ดู: 1003|ตอบกลับ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

CQI2559_(รพ.สต.หนองโสน)ชุมชนเข้มแข็ง

[คัดลอกลิงก์]

344

กระทู้

389

โพสต์

2212

เครดิต

ผู้ดูแลระบบ

Rank: 9Rank: 9Rank: 9

เครดิต
2212


เรื่อง  ชุมชนเข้มแข็งลด ละเลิกบุหรี่
ผู้รับผิดชอบ  นายบุญทัน  จุมพรมตำแหน่ง  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองโสน
                นายทวีศักดิ์  ปานสีลาตำแหน่ง  เจ้าพนักงานสาธารณสุขปฏิบัติงาน
                นางสาวถิราภรณ์  ศรีมงคล  ตำแหน่ง  แพทย์แผนไทยปฏิบัติการ
ความเป็นมา
ในการดำเนินการสร้างสุขภาพเป็นสิ่งที่สามารถดำเนินการได้แต่มักพบปัญหาอยู่มากเนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย จึงให้ความสำคัญกับการทำงานเพื่อหารายได้มาเลี้ยงชีพและตอบสนองต่อความต้องการ  สร้างให้เกิดความเครียด  ครอบครัวแยกย้ายกันไปทำงาน  ทำให้ขาดความอบอุ่น ขาดการเอาใจใส่ดูแลซึ่งกันและกันในครอบครัวและไม่ใส่ใจในการดูแลด้านสุขภาพที่ถูกต้องด้วยความเจริญด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงค่านิยมวัฒนธรรม วิถีชีวิต ปัจจุบันมีสิ่งที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตที่สะดวกสบายมากขึ้นการโฆษณาชวนเชื่อและเพิ่มค่านิยมการกินอาหารแบบตะวันตก อาหารหวาน มัน เค็มขาดการเคลื่อนไหวออกกำลังกาย มีพฤติกรรมเลียนแบบ เช่นสูบบุหรี่  ดื่มสุรา การมีพฤติกรรมและปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ไม่ถูกต้องและเสี่ยงเหล่านี้เกิดจากการไม่รู้เท่าทันดังกล่าว ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ตายและพิการเป็นภาระต่อครอบครัว ชุมชนและประเทศในการดูแล รักษา มีการสูญเสียค่าใช้จ่ายและเศรษฐกิจ มหาศาล  ซึ่งโรคเหล่านี้ป้องกันได้ด้วยบุคคลและชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมในชุมชนเพื่อเสริมสร้างให้ประชาชนมีทักษะการจัดการระบบสุขภาพในชุมชนได้ด้วยตนเอง เสริมสร้างให้เกิดความเข้มแข็งของโครงสร้างชุมชนที่เอื้อต่อการจัดการระบบสุขภาพภาคประชาชนเพื่อลดปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน ตลอดจนลดอัตราป่วย/ตาย และเกิดการดูแลสุขภาพด้วยตนเองแบบยั่งยืน
ปัจจุบันคนไทยตกเป็นเหยื่อของบุหรี่ทั้งๆที่ไม่ได้สูบบุหรี่จำนวนคนไทยที่สูบบุหรี่ทั้งสิ้นมีประมาณ 10 ล้านคน ชายไทยสูบบุหรี่ร้อยละ 37.2และหญิงไทยร้อยละ 2.2 สูบบุหรี่ แม้จะมีกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะแต่ก็ยังมีผู้ฝ่าฝืนสูบบุหรี่ในสถานที่ที่ห้ามสูบบุหรี่ ในสัดส่วนที่สูงโดยตลอดและปัจจุบันควันบุหรี่ในอากาศรอบตัวเราประกอบด้วยควันบุหรี่ที่เกิดจากการเผาไหม้ของบุหรี่ระหว่างผู้สูบบุหรี่ประมาณร้อยละ85และควันบุหรี่ที่ผู้สูบบุหรี่พ่นออกมาภายหลังจากการดูดควันบุหรี่เข้าปอดแล้วประมาณร้อยละ15 ควันบุหรี่ในอากาศประกอบด้วยสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกายเช่นเดียวกับควันบุหรี่ที่ผู้สูบบุหรี่สูดเข้าปอด เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ แอมโมเนียอาร์เซนิก ปรอท ฟอร์มาลดีไฮด์ และสารก่อมะเร็งชนิดอื่นๆผู้ที่ได้รับควันบุหรี่จึงมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเป็นโรคต่างๆ  ซึ่งต่างจากผู้ที่ไม่ได้รับควันบุหรี่โดยเฉพาะโรคมะเร็งที่มีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ30
ในสถานการณ์ผู้สูบบุหรี่จากข้อมูลผู้สูบบุหรี่ในเขตรับผิดชอบรพ.สต.หนองโสนอำเภอสามง่าม พบว่า ปี 2558พบผู้สูบบุหรี่สะสมรวม 630 คนซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ก่อให้เกิดอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มสูงขึ้น  ดังนั้นได้จัดทำแผนงานการลดละเลิกบุหรี่ขึ้นเพื่อเสริมสร้างให้ประชาชนมีทักษะการจัดการระบบสุขภาพในชุมชนได้ด้วยตนเอง เสริมสร้างให้เกิดความเข้มแข็งของโครงสร้างชุมชนที่เอื้อต่อการจัดการระบบสุขภาพภาคประชาชน  ผ่านตามกระบวนการเรียนรู้ต่างๆอย่างเป็นระบบ  เพื่อลดปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน ตลอดจนลดอัตราป่วย/ตายในกลุ่มโรคไม่ติดต่อลงได้  เกิดการดูแลสุขภาพด้วยตนเองแบบยั่งยืน
วัตถุประสงค์
          1.เสริมสร้างให้เกิดความเข้มแข็งของโครงสร้างชุมชนที่เอื้อต่อการจัดการระบบสุขภาพภาคประชาชน  
2.เกิดการดูแลสุขภาพด้วยตนเองแบบยั่งยืน
เป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินการ
จำนวน 19 หมู่บ้าน  ตำบลหนองโสน อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร

สรุปผลที่เกิดขึ้น
การบริหารจัดการโดยใช้กองทุนสุขภาพเป็นจุดเชื่อมการสร้างความร่วมมือ  โดยประชาชนตำบลหนองโสนยังขาดการสร้างและเอาใจใส่สุขภาพที่ถูกต้องได้แต่ซ่อมสุขภาพซึ่งส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการหารายได้มาตอบสนองต่อความต้องการต่างๆ   ทำให้ผลที่ตามมาก็คือ ความเครียดและโรคภัยต่างๆ   ดังนั้นจึงได้จัดทำกระบวนการจัดการสุขภาพขึ้นในตำบลเน้นกระบวนการสร้างสุขภาพด้วยตนเอง การมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นหลัก
กระบวนการทำงานแก้ไขปัญหาเรื่องบุหรี่ (เริ่มในปี 2553) โดยการ
1. ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานการลด ละ เลิกบุหรี่ในการจัดทำแผนแก้ไขปัญหาในพื้นที่ ประจำปี 2553 โดนชุมชนมีส่วนร่วมหาแนวทางแก้ไขปัญหา
2.รวบรวมและวิเคราะห์ชุมชนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพพฤติกรรมสุขภาพ และปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อพฤติกรรมสุขภาพ ต่อการสูบบุหรี่   
          3.เชิญชวนหมู่บ้านร่วมดำเนินการตามแนวทางลด ละ เลิกบุหรี่ ได้มีหมู่บ้านนำร่องในการดำเนินงานลดละ เลิกบุหรี่ ได้แก่ หมู่ที่ 3 บ้านป่าแซง
จากการดำเนินงานชุมชนลด ละ เลิก บุหรี่ ปี 2553ได้มีชุมชนต้นแบบหมู่ที่ 3 บ้านป่าแซงจากการประเมินผลการเลิกสูบบุหรี่อย่างถาวรมีจำนวน  21  คนจากที่สูบทั้งหมด  98 คน คิดเป็นร้อยละ 21.42ต่อเนื่องในปี 2554 มีผู้สมัครใจเลิกบุหรี่อย่างถาวรเพิ่มขึ้นอีก  จำนวน  14 คน ในปี 2555 เลิกได้อีก 7 คน รวมทั้งสิ้น 42คน คิดเป็นร้อยละ  42.85  ปี 2556 เลิกได้อีก 6 คน รวมทั้งสิ้น 48 คน คิดเป็นร้อยละ  48.97 ปี 2557 เลิกได้อีก 16 คนรวมทั้งสิ้น 62 คน คิดเป็นร้อยละ  63.26

