๑.ชื่อผลงาน :การพัฒนาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วย ตามหลัก ๓อ๓สในชุมชน ๒.คำสำคัญ:การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ,ชุมชน ๓.หลักการและเหตุผล: เนื่องจากในปี พ.ศ.๒๕๕๘ ที่ผ่านมา พบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังและกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังในอัตราที่สูงขึ้นการดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้เริ่มมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ เป็นต้นมาโดยใช้เกณฑ์การแบ่งระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดจำแนกตามสี ตามปิงปอง ๗ สี ส่งผลกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความตระหนักและเกิดความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองมากขึ้นโดยมีกิจกรรมเด่นคือ การจัดรำวงย้อนยุดในตอนเย็นของทุกวันแต่มีการทำกิจกรรมไม่ต่อเนื่อง และการจัดการอบรมการให้คำแนะนำไม่ได้ผลเท่าที่ควรภายหลังการอบรมพบว่าผู้ป่วยส่วนน้อยเกิดความตระหนักแต่ยังไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากการสอบถามและประเมินผลพบว่าผู้ป่วยโรคเรื่อรังและกลุ่มเสี่ยงไม่รู้ว่าจะต้องออกกำลังกายแบบไหนไม่มีสถานที่หรือผู้สนับสนุนอุปกรณ์ต่างๆซึ่งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต้องมีการเริ่มปฏิบัติหรือมีกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมให้รองรับการปรับเปลี่ยนที่แท้จริงและเสริมพลังในชุมชนในการร่วมกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปี พ.ศ.๒๕๕๙จึงมีการปรับกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยตามหลัก ๓อ๓สในชุมชน (อ๑ :ออกกำลังกาย, อ๒:อาหาร ,อ๓: อารมณ์ , ส๑ : ไม่สูบบุหรี่ ส๒ : ไม่ดื่มสุรา ส๓ : สีส สามาธิ ) โดยจะเน้นด้านการออกกำลังกาย การฝึกสมาธิทำจิตใจให้สงบมีอารมณ์สดชื่นแจ่มใส เพื่อให้เกิดความสุขจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยงลดโรคซึ่งจะส่งผลดีต่อการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน ๔.ประเด็นสำคัญ: ตารางที่ ๑ อัตราป่วยโรคเรื้อรังปีพ.ศ. ๒๕๕๖ – ๒๕๕๙ รายการ | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | เบาหวานและความดันโลหิตสูง | | | | | | | | | | | | | | | | | |
จากตารางที่ ๑ แสดงจำนวนและอัตราป่วยโรคเรื้อรังย้อนหลัง ๓ ปีพ.ศ.๒๕๕๖-พ.ศ.๒๕๕๙(๙เดือน) พบว่าอัตราป่วยด้วยโรคเรื้อรังมีอัตราเพิ่มขึ้นและลดลงไม่สม่ำเสมอซึ่งโรคที่มีอัตราป่วยสูง โดยปีที่มีอัตราป่วยสูงที่สุดคือ พ.ศ. ๒๕๕๖ (๙,๐๐๒.๓๓) รองลงมาคือ พ.ศ.๒๕๕๙(๘,๙๑๐.๘๙) ,พ.ศ.๒๕๕๗ (๖,๓๗๕.๖๓) และ พ.ศ.๒๕๕๘ ( ๕,๘๘๖.๕๕)ตามลำดับ(อัตราป่วยต่อแสนประชากร) ตารางที่ ๒ การประเมินความเสี่ยงต่อการโรคของของประชาชน๓๕-๕๙ปี ปี พ.ศ.๒๕๕๗ –๒๕๕๙ สถานะสุขภาพ | พ.ศ. ๒๕๕๗ (ปชก.๓๕-๕๙ ปี ๑,๓๓๑คน) | พ.ศ. ๒๕๕๘ (ปชก.