ดู: 875|ตอบกลับ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

CQI2559_(รพ.สต.วังลูกช้าง)การพัฒนาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง

[คัดลอกลิงก์]

344

กระทู้

389

โพสต์

2212

เครดิต

ผู้ดูแลระบบ

Rank: 9Rank: 9Rank: 9

เครดิต
2212


๑.ชื่อผลงาน :การพัฒนาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วย ตามหลัก ๓อ๓สในชุมชน
๒.คำสำคัญ:การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ,ชุมชน
๓.หลักการและเหตุผล: เนื่องจากในปี พ.ศ.๒๕๕๘ ที่ผ่านมา พบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังและกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังในอัตราที่สูงขึ้นการดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้เริ่มมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ เป็นต้นมาโดยใช้เกณฑ์การแบ่งระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดจำแนกตามสี  ตามปิงปอง ๗ สี ส่งผลกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความตระหนักและเกิดความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองมากขึ้นโดยมีกิจกรรมเด่นคือ การจัดรำวงย้อนยุดในตอนเย็นของทุกวันแต่มีการทำกิจกรรมไม่ต่อเนื่อง  และการจัดการอบรมการให้คำแนะนำไม่ได้ผลเท่าที่ควรภายหลังการอบรมพบว่าผู้ป่วยส่วนน้อยเกิดความตระหนักแต่ยังไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากการสอบถามและประเมินผลพบว่าผู้ป่วยโรคเรื่อรังและกลุ่มเสี่ยงไม่รู้ว่าจะต้องออกกำลังกายแบบไหนไม่มีสถานที่หรือผู้สนับสนุนอุปกรณ์ต่างๆซึ่งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต้องมีการเริ่มปฏิบัติหรือมีกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมให้รองรับการปรับเปลี่ยนที่แท้จริงและเสริมพลังในชุมชนในการร่วมกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปี พ.ศ.๒๕๕๙จึงมีการปรับกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยตามหลัก ๓อ๓สในชุมชน   (อ๑ :ออกกำลังกาย, อ๒:อาหาร ,อ๓: อารมณ์ , ส๑ : ไม่สูบบุหรี่ ส๒ : ไม่ดื่มสุรา ส๓ : สีส สามาธิ ) โดยจะเน้นด้านการออกกำลังกาย การฝึกสมาธิทำจิตใจให้สงบมีอารมณ์สดชื่นแจ่มใส เพื่อให้เกิดความสุขจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยงลดโรคซึ่งจะส่งผลดีต่อการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน
๔.ประเด็นสำคัญ:
ตารางที่ ๑ อัตราป่วยโรคเรื้อรังปีพ.ศ. ๒๕๕๖ – ๒๕๕๙  
  
รายการ
  
พ.ศ.  ๒๕๕๖
พ.ศ.  ๒๕๕๗
พ.ศ.  ๒๕๕๘
พ.ศ.  ๒๕๕๙
จำนวน
อัตราป่วย
จำนวน
อัตราป่วย
จำนวน
อัตราป่วย
จำนวน
อัตราป่วย
เบาหวาน
๓๐
๑๑๖๙.๑๓
๓๕
๖๔๕.๓๒
๓๘
๙๐๕.๖๒
๓๖
๑,๑๔๙.๗๙
ความดันโลหิตสูง
๒๓๑
๙,๐๐๒.๓๓
๒๔๗
๖,๓๗๕.๘๓
๒๔๗
๕,๘๘๖.๕๕
๒๗๙
๘,๙๑๐.๘๙
เบาหวานและความดันโลหิตสูง
๑๓๔
๕,๒๒๒.๑๓
๑๑๖
๒๙๙๔.๓๒
๑๓๕
๓,๒๘๘.๘๔
๑๔๕
๔,๖๓๑.๑๐
ไขมันสูง
๗๔
๒,๘๘๓.๘๖
๑๑๑
๒๘๖๕.๒๕
๑๑๔
๒,๗๑๖.๘๗
๑๔๓
๔,๕๖๗.๒๓
จากตารางที่ ๑ แสดงจำนวนและอัตราป่วยโรคเรื้อรังย้อนหลัง ๓ ปีพ.ศ.๒๕๕๖-พ.ศ.๒๕๕๙(๙เดือน) พบว่าอัตราป่วยด้วยโรคเรื้อรังมีอัตราเพิ่มขึ้นและลดลงไม่สม่ำเสมอซึ่งโรคที่มีอัตราป่วยสูง โดยปีที่มีอัตราป่วยสูงที่สุดคือ พ.ศ. ๒๕๕๖ (๙,๐๐๒.๓๓) รองลงมาคือ พ.ศ.๒๕๕๙(๘,๙๑๐.๘๙) ,พ.ศ.๒๕๕๗ (๖,๓๗๕.๖๓) และ พ.ศ.๒๕๕๘ ( ๕,๘๘๖.๕๕)ตามลำดับ(อัตราป่วยต่อแสนประชากร)
                              
ตารางที่ ๒ การประเมินความเสี่ยงต่อการโรคของของประชาชน๓๕-๕๙ปี ปี พ.ศ.๒๕๕๗ –๒๕๕๙
  
สถานะสุขภาพ
  
พ.ศ.  ๒๕๕๗
  
(ปชก.๓๕-๕๙  ปี ๑,๓๓๑คน)
พ.ศ.  ๒๕๕๘
  
(ปชก.๓๕-๕๙ปี  ๑,๕๖๑คน)
พ.ศ.  ๒๕๕๙
  
(ปชก.๓๕-๕๙ปี
  
๑,๑๙๘  คน)
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ
  
ความครอบคลุมของการคัดกรองสุขภาพประชาชนอายุ  ๓๕ ปีขึ้นไป
  
๑,๒๑๑
๙๐.๙๘
๑,๓๙๔
๘๙.๓๐
๑,๑๖๐
๙๖.๘๒
  
๑.ภาวะอ้วน(ประเมินจากค่าBMI)
  
๓๐๗
๒๓.๐๖
๓๗๗
๒๔.๑๕
๓๘๘
๓๒.๓๘
  
-น้ำหนักเกิน  (BMI =๒๓-๒๔.๙)
  
๑๕๔
๑๑.๕๗
๒๕๔
๑๖.๒๗
๒๔๖
๒๐.๕๓
  
- โรคอ้วน  (BMI = ๒๕-๒๙.๙)
  
๑๓๙
๑๐.๔๔
๑๑๒
๗.๑๗
๑๓๔
๑๑.๑๘
  
- อ้วนมาก ( BMI >๓๐)  
  
๑๔
๑.๕๑
๑๑
๐.๐๗
๐.๐๖
  
๒. Pre-DM (๑๐๑-๑๒๕mg%)
  
๑๑๓
๘.๔๘
๑๐๒
๖.๕๓
๑๒๗
๑๐.๖๐
  
๓.Pre-hypertension (๑๒๐-๑๓๙/๘๐-๘๙ mmHg)
  
๑๒๓
๙.๒๔
๑๑๕
๗.๓๖
๑๒๐
๑๐.๐๑
จากตารางที่ ๒แสดงผลการประเมินภาวะเสี่ยงต่อโรคของประชากรกลุ่มวัยทำงานพบว่ามีความครอบคุลมของการคัดกรองสุขภาพของประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปเกินร้อยละ ๙๐ซึ่งปีที่มีความครอบคลุมของการคัดกรองสุขภาพมากที่สุดคือปี พ.ศ.๒๕๕๙ (ร้อยละ๙๖,๘๒) รองลงมาคือ พ.ศ.๒๕๕๗ (ร้อยละ๙๐.๙๘) ,พ.ศ.๒๕๕๘ (ร้อยละ๘๙.๓๐)ตามลำดับผลการคัดกรองภาวะอ้วนจากการประเมินค่าBMIพบว่าภาวะอ้วนในประชากรอายุ ๓๕ – ๕๙ ปีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยพบภาวะอ้วนมากที่สุดในปี พ.ศ.๒๕๕๙ ร้อยละ ๓๒.๓๘ รองลงมาคือพ.ศ.๒๕๕๘ ร้อยละ ๒๔.๑๕ และพ.ศ.๒๕๕๖ ร้อยละ ๒๓.๐๖ ตามลำดับการคัดกรองภาวะเสี่ยงเบาหวานพบมากที่สุดปี พ.ศ.๒๕๕๙ ร้อยละ ๑๐.๖๐ รองลงมาคือพ.ศ.๒๕๕๗ ร้อยละ ๘.๔๘ และ พ.ศ.๒๕๕๘ ร้อยละ ๖.๕๓ ตามลำดับการคัดกรองภาวะความดันโลหิตสูงพบภาวะเสี่ยงมากที่สุดในปี พ.ศ.๒๕๕๙ ร้อยละ ๑๐.๐๑ รองลงมาคือพ.ศ.๒๕๕๗ ร้อยละ ๙.๒๔ และ พ.ศ.๒๕๕๘ ร้อยละ ๗.๓๖ ตามลำดับ
ตารางที่๓ แสดงจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานต่อแสนประชาการแต่ละหมู่ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังลูกช้าง
  
ผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน
  
พ.ศ.๒๕๕๘
อัตราป่วย
  
: ต่อแสน ปชก
พ.ศ.๒๕๕๙
อัตราป่วย
  
: ต่อแสน ปชก
หมู่ ๖
๔๓๑.๐๓
๕๘๔.๑๑
หมู่ ๗
๑๓
๑,๔๐๐.๘๖
๑๖
๑,๘๖๖.๑๖
หมู่ ๘
๗๕๔.๓๑
๓๕๐.๔๗
หมู่ ๙
๘๖๒.๐๗
๗๐๐.๙๓
หมู่ ๑๑
๖๔๖.๕๕
๗๐๐.๙๓
         
ตารางที่๓ แสดงอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานปีงบประมาณ ๒๕๕๘ และ๒๕๕๙ พบว่า ปี๒๕๕๘ หมู่ ๗มีอัตราป่วยมากที่สุดร้อยละ  ๑,๔๐๐.๘๖  ต่อแสนประชากร รองลงมาคือ หมู่๙ต่อแสนประชากร  ๘๖๒.๐๗  ต่อแสนประชากร,หมู่๘ ร้อยละ  ๗๕๔.๓๑  ต่อแสนประชากร ,หมู่ ๑๑ ร้อยละ  ๖๔๖.๕๕  ต่อแสนประชากรและหมู่ ๖ ร้อยละ  ๔๓๑.๐๓  ต่อแสนประชากร ในปี พ.ศ.๒๕๕๙ พบว่าหมู่ ๗  มีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ๑,๘๖๖.๑๖  ต่อแสนประชากร หมู่ ๙ มีอัตราป่วยลดลงเป็นร้อยละ  ๗๐๐.๙๓  ต่อแสนประชากร หมู่๘ มีอัตรป่วยลดลงเป็นร้อยละ  ๓๕๐.๔๗  ต่อแสนประชากร หมู่ ๑๑มีอัตราป่วยเพิ่มข้นร้อยละ  ๗๐๐.๙๓  และหมู่ ๖มีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๕๘๔.๑๑  ต่อแสนประชากร
   
ตารางที่๔ เปรียบเทียบการป่วยโรคความดันของประชากรแต่ละหมู่ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังลูกช้าง
  
ผู้ป่วยด้วยโรคความดัน
  
พ.ศ.๒๕๕๘
อัตราป่วย
  
ต่อแสน ปชก.
พ.ศ.๒๕๕๙
อัตราป่วย
  
ต่อแสน ปชก.
หมู่ ๖
๖๐
๖,๔๖๕.๕๒
๗๐
๘,๑๗๗.๕๗
หมู่ ๗
๘๘
๙,๔๘๒.๗๖
๑๐๒
๑๑,๙๑๕.๘๙
หมู่ ๘
๓๓
๓,๕๕๖.๐๓
๓๒
๓,๗๓๘.๓๒
หมู่ ๙
๔๕
๔,๘๔๙.๑๔
๕๔
๖,๓๐๘.๔๑
หมู่ ๑๑
๒๑
๒,๒๖๒.๙๓
๒๑
๒,๔๕๓.๒๗
ตารางที่๔ แสดงอัตราป่วยด้วยโรคความดัน ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ และ๒๕๕๙ พบว่า ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ หมู่ ๗มีอัตราป่วยมากที่สุดร้อยละ ๙,๔๘๒.๗๖  ต่อแสนประชากรรองลงมาคือ หมู่ ๖ มีอัตราป่วยร้อยละ ๖,๔๖๕.๕๒  ต่อแสนประชากร  ,หมู่ ๙ มีอัตราป่วยร้อยละ   ๔,๘๔๙.๑๔  ต่อแสนประชากร,หมู่ ๘ มีอัตราป่วยร้อยละ ๓,๕๕๖.๐๓ ต่อแสนประชากร และหมู่ ๑๑ มีอัตราป่วยร้อยละ ๒,๒๖๒.๙๓  ต่อแสนประชากร ในปี พ.ศ.๒๕๕๙ พบว่าหมู่ ๗ มีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ  ๑๑,๙๑๕.๘๙  ต่อแสนประชากรหมู่ ๖ มีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๘,๑๗๗.๕๗  หมู่ ๙มีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ๖,๓๐๘.๔๑  ต่อแสนประชากร หมู่ ๘  มีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๓,๗๓๘.๓๒  ต่อแสนประชากร และหมู่ ๑๑ มีอัตราป่วยเพิ่มข้นเป็นร้อยละ ๒,๔๕๓.๒๗  ต่อแสนประชากร
  
ตารางที่๕ เปรียบเทียบการป่วยโรคร่วมเบาหวานความดันของประชากรแต่ละหมู่ในเขตรพ.สต.บ้านวังลูกช้าง
  
ผู้ป่วยด้วยโรคร่วมเบาหวานความดัน
  
พ.ศ.๒๕๕๘
อัตราป่วย
  
ต่อแสน ปชก
พ.ศ.๒๕๕๙
อัตราป่วย
  
ต่อแสน ปชก
หมู่ ๖
๓๕
๓,๗๗๑.๕๕
๓๕
๔,๐๘๘.๗๙
หมู่ ๗
๔๙
๕,๒๘๐.๑๗
๔๙
๕,๗๒๔.๓๐
หมู่ ๘
๒๐
๒,๑๕๕.๑๗
๒๗
๓,๑๕๔.๒๑
หมู่ ๙
๒๓
๒๔๗๘.๔๕
๒๖
๓,๐๓๗.๓๘
หมู่ ๑๑
๘๖๒.๐๗
๙๓๔.๕๘
ตารางที่๕ แสดงอัตราป่วยด้วยโรคร่วมเบาหวานและความดัน ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ และ๒๕๕๙ พบว่า ปี พ.ศ.๒๕๕๘ หมู่ ๗ มีอัตราป่วยมากที่สุดร้อยละ ๕,๒๘๐.๑๗ต่อแสนประชากร รองลงมาคือ หมู่ ๖ มีอัตราป่วยร้อยละ๓,๗๗๑.๕๕ต่อแสนประชากร  ,หมู่ ๙ มีอัตราป่วยร้อยละ  ๒๔๗๘.๔๕ ต่อแสนประชากร , หมู่ ๘ มีอัตราป่วยร้อยละ๒,๑๕๕.๑๗ ต่อแสนประชากร และหมู่ ๑๑มีอัตราป่วยร้อยละ  ๘๖๒.๐๗  ต่อแสนประชากร ในปี พ.ศ.๒๕๕๙ พบว่าหมู่ ๗ มีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ  ๕,๗๒๔.๓๐  ต่อแสนประชากรหมู่ ๖ มีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ  ๔,๐๘๘.๗๙  หมู่ ๙ มีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๓,๐๓๗.๓๘  ต่อแสนประชากร หมู่๘มีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๓,๑๕๔.๒๑  ต่อแสนประชากร และหมู่ ๑๑มีอัตราป่วยเพิ่มข้นเป็นร้อยละ ๙๓๔.๕๘  ต่อแสนประชากร
  
ตารางที่๖ แสดงจำนวนประชากรอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไปรายหมู่ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังจากการคัดกรองดด้วยวาจาและการเจาะวัดระดับน้ำตาลในกระแสเลือดปี งบประมาณ ๒๕๕๙
  
หมู่บ้าน
  
เสี่ยงต่อโรคความดัน
เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน
อ้วนลงพุง /BMI เกิน
หมู่๖
๖๒.๐๙
๑๖.๑๒
๔๐.๙๐
หมู่๗
๘๑.๖๙
๒๒.๔๓
๔๗.๘๓
หมู่๘
๘๑.๒๑
๑๖.๓๖
๔๔.๘๕
หมู่๙
๘๒.๒๕
๒๖.๘๔
๔๔.๑๖
หมู่๑๑
๗๔.๘๔
๒๗.๖๗
๔๘.๔๓
          จากตารางที่ ๖ พบว่า ประชากรหมู่ ๖ อายุ ๓๕ ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงมากที่สุดร้อยละ ๖๒.๐๙ คือโรคความดัน  รองลงมาร้อยละ ๔๐.๙๐ มีภาวะอ้วนพุง/BMIเกิน และ ร้อยละ ๑๖.๑๒ เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน, ประชากรหมู่ ๗ อายุ ๓๕ ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงมากที่สุดร้อยละ ๘๑.๖๙ คือโรคความดัน รองลงมา ร้อยละ ๔๗.๘๓ มีภาวะอ้วนพุง/BMI เกินและร้อยละ ๒๒.๔๓เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน,  ประชากรหมู่ ๘  อายุ ๓๕ ปี ขึ้นไปมีความเสี่ยงมากที่สุดร้อยละ ๘๑.๒๑  คือโรคความดัน รองลงมา ร้อยละ ๔๔.๘๕มีภาวะอ้วนพุง/BMIเกิน และ ร้อยละ ๒๖.๘๔ เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน , ประชากรหมู่ ๙  อายุ ๓๕ ปี ขึ้นไปมีความเสี่ยงมากที่สุดร้อยละ ๘๒.๒๕คือโรคความดัน  รองลงมา ร้อยละ ๔๔.๑๖มีภาวะอ้วนพุง/BMIเกินและ ร้อยละ ๒๖.๘๔ เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน, ประชากรหมู่ ๑๑  อายุ ๓๕ ปี ขึ้นไปมีความเสี่ยงมากที่สุดร้อยละ ๗๔.๘๔คือโรคความดัน  รองลงมา ร้อยละ ๔๘.๔๓มีภาวะอ้วนพุง/BMIเกินและ ร้อยละ ๒๗.๖๗ เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน
  
๕.วัตถุประสงค์
          ๑.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก ๓อ๓ส
          ๓.กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยมีความสุขต่อการดำรงชีวิตเพิ่มขึ้น  
๖.พื้นที่ดำเนินงานระยะเวลาการดำเนินงาน:
          บ้านรายชะโด หมู่ ๖ ต.สามง่าม อ.สามง่ามจ.พิจิตร ๖๖๑๔๐
          ระยะเวลาดำเนินการ เดือน เมษายน –กันยายน ๒๕๕๙
๗.กลุ่มเป้าหมาย
          กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยจำนวน๖๐  คน
          ประชากรหมู่ ๖บ้านรายชะโด
๘.ตัวชี้วัด
          ๑.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก ๓อ๓ สร้อยละ
          ๓.กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยมีความสุขต่อการดำรงชีวิตเพิ่มขึ้น  ร้อยละ
๙.วิธีการดำเนินงาน
          ๑.จัดทำแผนงาน
          ๒.ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยงข้องเพื่อเตรียมดำเนินงาน
๓.จัดเวทีคืนข้อมูลสถานะสุขภาพ ประชุมเสนอความคิดเห็นจัดตั้งหมู่บ้านต้นแบบจัดทำแผนแก้ไขปัญหาในหมู่บ้าน
๔.ให้ความรู้เรื่อง 3อ 3ส อาหารที่เพิ่มความเสี่ยงอาหารที่เป็นสาเหตุของโรคเรื้อรัง  เช่นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไขมันในกระแสเลือดสูงและโรคทะเร็งต่างๆ ให้กับกับกลุ่มดีกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย รณรงค์/ส่งเสริมให้ทุกครัวเรือนบริโรคผักปลอดสารพิษและส่งเสริมหารปลูกผักไว้รับประทานในครัวเรือนโดยเน้นปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้และปลูกผักตามฤดูกาล
๕.สวดมนต์ภาวนา  เจริญสมาธิ ทำจิตใจให้ปลอดโปร่งโดยมีชมรมปฏิบัติธรรมซึ่งมีกิจกรรมสวดมนต์ ปฏิบัติธรรม  ณ บริเวณศาลาสาธารณในหมู่  ๖ บ้านรายชะโด โดยเริ่มต้นสวดมนต์ทุกเย็นวันเสาร์เริ่มเวลา ๑๗:๓๐ น. เป็นประจำทุกสัปดาห์
๖.ส่งเสริมกิจกรรมการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมตามวัย เช่นกิจกรรมไม้พอง ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพ การเดินวิ่งเพื่อสุขภาพ  และกิจกรรมปั่นจักยานเพื่อสุขภาพโดยเป็นสมาชิกชมรมปั่นจักยานเพื่อสุขภาพ เส้นทางปั่นรอบหมู่ ๖ บ้านรายชะโดและพื้นที่ใกล้เคียง เช่น วิทยาลัยเกษตร,ถนนเส้นหมู่ ๑๑ วัดใหม่ราษฎร์บำรุงกำหนดวันและเวลาที่ปั่นสัปดาห์ละ ๓ วัน คือ ทุกวันเสาร์ วันอาทิตย์ วันจันทร์ เวลา๑๗.๐๐-๑๘.๐๐น.นัดร่วมกลุ่มเริ่มปั่นที่บ้านผู้ใหญ่สุธรรม  เขียวเขิน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๖ บ้านรายชะโด
๗.รณรงค์เลิกบุหรี่/สุราในวัด ถนนสาธารณะ  ประชาสัมพันธ์งดเหล้าเข้าพรรษาและเลิกบุหรี่โดยมีการประสานวัด ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำ อสม.ช่วยดำเนินการประชาสัมพันธ์เชิญชวน ร่วมกิจกรรมงดเหล้าเข้าพรรษาและจัดทำไวนิลติดประชาสัมพันธ์งดเหล้าเข้าพรรษาติดบริเวณสถานที่สะดุดตามองเห็นได้ง่าย
๘.รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้สวมหมวกนิรภัยและคาดเข็มขัดทุกครั้งที่ขับขี่รถพร้อมขอความร่วมมือปฏิบัติตามกฎจราจรไม่ใช้ความเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด  ให้ความรู้ประชาชนในการและร้านค้าในจำการนายบุหรี่สุรา ห้ามจำหน่ายให้กับเด็กอายุต่ำกว่ากฎหมายกำหนด  พร้อมกับให้ความรู้ร้านอาหารร้านค้าในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ  หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันทอดซ้ำซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งและโรคไขมันในเลือดและโรคต่างๆอีกมากมาย
๑๐.ผลลัพธ์ตามตัวชี้วัด
๑.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก ๓อ๓สร้อยละ
แบบโครงการหมู่บ้านต้นแบบสุขภาพดีเข้าร่วมกิจกรรมการดำเนินงานโครงการวัดระดับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อความคุมน้ำหนัก  ลดภาวะเสี่ยงอ้วนลงพุงจากประชากรจำนวน ๖๐ ราย
  
พฤติกรรม
  
ไม่เคยปฎิบัติและไม่เคยคิดว่าสำคัญ
ไม่เคยปฏิบัติแต่คิดว่าสำคัญ
วางแผนว่าจะปฏิบัติในอีก๑ เดือนข้างหน้านี้
ปฏิบัติมาแล้วไม่เกิน๖ เดือน
ปฏิบัติมาแล้วมากกว่า๖ เดือน
ท่านควบคุมอาหารโดยกินข้าว  แป้ง น้ำตาล และน้ำมัน (ให้น้อยลงกว่าเดิม)
ร้อยละ ๔๖.๖๗
ร้อยละ ๑๓.๓๓
ร้อยละ ๔๐.๐๐
ท่านควบคุมอารมณ์ของตนเองให้แจ่มใสประจำ  (๕-๗วันต่อสัปดาห์)
ร้อยละ ๒๐.๐๐
ร้อยละ ๓๓.๓๓
ร้อยละ ๔๖.๖๗
ท่านออกกำลังกายเป็นประจำ  (๕-๗วันต่อสัปดาห์อย่างน้อยวันละ ๓๐ นาที)
ร้อยละ ๑๓.๓๓
ร้อยละ ๓๓.๓๓
ร้อยละ ๕๓.๓๓
          การวัดระดับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยในหมู่๖ บ้านรายชะโด ด้านพฤติกรรมการควบคุมอาหารโดยการกินข้าว แป้ง น้ำตาล และน้ำมันให้ลดน้อยลง พบว่าร้อยละ ๔๖.๖๗  ไม่เคยปฏิบัติแต่คิดว่าสำคัญ, ร้อยละ ๔๐.๐๐ ปฏิบัติมาแล้วไม่เกิน ๖ เดือน และร้อยละ ๑๓.๓๓วางแผนว่าจะปฏิบัติในอีก ๑ เดือนข้างหน้านี้  ด้านการควบคุมอารมณ์ของตนเองให้แจ่มใสเป็นประจำ(๕-๗วันต่อสัปดาห์)  พบว่า ร้อยละ ๔๖.๖๗ ปฏิบัติมาแล้วไม่เกิน ๖เดือน, ร้อยละ ๓๓.๓๓ วางแผนว่าจะปฏิบัติในอีก๑เดือนข้างหน้านี้และร้อยละ๒๐.๐๐ไม่เคยปฏิบัติแต่คิดว่าสำคัญ ด้านการออกกำลังกายท่านออกกำลังกายเป็นประจำ(๕-๗วันต่อสัปดาห์อย่างน้อยวันละ ๓๐ นาที) พบว่า ร้อยละ ๕๓.๓๓ปฏิบัติมาแล้วไม่เกิน๖ เดือน , ร้อยละ๓๓.๓๓วางแผนว่าจะปฏิบัติในอีก๑ เดือนข้างหน้านี้ และร้อยละ ๑๓.๓๓ ไม่เคยปฏิบัติแต่คิดว่าสำคัญ
๒.กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยมีความสุขต่อการดำรงชีวิตเพิ่มขึ้น  ร้อยละ
ตามแบบดัชนีชี้วัดความสุขคนไทยThaiHappiness indicator(THI-๑๕) ฉบับ ๑๕ ข้อ ของกรมสุขภาพจิต  กระทรวงสาธารณสุข จากประชากรจำนวน ๖๐ รายที่เข้าร่วมกิจกรรมการดำเนินงาน
โดยแบ่งระดับ  คะแนน ๓๓-๔๕ คะแนน หมายถึงมีความสุขมากว่าคนทั่วไป (Good)คิดเป็นร้อยละ ๒๐
คะแนน ๒๗-๓๒คะแนน หมายถึง มีความสุขเท่ากับคนทั่วไป (Fair) คิดเป็นร้อยละ๔๖.๖๗
๒๖คะแนนหรือน้อยกว่า  หมายถึง  มีความสุขน้อยกว่าคนทั่วไป (Poor) คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๓๓
  
ดัชนีชี้วัดความสุขคนไทย
  
ข้อที่
คำถาม
ไม่เลย
เล็กน้อย
มาก
มากที่สุด
ท่านรูสึกชีวิติของท่านมีความสุข
ท่านรู้สึกภูมิใจในตัวเอง
ท่านต้องปรับการรักษาพยาบาลสม่ำเสมอ  เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตและทำงานได้
ท่านพึงพอใจในรูปร่างหน้าตาของท่าน
ท่านมีสัมพันธ์ภาพที่ดีต่อเพื่อนบ้านท
ท่ารู้สึกประสบผลสำเร็จและมีความก้าวหน้าในชีวิต
ท่านมั่นใจที่จะเผชิญเหตุการณ์ร้ายแรงที่เกิดขึ้นในชีวิต
ถ้าสิ่งต่างๆไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง  ท่านจะรู้สึกหงุดหงิด
ท่านสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่างๆด้วยตัวท่านเอง
๑๐
ท่านรู้สึกเป็นสุขในการช่วยเหลือผู้อื่นที่มีปัญหา
๑๑
ท่านมีความสุขกับการริเริ่มงานใหม่ๆ  และมุ่งมั่นที่จะทำให้สำเร็จ
๑๒
ท่านรู้สึกว่าชีวิตไร้ค่าไม่มีประโยชน์
๑๓
ท่านมีเพื่อนญาติพี่น้องคอยช่วยเหลือท่านในยามที่ท่านต้องการ
๑๔
ท่านมั่นใจว่าชุมชนที่ท่านอาศัยอยู่มีความปลอดภัยต่อท่าน
๑๕
ท่านมีโอกาสได้พักผ่อนคลายเครียด
         
๑๑.๑ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
                   - ได้รับความร่วมมือจากผู้นำหมู่บ้าน(ผู้ใหญ่บ้าน)
                   - ประชาชนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
-มีการจัดกิจกรรมที่ต่อเนื่องทุกสัปดาห์ทำให้ผู้ร่วมกิจกรรมเกิดความมั่นใจปละอยากมาร่วม
กิจกรรม
                   -ได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์อำนวยความสะดวก เช่น ที่รองนั่งสวดมนต์ ถังใส่น้ำดื่มพัดลม
          ๑๑.๒ ปัญหาและอุปสรรค
                   - งบประมาณได้รับการอนุมัติล่าช้า
                   - ช่วงฤดูฝนกิจกรรมอาจไม่ได้ปฏิบัติสม่ำเสมอเนื่องจากฝนตกไม่สามารถปั่นจักรยานได้ได้ตามแผนและการนั่งสมาธิบริเวณอาคารนั่งปฏิบัติธรรมถ้ามีฝนตกก็ไม่สามารถนั่งได้
                             
๑๒.แผนพัฒนาต่อเนื่อง
          ๑.มีการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
          ๒.มีการขยายกิจกรรมการจัดการสุขภาพให้เกิดขึ้นคลอบคลุมจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั้งหมด
          ๓.มีการเพิ่ม
๑๓.ชื่อบุคลากรหน่วยงานที่จัดทำ
          ๑.นางวราภรณ์  นาควิจิตร         ผอ.รพ.สต.บ้านวังลูกช้าง
          ๒.นางสาวศิริกุล  ขำไชโย           เจ้าพนักงานสาธารณสุข
          ๓.นางสาววิภาวรรณ สมบุญยอด   นักวิชาการสาธารณสุข
DOWNLOAD >> CQI2559_(รพ.สต.วังลูกช้าง)การพัฒนาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง .pptx.pptx (5.93 MB, ดาวน์โหลดแล้ว: 233) CQIรพ.สต.วังลูกช้าง.doc (1.84 MB, ดาวน์โหลดแล้ว: 235)
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้