กระบวนการทำงานแก้ไขปัญหาเรื่องบุหรี่ในหมู่ที่17บ้านหนองโสน  เริ่มโดยการ
          1.ทำประชาคมหมู่บ้านเพื่อชี้แจงข้อมูล (จนท.สาธารณสุขให้ความรู้)และสำรวจความต้องการดำเนินงานลด ละ เลิกบุหรี่ซึ่งประชาชนในหมู่บ้านเห็นด้วยกับการดำเนินงานเรื่องนี้ จึงได้

2.ประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าวเกี่ยวกับให้ความรู้และพิษภัยของบุหรี่อย่างต่อเนื่องเพื่อ
สร้างความตระหนักของพิษภัยของบุหรี่/สุรา
          3.ใช้สื่อบุคคลในการสร้างการเรียนรู้ในหมู่บ้านสร้างเป็นต้นแบบในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ปัญหา  ปัจจัยเสี่ยง/โรคพิษภัยบุหรี่/สุรา และการแก้ไขปัญหา
ผลกการดำเนินงาน
          1.มีการใช้มาตรการทางสังคมร่วมดำเนินการในหมู่บ้าน
          2.จำนวนผู้ที่สูบบุหรี่ทั้งหมด252 คน เลิกสูบบุหรี่ได้  ทั้งหมด 199คน คิดเป็น 78.96%  
โดยแบ่งเป็น
          -เข้าร่วมโครงการจำนวน  110 คน  คิดเป็น 55.27%
                   -สามารถทำได้เองจำนวน  89 คน คิดเป็น 44.73%
          3.จำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด238 หลังคาเรือน
-เป็นบ้านปลอดบุหรี่191หลังคาเรือน คิดเป็น 80.25%
          4.ติดตามประเมินผู้สมัครใจเลิกบุหรี่ทุก6 เดือน ติดต่อกัน 1 ปีโดยคณะทำงานในชุมชน
เพื่อเป็นต้นแบบและมอบเกียรติบัตรผู้กล้าเลิกบุหรี่ได้สำเร็จพร้อมเสื้อ ในทุกวันที่ 5ธันวาคมของทุกปี
          5.ยกย่องเชิดชูผู้ที่สามารถเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ โดยการประชาสัมพันธ์ผ่านป้ายคัตเอาท์ในหมู่บ้าน  

