้ป่วย Stroke,CVA, CA ด้วยพยาธิสภาพของโรคมีความจำเป็นต้องใส่สายสวนปัสสาวะเป็นเวลานานทำให้เกิดการติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะจากการทบทวนตามPrevention CaUTI พบสาเหตุที่สามารถป้องกันได้ คือ
     - การประเมินความจำเป็นที่จะต้องใส่สายสวนปัสสาวะและข้อบ่งชี้ในการถอดสายสวนปัสสาวะ
     - การสวนปัสสาวะ
     - การเทปัสสาวะ
     - การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยญาติ และเจ้าหน้าที่
     -การดูและขณะคาสายสวนปัสสาวะ

     8.กิจกรรมการพัฒนา
มาตรการ DC procedurewith SS technique
                   -  ประเมิน 2  Tick ในกลุ่มการพยาบาลและนิเทศการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด
                   -  ทำความเข้าใจวิธีปฏิบัติเรื่องการสวนปัสสาวะโดยเฉพาะเรื่องFlushing
                   -  เน้นSterile Technique ขณะตวงน้ำปัสสาวะ
          - ปรับปรุงการจัดเซทให้เหมาะสมโดยแยก Set Flushและ Set สวนฯ จัดหาLubricate Gel แบบใช้ครั้งเดียว
                   -  มีการทำ D/C Plan โดยทีมสหวิชาชีพก่อนส่งผู้ป่วยกลับบ้านและประสาน
รพ.สต.ในพื้นที่เพื่อติดตามประเมินผล
                   -  แจกแผ่นพับการให้ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะทุกราย

     9.การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง
DC procedurewith SS technique ลดอัตราการเกิดการติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะ ในโรงพยาบาลสามง่ามได้

     10.บทเรียนที่ได้รับ
1.  ควรศึกษาคู่มือปฏิบัติที่มีให้เข้าใจและสื่อสารกับผู้เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันและต้องมีการกำกับติดตามประเมินผลเป็นระยะ
2.  ต้องมีการติดตามการปฏิบัติอย่างใกล้ชิดทุกครั้งที่มีการใส่สายสวนปัสสาวะ
3.  มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหน่วยงานและระหว่างหน่วยงานจากปัญหาที่เกิดขึ้น
4.  นำปัญหาที่ได้เรียนรู้จากเรื่องนี้และเกี่ยวข้องในงานกลับไปปรับปรุงและแก้ไขร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานอย่างทันท่วงทีเพื่อให้เกิดผลดีกับผู้ป่วยอย่างรวดเร็วทันที
5. การลดอุบัติการณ์การติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะ ต้องการความร่วมมือจาก
บุคลากรสหสาขาวิชาชีพ และเชื่อมโยงหลายหน่วยงานให้มีการปฏิบัติตามแนวทางนโยบายที่กำหนด
ให้ได้มากที่สุดดำเนินการอย่างต่อเนื่องและติดตามประเมินผลระยะยาวร่วมกับการให้ข้อมูลย้อนกลับ
กับบุคลากรทุกภาคส่วนให้เกิดความตระหนักและร่วมมือในการดำเนินการตามนโยบายที่กำหนด

     11.การติดต่อกับทีมงาน
โรงพยาบาลสามง่าม 056-691240 ต่อ 410



บรรณานุกรม

(1)       การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาในการขับถ่ายปัสสาวะ: พูนทรัพย์  โสภารัตน์ (2548)
(2)       การเฝ้าระวังและการสอบสวนการระบาดของการติดเชื้อในโรงพยาบาล :รองศาสตราจารย์อะเคื้อ อุณหเลขกะ (2548 )
(3)       Journalof Health Science Vol. 23 No. 1 March - April 2011”การป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ จากการคาสายสวนปัสสาวะในผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและข้อโรงพยาบาลขอนแก่น
(4)       Thai Journal of Nursing Council Vol.27 No.1 January-March 2012”การป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในไอซียูอายุรกรรม”:โรงพยาบาลสงขลานครินทร์จังหวัดสงขลา
(5)       ผลการพัฒนาแนวทางปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลของระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยที่ใส่สายสวนคาปัสสาวะ: คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒน์ (2553)
(6)       คู่มือปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล: สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข (2556 )
(7)       การลดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะโดยการเอาสายสวนปัสสาวะออกให้เร็วที่สุดในผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ (2558)

DOWNLOAD >>
CQI2559_CAUTIทีมป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ.docx.docx (43.63 KB, ดาวน์โหลดแล้ว: 572)


ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้