๓๕-๕๙ปี ๑,๕๖๑คน) | พ.ศ. ๒๕๕๙ (ปชก.๓๕-๕๙ปี ๑,๑๙๘ คน) | | | | | | | ความครอบคลุมของการคัดกรองสุขภาพประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป | | | | | | | ๑.ภาวะอ้วน(ประเมินจากค่าBMI) | | | | | | | -น้ำหนักเกิน (BMI =๒๓-๒๔.๙) | | | | | | | - โรคอ้วน (BMI = ๒๕-๒๙.๙) | | | | | | | - อ้วนมาก ( BMI >๓๐) | | | | | | | ๒. Pre-DM (๑๐๑-๑๒๕mg%) | | | | | | | ๓.Pre-hypertension (๑๒๐-๑๓๙/๘๐-๘๙ mmHg) | | | | | | |
จากตารางที่ ๒แสดงผลการประเมินภาวะเสี่ยงต่อโรคของประชากรกลุ่มวัยทำงานพบว่ามีความครอบคุลมของการคัดกรองสุขภาพของประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปเกินร้อยละ ๙๐ซึ่งปีที่มีความครอบคลุมของการคัดกรองสุขภาพมากที่สุดคือปี พ.ศ.๒๕๕๙ (ร้อยละ๙๖,๘๒) รองลงมาคือ พ.ศ.๒๕๕๗ (ร้อยละ๙๐.๙๘) ,พ.ศ.๒๕๕๘ (ร้อยละ๘๙.๓๐)ตามลำดับผลการคัดกรองภาวะอ้วนจากการประเมินค่าBMIพบว่าภาวะอ้วนในประชากรอายุ ๓๕ – ๕๙ ปีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยพบภาวะอ้วนมากที่สุดในปี พ.ศ.๒๕๕๙ ร้อยละ ๓๒.๓๘ รองลงมาคือพ.ศ.๒๕๕๘ ร้อยละ ๒๔.๑๕ และพ.ศ.๒๕๕๖ ร้อยละ ๒๓.๐๖ ตามลำดับการคัดกรองภาวะเสี่ยงเบาหวานพบมากที่สุดปี พ.ศ.๒๕๕๙ ร้อยละ ๑๐.๖๐ รองลงมาคือพ.ศ.๒๕๕๗ ร้อยละ ๘.๔๘ และ พ.ศ.๒๕๕๘ ร้อยละ ๖.๕๓ ตามลำดับการคัดกรองภาวะความดันโลหิตสูงพบภาวะเสี่ยงมากที่สุดในปี พ.ศ.๒๕๕๙ ร้อยละ ๑๐.๐๑ รองลงมาคือพ.ศ.๒๕๕๗ ร้อยละ ๙.๒๔ และ พ.ศ.๒๕๕๘ ร้อยละ ๗.๓๖ ตามลำดับ ตารางที่๓ แสดงจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานต่อแสนประชาการแต่ละหมู่ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังลูกช้าง ตารางที่๓ แสดงอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานปีงบประมาณ ๒๕๕๘ และ๒๕๕๙ พบว่า ปี๒๕๕๘ หมู่ ๗มีอัตราป่วยมากที่สุดร้อยละ ๑,๔๐๐.๘๖ ต่อแสนประชากร รองลงมาคือ หมู่๙ต่อแสนประชากร ๘๖๒.๐๗ ต่อแสนประชากร,หมู่๘ ร้อยละ ๗๕๔.๓๑ ต่อแสนประชากร ,หมู่ ๑๑ ร้อยละ ๖๔๖.๕๕ ต่อแสนประชากรและหมู่ ๖ ร้อยละ ๔๓๑.๐๓ ต่อแสนประชากร ในปี พ.ศ.๒๕๕๙ พบว่าหมู่ ๗ มีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ๑,๘๖๖.๑๖ ต่อแสนประชากร หมู่ ๙ มีอัตราป่วยลดลงเป็นร้อยละ ๗๐๐.๙๓ ต่อแสนประชากร หมู่๘ มีอัตรป่วยลดลงเป็นร้อยละ ๓๕๐.๔๗ ต่อแสนประชากร หมู่ ๑๑มีอัตราป่วยเพิ่มข้นร้อยละ ๗๐๐.๙๓ และหมู่ ๖มีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๕๘๔.๑๑ ต่อแสนประชากร ตารางที่๔ เปรียบเทียบการป่วยโรคความดันของประชากรแต่ละหมู่ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังลูกช้าง ตารางที่๔ แสดงอัตราป่วยด้วยโรคความดัน ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ และ๒๕๕๙ พบว่า ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ หมู่ ๗มีอัตราป่วยมากที่สุดร้อยละ ๙,๔๘๒.๗๖ ต่อแสนประชากรรองลงมาคือ หมู่ ๖ มีอัตราป่วยร้อยละ ๖,๔๖๕.๕๒ ต่อแสนประชากร ,หมู่ ๙ มีอัตราป่วยร้อยละ ๔,๘๔๙.๑๔ ต่อแสนประชากร,หมู่ ๘ มีอัตราป่วยร้อยละ ๓,๕๕๖.๐๓ ต่อแสนประชากร และหมู่ ๑๑ มีอัตราป่วยร้อยละ ๒,๒๖๒.๙๓ ต่อแสนประชากร ในปี พ.ศ.๒๕๕๙ พบว่าหมู่ ๗ มีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๑๑,๙๑๕.๘๙ ต่อแสนประชากรหมู่ ๖ มีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๘,๑๗๗.๕๗ หมู่ ๙มีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ๖,๓๐๘.๔๑ ต่อแสนประชากร หมู่ ๘ มีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๓,๗๓๘.๓๒ ต่อแสนประชากร และหมู่ ๑๑ มีอัตราป่วยเพิ่มข้นเป็นร้อยละ ๒,๔๕๓.๒๗ ต่อแสนประชากร ตารางที่๕ เปรียบเทียบการป่วยโรคร่วมเบาหวานความดันของประชากรแต่ละหมู่ในเขตรพ.สต.บ้านวังลูกช้าง ผู้ป่วยด้วยโรคร่วมเบาหวานความดัน | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
ตารางที่๕ แสดงอัตราป่วยด้วยโรคร่วมเบาหวานและความดัน ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ และ๒๕๕๙ พบว่า ปี พ.ศ.๒๕๕๘ หมู่ ๗ มีอัตราป่วยมากที่สุดร้อยละ ๕,๒๘๐.๑๗ต่อแสนประชากร รองลงมาคือ หมู่ ๖ มีอัตราป่วยร้อยละ๓,๗๗๑.๕๕ต่อแสนประชากร ,หมู่ ๙ มีอัตราป่วยร้อยละ ๒๔๗๘.๔๕ ต่อแสนประชากร , หมู่ ๘ มีอัตราป่วยร้อยละ๒,๑๕๕.๑๗ ต่อแสนประชากร และหมู่ ๑๑มีอัตราป่วยร้อยละ ๘๖๒.๐๗ ต่อแสนประชากร ในปี พ.ศ.๒๕๕๙ พบว่าหมู่ ๗ มีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๕,๗๒๔.๓๐ ต่อแสนประชากรหมู่ ๖ มีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๔,๐๘๘.๗๙ หมู่ ๙ มีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๓,๐๓๗.๓๘ ต่อแสนประชากร หมู่๘มีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๓,๑๕๔.๒๑ ต่อแสนประชากร และหมู่ ๑๑มีอัตราป่วยเพิ่มข้นเป็นร้อยละ ๙๓๔.๕๘ ต่อแสนประชากร ตารางที่๖ แสดงจำนวนประชากรอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไปรายหมู่ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังจากการคัดกรองดด้วยวาจาและการเจาะวัดระดับน้ำตาลในกระแสเลือดปี งบประมาณ ๒๕๕๙ จากตารางที่ ๖ พบว่า ประชากรหมู่ ๖ อายุ ๓๕ ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงมากที่สุดร้อยละ ๖๒.๐๙ คือโรคความดัน รองลงมาร้อยละ ๔๐.๙๐ มีภาวะอ้วนพุง/BMIเกิน และ ร้อยละ ๑๖.๑๒ เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน, ประชากรหมู่ ๗ อายุ ๓๕ ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงมากที่สุดร้อยละ ๘๑.๖๙ คือโรคความดัน รองลงมา ร้อยละ ๔๗.๘๓ มีภาวะอ้วนพุง/BMI เกินและร้อยละ ๒๒.๔๓เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน, ประชากรหมู่ ๘ อายุ ๓๕ ปี ขึ้นไปมีความเสี่ยงมากที่สุดร้อยละ ๘๑.๒๑ คือโรคความดัน รองลงมา ร้อยละ ๔๔.๘๕มีภาวะอ้วนพุง/BMIเกิน และ ร้อยละ ๒๖.๘๔ เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน , ประชากรหมู่ ๙ อายุ ๓๕ ปี ขึ้นไปมีความเสี่ยงมากที่สุดร้อยละ ๘๒.