CQI2559_ENV ชีวิตต้องมีพลัง..ไฟฟ้า
1. ชื่อผลงาน ชีวิตต้องมีพลัง......ไฟฟ้า 2. คำสำคัญ - เครื่องกำเนิดไฟฟ้า คือเครื่องมือที่ใช้สำหรับแปลงพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยอาศัยหลักการทำงานเมื่อมีสนามแม่เหล็กเคลื่อนที่ตัดผ่านขดลวดหรือขดลวดเคลื่อนที่ตัดสนามแม่เหล็กก็จะได้ไฟฟ้าออกมาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะประกอบด้วยส่วนที่สำคัญสองส่วนคือส่วนที่สร้างสนามแม่เหล็ก เรียกกว่า ฟิลด์ (Field) และส่วนที่สร้างแรงดันไฟฟ้าเรียกว่าอาเมเจอร์(Amature) 3. สรุปผลงานโดยย่อ ระบบการจ่ายไฟฟ้าเป็นระบบหลักสำคัญและโรงพยาบาลจำเป็นจะต้องมีระบบไฟฟ้าสำรองภายในเพื่อบริการจ่ายกระแสไฟฟ้าในจุดที่สำคัญต่อชีวิตผู้ป่วย,อุปกรณ์ด้านการแพทย์ ยาและเวชภัณฑ์มิใช่ยาเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์ จึงได้ดำเนินการเปลี่ยนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีขนาด100 KVเป็นขนาด 300 AVพร้อมย้ายหม้อแปลงไฟฟ้าและเปลี่ยนระบบการเชื่อมต่อระบบการจ่ายกระแสไฟฟ้าสำรองจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้มีการต่อเชื่อมให้ใช้งานได้ทั่วทุกอาคารจากการดำเนินการพัฒนา พบว่า ปี 2557 พบไฟฟ้าดับ จำนวน 14 ครั้ง สาเหตุดับจากการไฟฟ้า จำนวน 9 ครั้ง ดับจากสาเหตุภายใน จำนวน 5 ครั้ง ปี 2558 พบไฟฟ้าดับจำนวน 16 ครั้ง สาเหตุ ดับจากการไฟฟ้า จำนวน 12 ครั้ง ดับจากสาเหตุภายใน จำนวน 4 ครั้ง และในปี 2559พบไฟฟ้าดับ จำนวน 9 ครั้ง สาเหตุดับจากการไฟฟ้า จำนวน 7 ครั้ง และจากสาเหตุภายในจำนวน 2 ครั้ง 4. ชื่อและที่อยู่องค์กร คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย(ENV) โรงพยาบาลสามง่าม 5. สมาชิกทีม นางสมบูรณ์ สิงห์พรม นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ จ.ส.อ.นิพนธ์ ชื่นอะลวย จพ.พัสดุชำนาญงาน นายพูนศักดิ์ ศิวะสนธิวัฒน์ ทันตแพทย์ชำนาญการ นางมณีพรรณ นพศิริ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ นางปิยนนท์ บุษบา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ นางสุรีพรย์ ศักดิ์เพชร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ นางพรรษร ตั้งสมคิด พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ นางวราภรณ์ ประสานจิตร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ น.ส.รวีวรรณ สุวรรณปักษิณ จพ.เภสัชกรรมชำนาญงาน น.ส.นงนุช แก้วถิ่นดง นักวิชาการการเงินและบัญชี น.ส.สุพัตรา สังข์ทอง นักวิชาการพัสดุ น.ส.สุจินดา บุญเพ็ง นักกายภาพบำบัด น.ส.จารุวรรณ บัญญัติ จพ.วิทยาศาสตร์การแพทย์ชำนาญงาน นายทัศษนะ สังข์เที่ยง พนักงานพัสดุ นายณัฐวุฒิ ประสานจิตร นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นางวงค์เดือน เดชขุนทด พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ นางจันทิมา โมเรือง เจ้าพนักงานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ 6. เป้าหมาย จำนวนอุบัติการณ์การจ่ายกระแสไฟฟ้าขัดข้องจากเหตุภายในลดลงจากปีที่ผ่าน 7. ปัญหาและสาเหตุ โรงพยาบาลสามง่ามมีอาคารสิ่งก่อสร้างเกิดขึ้น จำนวน 1 ตึก และมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองเพียงขนาด100 KV จำนวน 1เครื่อง ซึ่งไม่เพียงพอในการจ่ายกระแสไฟฟ้าสำรอง ส่งผลทำให้ทำให้ผู้รับริการได้รับบริการที่ล่าช้าอุปกรณ์ด้านการแพทย์ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพและอาจส่งผลทำให้ยาและเวชภัณฑ์มิใช่ยาเกิดความเสียหายได้ซึ่งสาเหตุที่ทำให้การจ่ายกระแสไฟฟ้าสำรองไม่เพียงพอ คือ กระแสไฟฟ้าดับจากสาเหตุภายใน 1. ระบบอัตโนมัติของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไม่จ่ายกระแสไฟฟ้าสำรอง 2. ฟิวส์แรงต่ำของโรงพยาบาลขาดเนื่องจาก มีนกและสัตว์ต่าง เกาะที่หม้อแปลงไฟฟ้าทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร 3. เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีอยู่เดิมมีขนาด100KV จึงทำให้ไม่เพียงพอต่อการจ่ายไฟฟ้าสำรองใน รพ. 4. ช่วงฤดูร้อนมีการใช้กระแสไฟฟ้าเป็นจำนวนมากทำให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าโหลดและตัดทำให้ไม่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ 5. มีจำนวนอาคารสิ่งก่อสร้างเพิ่มขึ้นอีก1 ตึก ซึ่งทำให้การจ่ายกระแสไฟฟ้าไม่เพียงพอ กระแสไฟฟ้าดับจากสาเหตุภายนอก 1. เหตุจากภัยธรรมชาติเช่น เสาไฟฟ้าหัก โค่นล้ม จากเหตุต่างๆทำให้กระแสไฟฟ้าดับไม่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ 2. หม้อแปลจ่ายกระแสไฟฟ้าของระบบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคขัดข้อง,การตัดจ่ายกระแสไฟฟ้าเพื่อปรับปรุง 8. กิจกรรมพัฒนา - มอบหมายให้มีเจ้าหน้าที่เป็นผู้ดูแลและบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นประจำทุกสัปดาห์และตรวจสอบระดับเกย์น้ำมันสำรองในเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน - มีระบบระบายความร้อน(ช่วงฤดูร้อน) โดยใช้สปริงเกอร์ควบคุมความร้อน - มีระบบการควบคุมการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าโดยการแบ่งจ่ายกระแสไฟฟ้าตามช่วงเขตระหว่างบ้านพักเจ้าหน้าที่และตึกให้บริการต่างๆ เช่น ตึกผู้ป่วยนอก ตึกผู้ป่วยใน เป็นต้น - เปลี่ยนสายไฟฟ้าที่ชำรุดและเสื่อมสภาพ - ขออนุมัติดำเนินการจัดซื้อและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีขนาด300 KV - เปลี่ยนระบบการเชื่อมต่อระบบการจ่ายกระแสไฟฟ้าสำรองจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้มีการต่อเชื่อมให้ใช้งานได้ทั่วทุกอาคาร - ติดตั้งระบบสายไฟให้มีขนาดใหญ่ขึ้น - ดำเนินการย้ายอาคารเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไปยังสถานที่ที่เหมาะสม 9. การเปลี่ยนแปลง ผลการดำเนินงาน - จากปีพ.ศ. 2553 เครื่องกำเนิดไฟฟ้าไม่จ่ายกระแสไฟฟ้าสำรอง เหตุเกิดจากระบบ Auto ไม่ทำงาน เปลี่ยนเป็นระบบ Manual (ใช้มือกด) เพื่อทำให้กระแสไฟฟ้าสำรองจ่ายไฟได้ปกติ - ปี2558 (ช่วงเดือน ธันวาคม) ดำเนินการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีขนาด300 KV - ปี2559 มีอาคารสิ่งก่อสร้างเกิดขึ้น 1 ตึก ทำให้การจ่ายกระแสไฟฟ้าสำรองไม่เพียงพอ ดำเนินการย้ายหม้อแปลงไฟฟ้าและบำรุงรักษาหม้อแปลงพร้อมเปลี่ยนระบบเชื่อมต่อระบบการจ่ายกระแสไฟฟ้าสำรองจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามีการต่อเชื่อมให้ใช้งานได้ทุกอาคารพบสาเหตุที่ไฟฟ้าขัดข้องเกิดจากสาเหตุภายในลดลงจาก ปี 2558 ร้อยละ 50 10. บทเรียนที่ได้รับ - พัฒนาระบบแผนเชิงป้องกันการตรวจสอบ การบำรุงรักษาอุปกรณ์ระบบไฟฟ้าทุกจุด ทุกแผนกเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติการณ์อันไม่พึงประสงค์จากกระแสไฟฟ้าดับ 11. การติดต่อกับทีมงาน คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย(ENV) โรงพยาบาลสามง่าม
|