ในปี 2558 การดำเนินงานชุมชน ลด ละ เลิก บุหรี่ ผู้สมัครใจเลิกบุหรี่ จำนวน 19หมู่บ้าน  จำนวน 50 คน และหมู่บ้านนำร่องละ เลิก บุหรี่ ปี 2558 จำนวน 2 หมู่บ้าน ดำเนินการโดย
1.  ศึกษาข้อมูลพื้นฐานชุมชน
2. จัดเวทีประชาคมในหมู่บ้าน
-         นำเสนอข้อมูลผลการประเมินและวิเคราะห์ชุมชน
-         จัดลำดับความสำคัญของปัญหาพบปัญหาที่ต้องการแก้ไข พร้อมทั้งแต่งตั้ง
คณะกรรมรับผิดชอบงานอย่างชัดเจน
-         ประสานแกนนำกลุ่มต่างๆในหมู่บ้านเพื่อกำหนดแนวทางในการรวบรวมข้อมูลและ
วิเคราะห์ปัญหาในชุมชนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพพฤติกรรมสุขภาพ และปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อพฤติกรรมสุขภาพที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนและเชิญชวนหมู่บ้านร่วมดำเนินการตามแนวทางลดละ เลิกบุหรี่ได้มีหมู่บ้านนำร่องในการดำเนินงานลด ละ เลิกบุหรี่
3.จัดทำแผนชุมชนโดยชุมชนมีส่วนร่วม
การนำแผนงานไปสู่การปฏิบัติโดยคณะกรรมการแต่ละฝ่ายร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทั้งในด้านบริหารจัดการ  ควบคุมกำกับ ขับเคลื่อนให้เป็นไปตามแผน  มีการวางแผน/วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการดำเนินการเพื่อหาแนวทางพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และปรับให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันและวิถีการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน
แผนจากชุมชนที่ใช้ในการป้องกันตามโครงการ มีกิจกรรมดังนี้
          -การรณรงค์ให้ความรู้และพิษภัยของบุหรี่อย่างต่อเนื่องผ่านทางหอกระจายข่าวเพื่อ
สร้างความตระหนักการจัดการตนเองเกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่/สุรา
-  เริ่มที่ครอบครัวเพราะพ่อแม่และผู้ปกครองเป็นแบบอย่างแก่เด็กวัยรุ่นจนเติบโตเป็น
ผู้ใหญ่ต่อไปเรื่องการกินอาหารและออกกำลังกายที่เหมาะสมแต่ละวัยโดยทีมคณะทำงานในหมู่บ้านเข้าพูดคุยกับครอบครัวทุกหลังคาเรือน
-         ใช้สื่อบุคคลในการสร้างการเรียนรู้สร้างเป็นต้นแบบในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ปัญหาเรื่อง ปัจจัยเสี่ยง/โรค พิษภัยบุหรี่/สุรา
-         รณรงค์สมัครใจลด ละเลิกบุหรี่ในช่วงวันเข้าพรรษา
-         ติดตามประเมินผู้สมัครใจเลิกบุหรี่ทุกเดือนติดต่อกัน 1ปี โดยคณะทำงานใน
ชุมชน เพื่อเป็นต้นแบบและมอบเกียรติบัตรผู้กล้าเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ
-         เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อชุมชนได้แก่ หอกระจายข่าว  วิทยุชุมชน  
อาสาสมัครสาธารณสุข  แกนนำชุมชน เยาวชน
          4.ดำเนินการเรียนรู้โดยปฏิบัติ
          -รณรงค์ให้ความรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความตระหนักเพื่อการจัดการตนเอง
เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่ สุรา การป้องกันและรักษาสิทธิของตนในการคุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่
-         เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อชุมชนได้แก่ หอกระจายข่าว  วิทยุชุมชน  
อาสาสมัครสาธารณสุข  แกนนำชุมชน เยาวชน
-         แนวทางปฏิบัติการจัดการสิ่งแวดล้อมปรับสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการลดเสี่ยงใน
ชุมชนและปลอดภัยได้แก่
- แนวทางปฏิบัติการจัดการตนเองของประชากร(ระดับชุมชน)  ซึ่งต้องดำเนินการเริ่ม
ที่  ครอบครัว เพราะพ่อแม่และผู้ปกครองเป็นแบบอย่างแก่ เด็ก วันรุ่นจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ต่อไปได้แก่การสร้างความตระหนักให้ความรู้ เรื่องปัจจัยเสี่ยง/โรคและการป้องกันดูแล จัดการตนเองของชุมชน
- มาตรการและแนวทางปฏิบัติทางสังคมของชุมชน/สัญญาชาวบ้าน/ข้อตกลง/
สัญญาประชาคมได้แก่

  
มาตรการทางสังคม
  
ผลการดำเนินการ
ร้อยละ
การควบคุมกำกับ
  
สร้างและใช้ข้อตกลงในเรื่องบุหรี่/เหล้าในชุมชน
  
  
-ห้ามแสดงผลิตภัณฑ์ยาสูบ  ณ จุดขาย (ตามกฎหมาย)
  
100
ตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบและตรวจสอบ
  
-ห้ามจำหน่ายบุหรี่เด็กอายุอายุต่ำกว่า  18 ปีบริบูรณ์(ตามกฎหมาย)
  
100
ตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบและตรวจสอบ
  
-ห้ามจำหน่ายแอลกอฮอล์ให้เด็กอายุอายุต่ำกว่า  20 ปีบริบูรณ์
  
100
ตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบและตรวจสอบ
  
-ห้ามขายเหล้า  นอกเหนือเวลา  11.00-14.00 น.และ 17.00-24.00 น.
  
100
ตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบและตรวจสอบ
  
-ห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ  เช่น โรงเรียน สถานที่ราชการ
  
100
ตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบและตรวจสอบ  
  
-งานบวช  งานศพ ปลอดเหล้า
  
100
เพื่อป้องกันการทะเลาะวิวาทของวัยรุ่นโดยมีมาตรการต้องรับผิดชอบงานนั้นถ้าเกิดความเสียหาย
  
-รณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา
  
30
มีผู้สมัครใจงดเหล้าเข้าพรรษา  เชิดชูบุคคลต้นแบบ

-         ริเริ่มที่ครอบครัวเพราะพ่อแม่และผู้ปกครองเป็นแบบอย่างแก่
เด็กวัยรุ่นจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ต่อไปเรื่องการกินอาหารและออกกำลังกายที่เหมาะสมแต่ละวัย
-         ใช้สื่อบุคคลในการสร้างการเรียนรู้เรื่อง ปัจจัยเสี่ยง/โรค พิษภัย
บุหรี่/สุรา พูดคุยปรึกษาโดยผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมในกิจกรรมตามภารกิจของตน เช่นผู้ใหญ่บ้าน อบต.  อสม.ครู กลุ่มแม่บ้าน
               -     จัดบริการคลินิก ลด ละ เลิก บุหรี่ ที่รพ.สต.โดยการให้คำปรึกษาและใช้สมุนไพรหญ้าดอกขาวเพื่อเลิกบุหรี่
5.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
เป็นรูปแบบการเรียนรู้โดยการแลกเปลี่ยนพูดคุยกันในชุมชนซึ่งประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน อบต. อสม. แกนนำกลุ่มต่างๆ ผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ได้และผู้ที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่ สร้างคนต้นแบบด้านการจัดการสุขภาพที่ดี และสามารถต่อยอดการพัฒนาให้เป็นแกนนำในหมู่บ้านได้ จัดให้มีศูนย์เรียนรู้ในหมู่บ้านเพื่อใช้เป็นการศึกษาข้อมูลต่อยอดการพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้นวัตกรรมระบบสุขภาพขึ้นในชุมชนเองและบุคคลภายนอก เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเป็นพลวัตรเอื้อให้ชุมชนมีประสิทธิภาพพร้อมกับมีความยั่งยืนต่อไป

จากการดำเนินงานชุมชนลด ละ เลิก บุหรี่ ในปี 2558 จำนวน 19 หมู่บ้าน พบผู้สูบบุหรี่สะสมรวม 630คน เลิกสูบบุหรี่ได้  ทั้งหมด 126 คน คิดเป็น 20.0%  

ในปี 2559 การดำเนินงานชุมชน ลด ละ เลิก บุหรี่ ผู้สมัครใจเลิกบุหรี่ มีทั้งหมด 20หมู่บ้าน ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการโดย
1. จัดเวทีประชาคมในหมู่บ้าน
-         นำเสนอข้อมูลผลการประเมินและวิเคราะห์ชุมชน
จัดลำดับความสำคัญของปัญหาพบปัญหาที่ต้องการแก้ไข
2.จัดทำแผนชุมชนโดยชุมชนมีส่วนร่วม
การนำแผนงานไปสู่การปฏิบัติโดยคณะกรรมการแต่ละฝ่ายร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทั้งในด้านบริหารจัดการ  ควบคุมกำกับ ขับเคลื่อนให้เป็นไปตามแผน มีการวางแผน/วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการดำเนินการ เพื่อหาแนวทางพัฒนาอย่างต่อเนื่องและปรับให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน และวิถีการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน
แผนจากชุมชนที่ใช้ในการป้องกันตามโครงการ มีกิจกรรมดังนี้
          -การรณรงค์ให้ความรู้และพิษภัยของบุหรี่อย่างต่อเนื่องผ่านทางหอกระจายข่าวเพื่อ
สร้างความตระหนักการจัดการตนเองเกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่/สุรา
-         ใช้สื่อบุคคลในการสร้างการเรียนรู้สร้างเป็นต้นแบบในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ปัญหาเรื่อง ปัจจัยเสี่ยง/โรค พิษภัยบุหรี่/สุรา
-         รณรงค์สมัครใจลด ละเลิกบุหรี่ในช่วงวันเข้าพรรษา
-         ติดตามประเมินผู้สมัครใจเลิกบุหรี่ทุกเดือนติดต่อกัน 1ปี โดยคณะทำงานใน
ชุมชนเพื่อเป็นต้นแบบและมอบเกียรติบัตรผู้กล้าเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ
-         เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อชุมชนได้แก่ หอกระจายข่าว  วิทยุชุมชน  
อาสาสมัครสาธารณสุข  แกนนำชุมชน เยาวชน โปสเตอร์ผู้กล้าเลิกบุหรี่สำเร็จ
          5.ดำเนินการเรียนรู้โดยปฏิบัติ
          -รณรงค์ให้ความรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความตระหนักเพื่อการจัดการตนเอง
เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่ สุรา การป้องกันและรักษาสิทธิของตนในการคุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่
-         เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อชุมชนได้แก่ หอกระจายข่าว  วิทยุชุมชน  
อาสาสมัครสาธารณสุข  แกนนำชุมชน เยาวชน
-         แนวทางปฏิบัติการจัดการสิ่งแวดล้อมปรับสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการลดเสี่ยงใน
ชุมชนและปลอดภัยได้แก่
-         ใช้สื่อบุคคลในการสร้างการเรียนรู้เรื่อง ปัจจัยเสี่ยง/โรค พิษภัย
บุหรี่/สุรา พูดคุยปรึกษาโดยผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมในกิจกรรมตามภารกิจของตน เช่นผู้ใหญ่บ้าน อบต.  อสม.ครู กลุ่มแม่บ้าน
                -   จัดบริการคลินิกลด ละ เลิก บุหรี่ ที่รพ.สต.โดยการให้คำปรึกษาและใช้สมุนไพรหญ้าดอกขาวเพื่อเลิกบุหรี่
              -   เชิญชวญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการโดยใช้สื่อโซเชียล(ไลน์) เพื่อสะดวกในการติดต่อสื่อสาร  

จากการดำเนินงานชุมชนลด ละ เลิก บุหรี่ ในปี 2559 จำนวน 20หมู่บ้าน  พบผู้สูบบุหรี่สะสมรวม630 คน เลิกสูบบุหรี่ได้  ทั้งหมด 131คน คิดเป็น 20.79%


บทเรียนที่ได้รับ
          การดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพใช้หลักสำคัญ 3 ประการ คือ เข้าใจ  เข้าถึง  และพัฒนา ก่อให้เกิดการเรียนรู้การพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชน และกระบวนการแก้ไขปัญหา/พัฒนาสุขภาพอย่างเป็นระบบ
กำไรที่ได้กับชุมชน/องค์กร
          ทำให้ชุมชนเกิดความตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและมีแนวทางการแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเองมีความเข้มแข็งและการพึ่งตนเองได้มากขึ้นของชุมชนไม่ต้องรอให้หน่วยงานต่างๆเข้ายื่นมือช่วยเหลือทุกคนก็มีความพยายามที่จะช่วยสร้างสิ่งแวดล้อมเพื่อคุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ ลดพฤติกรรมเสี่ยงที่ส่งผลต่อภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรังโดยเราในฐานะผู้ประสานงาน ที่ปรึกษาช่วยให้คำแนะนำแล้วมองเห็นวิธีการคิดวิถีการทำงาน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนบางครั้งการทำงานแสนจะเหนื่อยแต่จากการได้ลงมาสัมผัสกับการทำงานในชุมชนจึงทำให้เรารู้ว่าถ้าเราเข้าใจชุมชน และสามารถดึงทุนทางสังคมของชุมชนนั้นๆออกมาเป็นพลังก็น่าจะเป็นคำตอบที่ทำให้เราหายเหนื่อยได้อย่างปลิดทิ้งเพราะนั่นคือชุมชนเข้มแข็ง และปลอดบุหรี่
จุดเด่น/ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
1.ได้รับรางวัลจากมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่เป็นรพ.สต.ที่มีการดำเนินงานรพ.ปลอดบุหรี่100%ขยายสู่ชุมชนในระดับดีเด่น  พร้อมกับบุคคลต้นแบบดีเด่นจำนวน2 คน (แกนนำชุมชนที่มีการรณรงค์การเลิกบุหรี่) ผู้ใหญ่บ้าน ม.3 นายบุญถึง  คุมสุข และผู้ใหญ่บ้านม.17 นายวิเชียร ทาเอี๊ยะ
2.เกิดชุมชนต้นแบบลด ละ เลิกบุหรี่ ทำให้ประชาชนในชุมชน เกิดความตื่นตัวและตระหนักต่อการดูแลตนเองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
          3.ได้รับการถอดบทเรียนเรื่องการใช้มาตรการทางสังคมในการ ลด ละเลิกบุหรี่ในชุมชน จากอาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก



การขยายผล/แนวโน้มในอนาคต
          1.จัดนิทรรศการเผยแพร่การดำเนินงานในสถานที่ต่างๆ
          2.ใช้แนวทางการลด ละ เลิกบุหรี่นี้ไปขยายผลต่อ ในเรื่องการลดการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม ซึ่งเป็นปัจจัยที่นำไปสู่โรคเรื้อรังต่างๆได้



DOWNLOAD >> CQI2559_(รพ.สต.หนองโสน)ชุมชนเข้มแข็ง ลด ละ เลิกบุหรี่.ppt.ppt (9.48 MB, ดาวน์โหลดแล้ว: 267) CQIรพ.สต.หนองโสน.doc (9.68 MB, ดาวน์โหลดแล้ว: 271)
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้