๒๕คือโรคความดัน รองลงมา ร้อยละ ๔๔.๑๖มีภาวะอ้วนพุง/BMIเกินและ ร้อยละ ๒๖.๘๔ เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน, ประชากรหมู่ ๑๑ อายุ ๓๕ ปี ขึ้นไปมีความเสี่ยงมากที่สุดร้อยละ ๗๔.๘๔คือโรคความดัน รองลงมา ร้อยละ ๔๘.๔๓มีภาวะอ้วนพุง/BMIเกินและ ร้อยละ ๒๗.๖๗ เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ๕.วัตถุประสงค์ ๑.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก ๓อ๓ส ๓.กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยมีความสุขต่อการดำรงชีวิตเพิ่มขึ้น ๖.พื้นที่ดำเนินงานระยะเวลาการดำเนินงาน: บ้านรายชะโด หมู่ ๖ ต.สามง่าม อ.สามง่ามจ.พิจิตร ๖๖๑๔๐ ระยะเวลาดำเนินการ เดือน เมษายน –กันยายน ๒๕๕๙ ๗.กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยจำนวน๖๐ คน ประชากรหมู่ ๖บ้านรายชะโด ๘.ตัวชี้วัด ๑.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก ๓อ๓ สร้อยละ ๓.กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยมีความสุขต่อการดำรงชีวิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ ๙.วิธีการดำเนินงาน ๑.จัดทำแผนงาน ๒.ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยงข้องเพื่อเตรียมดำเนินงาน ๓.จัดเวทีคืนข้อมูลสถานะสุขภาพ ประชุมเสนอความคิดเห็นจัดตั้งหมู่บ้านต้นแบบจัดทำแผนแก้ไขปัญหาในหมู่บ้าน ๔.ให้ความรู้เรื่อง 3อ 3ส อาหารที่เพิ่มความเสี่ยงอาหารที่เป็นสาเหตุของโรคเรื้อรัง เช่นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไขมันในกระแสเลือดสูงและโรคทะเร็งต่างๆ ให้กับกับกลุ่มดีกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย รณรงค์/ส่งเสริมให้ทุกครัวเรือนบริโรคผักปลอดสารพิษและส่งเสริมหารปลูกผักไว้รับประทานในครัวเรือนโดยเน้นปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้และปลูกผักตามฤดูกาล ๕.สวดมนต์ภาวนา เจริญสมาธิ ทำจิตใจให้ปลอดโปร่งโดยมีชมรมปฏิบัติธรรมซึ่งมีกิจกรรมสวดมนต์ ปฏิบัติธรรม ณ บริเวณศาลาสาธารณในหมู่ ๖ บ้านรายชะโด โดยเริ่มต้นสวดมนต์ทุกเย็นวันเสาร์เริ่มเวลา ๑๗:๓๐ น. เป็นประจำทุกสัปดาห์ ๖.ส่งเสริมกิจกรรมการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมตามวัย เช่นกิจกรรมไม้พอง ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพ การเดินวิ่งเพื่อสุขภาพ และกิจกรรมปั่นจักยานเพื่อสุขภาพโดยเป็นสมาชิกชมรมปั่นจักยานเพื่อสุขภาพ เส้นทางปั่นรอบหมู่ ๖ บ้านรายชะโดและพื้นที่ใกล้เคียง เช่น วิทยาลัยเกษตร,ถนนเส้นหมู่ ๑๑ วัดใหม่ราษฎร์บำรุงกำหนดวันและเวลาที่ปั่นสัปดาห์ละ ๓ วัน คือ ทุกวันเสาร์ วันอาทิตย์ วันจันทร์ เวลา๑๗.๐๐-๑๘.๐๐น.นัดร่วมกลุ่มเริ่มปั่นที่บ้านผู้ใหญ่สุธรรม เขียวเขิน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๖ บ้านรายชะโด ๗.