เรื่อง การสร้างเครือข่ายดูแลกลุ่มเยาวชนเพื่อลดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ชื่อเจ้าของผลงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเนินพลวง ผู้รับผิดชอบนางสาวศิริพร รัตนเจียมรังษี เจ้าพนักงานสาธารณสุขปฏิบัติงาน ที่มา พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันสมควรส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น (อายุ15-19ปี) มากขึ้น บางรายมีการสิ้นสุดการตั้งครรภ์ด้วยวิธีที่อันตราย และส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพในระยะยาวโดยการเกิดปัญหาส่วนหนึ่ง มาจากกลุ่มวัยรุ่นไม่ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ส่วนใหญ่มักมีการรวมตัว เพื่อทำกิจกรรมมั่วสุมต่างๆเช่น ดื่มสุรา สูบบุหรี่ เล่นเกมส์ ใช้ยาเสพติดไม่ช่วยเหลือหรือแบ่งเบาภาระผู้ปกครอง นอกจากนี้วัยรุ่นบางกลุ่มที่มีคู่ มีแฟน ยังอาศัยช่วงวันหยุดในการไปใช้เวลาอยู่กับคู่ของตนและมีเพศสัมพันธ์กันที่บ้านของตนเองในเวลาที่ผู้ปกครองไม่อยู่บ้าน โดยการมีเพศสัมพันธ์แต่ละครั้งยังขาดการป้องกันทั้งการใช้ยาคุมกำเนิด ยาคุมฉุกเฉิน การใช้ถุงยางอนามัย อีกทั้งความคิดเห็นของผู้ปกครองบางกลุ่ม ยังมีความคิดว่าในอดีต “การท้องอายุน้อยไม่ใช่เรื่องแปลก” หากมีครอบครัวแล้ว ควรรีบมีลูก เพื่อสืบทอดวงษ์ตระกูลและจะได้รีบหางานทำเพื่อสร้างรายได้ในครอบครัว ในส่วนของวัยรุ่นบางกลุ่ม ยังมีทัศนคติค่านิยมเกี่ยวกับการใช้ถุงยางอนามัยที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่นการแสดงความรักและความบริสุทธิ์ใจต่อคู่รักของตนเอง ต้องไม่ใช้ถุงยางอนามัย การใช้ถุงยางอนามัยทำให้รู้สึกห่างเหินไม่ใกล้ชิดคู่รัก ไม่น่าไว้ใจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อัตราการใช้ถุงยางอนามัยในกลุ่มวัยรุ่นมีน้อย การจัดตั้งชมรมชายรักชายจึงเป็นอีกหนึ่งแนวทางร่วมกันกับชุมชนในการแก้ปัญหาวัยรุ่นในชุมชนโดยชมรมได้จัดให้มีกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดแข่งขันกีฬาร่วมกับชุมชนบริการให้คำปรึกษาปัญหาต่างๆ การเกิดจุดกระจายถุงยางอนามัยแห่งใหม่ๆ เกิดแหล่งรวมตัวต่างๆ ในชุมชน วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้เกิดชุมชนต้นแบบเครือข่ายดูแลกลุ่มเยาวชน 2. เกิดความเชื่อมโยงระบบข้อมูลข้อมูล ระหว่างชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3. เพื่อสนับสนุนให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืนในการป้องกันปัญหาด้านต่างๆของเยาวชนในชุมชน พื้นที่เป้าหมาย หมู่ 8 และหมู่ 20 บ้านเนินพลวง ตำบลเนินปออำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร สรุปผลที่เกิดขึ้น การบริหารจัดการโดยใช้กองทุนสุขภาพเป็นจุดเชื่อมการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่าย โดยชุมชนกลุ่มเป้าหมาย มีการปรับแนวคิด ทัศนคติและเกิดกลุ่มออกกำลังกายในชุมชน มีกิจกรรมต่อเนื่องทุกวัน กลุ่มวัยทำงานหันมาออกกำลังกายมากขึ้น ผลที่ตามมาคือ ลดโรคในกลุ่มวัยทำงาน เกิดสัมพันธภาพที่ระหว่างกลุ่มเยาวชนและคนในชุมชน ไว้วางใจซึ่งกันและกัน มีกลุ่มให้คำปรึกษาในชุมชนมากขึ้น ดังนั้น จึงทำให้เกิดกระบวนการจัดการสุขภาพขึ้นในชุมชน เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหาวัยรุ่น กระบวนการทำงานแก้ไขปัญหาวัยรุ่นในชุมชน (เริ่มในปี 2558) โดยการ 1 จัดตั้งชมรมชายรักชายเพื่อเป็นแกนนำในการป้องกันแก้ไข ปัญหาเยาวชนในพื้นที่ 2 พัฒนาศักยภาพชมรมชายรักชายในการให้ความรู้ด้านการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ โดยเน้นหนักในกลุ่มผู้นำชุมชน แกนนำสุขภาพผู้ปกครอง ครู 3 สร้างความตระหนักในกลุ่มผู้ปกครองที่ยังมีทัศนคติแบบผิดๆเรื่องการตั้งครรภ์อายุน้อยเป็นเรื่องปกติ 4 การใช้แบบคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยง ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศและปัญหาด้านต่างๆ ในกลุ่มวัยรุ่นเพื่อจัดทำแผนป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงในกลุ่มเป้าหมาย 5 จัดกลุ่มออกกำลังกายในชุมชนเพื่อให้กลุ่มเยาวชนได้มีโอกาสใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และได้ทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มวัยรุ่นและคนในชุมชนเพื่อให้เกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน สร้างโอกาสในการพูดคุยแลกเปลี่ยนและการให้คำปรึกษาที่ดี 6 การจัดกีฬาประจำปีโดยชมรมชายรักชาย เพื่อให้กลุ่มวัยรุ่นใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ในช่วงซ้อมเพื่อแข่งขันและพัฒนาตนเองหลังการแข่งขัน อีกทั้งยังมีการแข่งกีