ดู: 1861|ตอบกลับ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

[2560]I-4 การวัด วิเคราะห์ performance ขององค์กร และการจัดการความรู้

[คัดลอกลิงก์]

344

กระทู้

389

โพสต์

2212

เครดิต

ผู้ดูแลระบบ

Rank: 9Rank: 9Rank: 9

เครดิต
2212
เป้าหมาย/ประเด็นคุณภาพที่สำคัญ:
              ข้อมูลพร้อมใช้ถูกต้อง น่าเชื่อถือ ทันการณ์ ปลอดภัย
ตัวชี้วัด เป้าหมาย 2558 2559 2560
ร้อยละ Data Item ที่บันทึกในระบบ MIS รพ. ครบถ้วน 100% 56.00% 85.58% 90.70%

บริบท:
          มีการจัดตั้งทีมสารสนเทศซึ่งประกอบด้วยสหวิชาชีพทั้งในระดับ รพ. และระดับอำเภอ มีการวางแผนกำกับตัวชี้วัดที่สามารถเปรียบเทียบผลงานได้ในระดับต่างๆและมีการกำหนดทิศทางการทำงานจากข้อมูลสภาวะสุขภาพ
กระบวนการ:
         เลือกประเด็นและวางแผนงานจากสภาพข้อมูลสภาวะสุขภาพมีการวางแผนและกำกับตัวชี้วัด ในทุกระดับขององค์กรผ่านทาง MIS ของ รพ.ซึ่งมีแหล่งที่มาทั้งจาก HOSxP และรายงานต่างๆ
การวัดผลงาน
กลุ่มตัวชี้วัดที่มี alignment ทั่วทั้งองค์กร:
    - โรคเรื้อรังเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีการนำลงสู่องค์กรในทุกระดับ ให้แต่ละหน่วยงานทำงานในทิศทางที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหลักของพื้นที่
    - ความพึงพอใจของผู้รับบริการมีการสำรวจทั้งจากผู้มารับบริการ และในชุมชน
    - Happinometer การวัดความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าที่รพ.
    - สามารถเปรียบเทียบสถานะทางการเงินการคลังทั้งระดับรพ.ต่างๆในจังหวัดรวมไปถึงสามารถเปรียบเทียบในระดับรพสต.

ตัวอย่างการตัดสินใจ/นวตกรรมที่เป็นผลจากการติดตามตัวชี้วัด:
    - การทำDay campในผู้ป่วยโรคเบาหวานจากสภาพข้อมูลผู้ป่วยเบาหวาน
    - การตัดสินใจทำห้องพิเศษจากข้อมูลสถานะทางการเงิน

ข้อมูล performance ขององค์กรที่มีการเปรียบเทียบกับองค์กรภายนอก:
    - ข้อมูลสถานะทางการเงินที่สามารถเปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่นๆ
    - การเปรียบเทียบเวชระเบียนกับรพ.อื่นๆ

การวิเคราะห์ ทบทวน และปรับปรุง performance ขององค์กร
ประเด็นสำคัญที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล performance ขององค์กรในรอบปีที่ผ่านมา:
    - การจัดการในการรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่รับบริการทั้งในส่วนที่ต้องมารับบริการที่ รพ.และที่ รพสตและยังรวมไปถึงข้อมูลของผู้ป่วยที่ต้องลงไปเยี่ยม เพื่อฟื้นฟูจากข้อมูลที่มีร่วมกันจากการทำงานของสหวิชาชีพ
    - อัตราการครองเตียงของผู้ป่วยในเบิกได้ลดลงเนื่องจากปัจจุบันมีการนิยมรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางเพิ่มมากขึ้นและอำเภอสามง่ามติดกับอำเภอเมืองซึ่งมีรพ.พิจิตร และห่างจาก รพ.นเรศวรเพียง50 กม.จึงทำให้มีผู้รับบริการกลุ่มนี้ลดลง
    - ได้มีการปรับปรุงห้องพิเศษเพื่อการเข้าพักของผู้ป่วย(ตามข้อเสนอแนะของผู้รับบริการ)
    - การทบทวนเวชระเบียน  ส่งผลให้มีการทบทวนเวชระเบียนที่เพิ่มมากขึ้นมีการตรวจสอบคุณภาพของการรักษาเพื่อความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น
ลำดับความสำคัญเพื่อการปรับปรุง performance ขององค์กร:
    - การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวาน ความดัน
    - พัฒนาการทบทวนเวชระเบียน
    - พัฒนาให้มีการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูกายภาพบำบัดขึ้นในโรงพยาบาล(สามารถรับส่งต่อจากรพ.อื่นๆภายในจังหวัด)

การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
IT module ที่มีใช้งานอยู่ในปัจจุบัน:
    - ด้านการให้บริการผู้ป่วยใช้ โปรแกรม HOSxP เริ่มใช้งานประมาณปี พ.ศ. 2555  ครอบคลุมการให้บริการทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในรวมไปถึงการให้บริการใน รพสต
    - ในด้านระบบการบริหารจัดการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการดูแลการบริหารจัดการระบบพัสดุและการเงินการบัญชีทำให้สามารถตรวจสอบความถูกต้อง ความทันเวลาของข้อมูลได้ดีขึ้น และขยายไปถึง รพสตให้เป็นระบบเดียวกันทั้งอำเภอ
    - Back office โปรแกรมบริการการเงินการคลัง(Express) ,โปรแกรมเงินเดือน (EasyAcc) โปรแกรมบริหารงานซ่อมบำรุง (RMC) โปรแกรมงานสารบัญ (E-office)  ระบบการจัดการห้องประชุม
    - พัฒนาระบบข้อมูล DATA Center ให้ครอบคลุมทั้งอำเภอ
    - ระบบเงินสดออนไลน์
IT module ที่กำลังพัฒนาหรือมีแผนที่จะพัฒนาในอนาคต:
    - ปรับปรุงระบบเวชระเบียนให้เป็นpaperless
    - เริ่มระบบ cloud ในการทำงาน

ความพร้อมใช้งานต่อเนื่องในภาวะฉุกเฉิน:
    - เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) มี Harddisk 4 ชุดสำรองข้อมูลแบบ Raid 5 และมีเทคโนโลยี Hot Swap คือเราสามารถทำการเปลี่ยน harddiskในกรณีที่เกิดปัญหาได้ในขณะที่ระบบยังทำงานอยู่
    - สำรองฐานข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายสำรองอีกหนึ่งชุด ตลอดเวลา สามารถนำเครื่องเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายสำรองมาใช้งานได้ในกรณีเครื่องหลักเสียหาย
    - ชุด สำรองไว้ใน External Hard disk และบันทึกไว้ในแผ่นซีดีทุกวัน  มีการทดสอบการติดตั้งฐานข้อมูลที่สำรองไว้เพื่อความมั่นใจสามารถนำกลับมาใช้ได้จริง
    - จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์สำรองกรณีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานไม่ได้  ให้ความรู้เจ้าหน้าที่ในการแก้ไขเบื้องต้นหากไม่สามารถใช้งานได้ในกรณีนอกเวลาให้ติดต่อผู้แลระบบ
    - Backoffice สำรองข้อมูล External Hard diskแยกออกจาก เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและสำรองโดยบันทึกไว้ในแผ่นซีดี โดยผู้รับผิดชอบงานการจัดการความรู้ขององค์กร
การจัดกิจกรรมการจัดการความรู้:
    - จัดให้มีช่องทางในการเผยแพร่ความรู้ในหลายช่องทางเช่น บอร์ดประกาศ Intranet กลุ่มFacebookของเจ้าหน้าที่และคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล การประกวดผลงาน CQIนวตกรรม
    - การประชุมและเสวนาวิชาการในระดับต่างๆได้แก่ การประชุมวิชาการระดับโรงพยาบาล,การประชุมทีมนำทางคลินิกต่างๆ, การประชุมสหสาขา,การประชุมทีมงานพัฒนาคุณภาพต่างๆ เป็นต้น
    - การนำเสนอผลงานนวตกรรมในการประชุมวิชาการในระดับเขต
    - การนำเสนองานในงาน HA forum ครั้งที่ 18 ณ อิมแพค อารีน่า เมืองทอง

การนำความรู้มาออกแบบระบบงาน/สร้างนวตกรรม:
    - มีการจัดระบบบริหารจัดการระบบพัสดุและการเงินการบัญชีของโรงพยาบาลจนกระทั่งประสบความสำเร็จสามารถพัฒนางานได้ถูกต้อง ทันเวลาและเชื่อถือได้
    - สร้างนวัตกรรมการบริงาน การเงินและบัญชีในระดับอำเภอ(ทั้ง รพ.และ รพสต ใช้ระบบเดียวกันซึ่งเป็นระบบที่ออกแบบให้มีประสิทธิภาพ)โดยมีการการนำเสนองานในงาน HA forum ครั้งที่ 18 ณ อิมแพคอารีน่า เมืองทองคุณภาพของข้อมูล สารสนเทศ ความรู้

บทเรียนในการจัดการความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ:
    - กำหนดรหัสผ่านในการเข้าใช้โปรแกรมแยกตามกลุ่มงานในแต่ละกลุ่มงานมีสิทธิ์การใช้งานแตกต่างกันเท่าที่จำเป็นเช่นงานเวชระเบียนใช้งานบริการบัตรได้อย่างเดียว ฝ่ายเภสัชกรรมเห็นข้อมูลการสั่งตรวจรักษาของแพทย์ได้แต่ไม่สามารถแก้ไข
    - กำหนดการควบคุมภายในเช่นแก้ไขสิทธิการรักษาต้องแจ้งไปที่ห้องเก็บเงินและงานเวชระเบียนสามารถแก้ไขได้จุดเดียว  กำหนดสิทธิการใช้งานและสามารถแก้ไขข้อมูลตามความจำเป็นของแต่งาน  จำหน่ายผู้ป่วยอกออกจากระบบทุกกรณีทุก 16.00 น. บันทึกประวัติการเข้าใช้โปรแกรมเป็นรายบุคคล  จัดเก็บข้อมูลการใช้งาน Internet(logfile) กรณีติดต่อไปนอกหน่วยงาน
    - มีการสำรองข้อมูลทุกวันเพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูลผลการพัฒนาที่สำคัญ:
การปรับปรุงระบบการวัด performance ขององค์กร:
    - จัดให้มีการรายงานการติดตามตัวชี้วัดขององค์การในการประชุมกรรมการบริหาร
    - จัดให้มีการให้ระดับในการประเมินตัวชี้วัดผ่านทางระบบMIS
การปรับปรุงการจัดการความรู้
    - มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้ของโรงพยาบาลเพื่อวางแผนการจัดการความรู้ภายในโรงพยาบาลการให้ความรู้ การเผยแพร่ การจัดให้มีคลังความรู้ของโรงพยาบาล
การปรับปรุงความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ
    - ทำแผนจัดหาสถานที่จัดเก็บเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและเครื่องแม่ข่ายสำรองเพื่อสำรองข้อมูลแยกต่างหากจากเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายหลัก
    - จัดหา Harddisk External เพื่อสำรองข้อมูล มีการสำรองข้อมูลสม่ำเสมอ
    - เพิ่มบุคลากรด้านเทคโนโลยีเพิ่มศักยภาพด้านเทคโนโลยีกับเจ้าหน้าที่และกรรมการสารสนเทศ
    - กำหนดมาตรฐานข้อมูลขั้นต่ำในการบันทึกข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยมีการตรวจสอบข้อมูลและสะท้อนกลับเพื่อแก้ไขข้อมูลมีการกำหนดรหัสผ่านและระดับการเข้าถึงข้อมูล
    - กำหนดแนวทางปฏิบัติซักซ้อมเจ้าหน้าที่กรณีเกิดไฟฟ้าดับ


ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้