รณรงค์เลิกบุหรี่/สุราในวัด ถนนสาธารณะ ประชาสัมพันธ์งดเหล้าเข้าพรรษาและเลิกบุหรี่โดยมีการประสานวัด ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำ อสม.ช่วยดำเนินการประชาสัมพันธ์เชิญชวน ร่วมกิจกรรมงดเหล้าเข้าพรรษาและจัดทำไวนิลติดประชาสัมพันธ์งดเหล้าเข้าพรรษาติดบริเวณสถานที่สะดุดตามองเห็นได้ง่าย ๘.รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้สวมหมวกนิรภัยและคาดเข็มขัดทุกครั้งที่ขับขี่รถพร้อมขอความร่วมมือปฏิบัติตามกฎจราจรไม่ใช้ความเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด ให้ความรู้ประชาชนในการและร้านค้าในจำการนายบุหรี่สุรา ห้ามจำหน่ายให้กับเด็กอายุต่ำกว่ากฎหมายกำหนด พร้อมกับให้ความรู้ร้านอาหารร้านค้าในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันทอดซ้ำซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งและโรคไขมันในเลือดและโรคต่างๆอีกมากมาย ๑๐.ผลลัพธ์ตามตัวชี้วัด ๑.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก ๓อ๓สร้อยละ แบบโครงการหมู่บ้านต้นแบบสุขภาพดีเข้าร่วมกิจกรรมการดำเนินงานโครงการวัดระดับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อความคุมน้ำหนัก ลดภาวะเสี่ยงอ้วนลงพุงจากประชากรจำนวน ๖๐ ราย พฤติกรรม | ไม่เคยปฎิบัติและไม่เคยคิดว่าสำคัญ | ไม่เคยปฏิบัติแต่คิดว่าสำคัญ | วางแผนว่าจะปฏิบัติในอีก๑ เดือนข้างหน้านี้ | ปฏิบัติมาแล้วไม่เกิน๖ เดือน | ปฏิบัติมาแล้วมากกว่า๖ เดือน | ท่านควบคุมอาหารโดยกินข้าว แป้ง น้ำตาล และน้ำมัน (ให้น้อยลงกว่าเดิม) | | | | | | ท่านควบคุมอารมณ์ของตนเองให้แจ่มใสประจำ (๕-๗วันต่อสัปดาห์) | | | | | | ท่านออกกำลังกายเป็นประจำ (๕-๗วันต่อสัปดาห์อย่างน้อยวันละ ๓๐ นาที) | | | | | |
การวัดระดับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยในหมู่๖ บ้านรายชะโด ด้านพฤติกรรมการควบคุมอาหารโดยการกินข้าว แป้ง น้ำตาล และน้ำมันให้ลดน้อยลง พบว่าร้อยละ ๔๖.๖๗ ไม่เคยปฏิบัติแต่คิดว่าสำคัญ, ร้อยละ ๔๐.๐๐ ปฏิบัติมาแล้วไม่เกิน ๖ เดือน และร้อยละ ๑๓.๓๓วางแผนว่าจะปฏิบัติในอีก ๑ เดือนข้างหน้านี้ ด้านการควบคุมอารมณ์ของตนเองให้แจ่มใสเป็นประจำ(๕-๗วันต่อสัปดาห์) พบว่า ร้อยละ ๔๖.๖๗ ปฏิบัติมาแล้วไม่เกิน ๖เดือน, ร้อยละ ๓๓.๓๓ วางแผนว่าจะปฏิบัติในอีก๑เดือนข้างหน้านี้และร้อยละ๒๐.๐๐ไม่เคยปฏิบัติแต่คิดว่าสำคัญ ด้านการออกกำลังกายท่านออกกำลังกายเป็นประจำ(๕-๗วันต่อสัปดาห์อย่างน้อยวันละ ๓๐ นาที) พบว่า ร้อยละ ๕๓.๓๓ปฏิบัติมาแล้วไม่เกิน๖ เดือน , ร้อยละ๓๓.๓๓วางแผนว่าจะปฏิบัติในอีก๑ เดือนข้างหน้านี้ และร้อยละ ๑๓.๓๓ ไม่เคยปฏิบัติแต่คิดว่าสำคัญ ๒.กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยมีความสุขต่อการดำรงชีวิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ ตามแบบดัชนีชี้วัดความสุขคนไทยThaiHappiness indicator(THI-๑๕) ฉบับ ๑๕ ข้อ ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข จากประชากรจำนวน ๖๐ รายที่เข้าร่วมกิจกรรมการดำเนินงาน โดยแบ่งระดับ คะแนน ๓๓-๔๕ คะแนน หมายถึงมีความสุขมากว่าคนทั่วไป (Good)คิดเป็นร้อยละ ๒๐ คะแนน ๒๗-๓๒คะแนน หมายถึง มีความสุขเท่ากับคนทั่วไป (Fair) คิดเป็นร้อยละ๔๖.๖๗ ๒๖คะแนนหรือน้อยกว่า หมายถึง มีความสุขน้อยกว่าคนทั่วไป (Poor) คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๓๓ ดัชนีชี้วัดความสุขคนไทย | | | | | | | | ท่านรูสึกชีวิติของท่านมีความสุข | | | | | | | | | | | | ท่านต้องปรับการรักษาพยาบาลสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตและทำงานได้ | | | | | | ท่านพึงพอใจในรูปร่างหน้าตาของท่าน | | | | | | ท่านมีสัมพันธ์ภาพที่ดีต่อเพื่อนบ้านท | | | | | | ท่ารู้สึกประสบผลสำเร็จและมีความก้าวหน้าในชีวิต | | | | | | ท่านมั่นใจที่จะเผชิญเหตุการณ์ร้ายแรงที่เกิดขึ้นในชีวิต | | | | | | ถ้าสิ่งต่างๆไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ท่านจะรู้สึกหงุดหงิด | | | | | | ท่านสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่างๆด้วยตัวท่านเอง | | | | | | ท่านรู้สึกเป็นสุขในการช่วยเหลือผู้อื่นที่มีปัญหา | | | | | | ท่านมีความสุขกับการริเริ่มงานใหม่ๆ และมุ่งมั่นที่จะทำให้สำเร็จ | | | | | | ท่านรู้สึกว่าชีวิตไร้ค่าไม่มีประโยชน์ | | | | | | ท่านมีเพื่อนญาติพี่น้องคอยช่วยเหลือท่านในยามที่ท่านต้องการ | | | | | | ท่านมั่นใจว่าชุมชนที่ท่านอาศัยอยู่มีความปลอดภัยต่อท่าน | | | | | | ท่านมีโอกาสได้พักผ่อนคลายเครียด | | | | |
๑๑.๑ปัจจัยแห่งความสำเร็จ - ได้รับความร่วมมือจากผู้นำหมู่บ้าน(ผู้ใหญ่บ้าน) - ประชาชนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม -มีการจัดกิจกรรมที่ต่อเนื่องทุกสัปดาห์ทำให้ผู้ร่วมกิจกรรมเกิดความมั่นใจปละอยากมาร่วม กิจกรรม -ได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์อำนวยความสะดวก เช่น ที่รองนั่งสวดมนต์ ถังใส่น้ำดื่มพัดลม ๑๑.๒ ปัญหาและอุปสรรค - งบประมาณได้รับการอนุมัติล่าช้า - ช่วงฤดูฝนกิจกรรมอาจไม่ได้ปฏิบัติสม่ำเสมอเนื่องจากฝนตกไม่สามารถปั่นจักรยานได้ได้ตามแผนและการนั่งสมาธิบริเวณอาคารนั่งปฏิบัติธรรมถ้ามีฝนตกก็ไม่สามารถนั่งได้ ๑๒.แผนพัฒนาต่อเนื่อง ๑.มีการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ๒.มีการขยายกิจกรรมการจัดการสุขภาพให้เกิดขึ้นคลอบคลุมจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั้งหมด ๓.มีการเพิ่ม ๑๓.ชื่อบุคลากรหน่วยงานที่จัดทำ ๑.นางวราภรณ์ นาควิจิตร ผอ.รพ.สต.บ้านวังลูกช้าง ๒.นางสาวศิริกุล ขำไชโย เจ้าพนักงานสาธารณสุข ๓.นางสาววิภาวรรณ สมบุญยอด นักวิชาการสาธารณสุข DOWNLOAD >>
CQI2559_(รพ.สต.วังลูกช้าง)การพัฒนาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง .pptx.pptx
(5.93 MB, ดาวน์โหลดแล้ว: 345)
CQIรพ.สต.วังลูกช้าง.doc
(1.84 MB, ดาวน์โหลดแล้ว: 347)
|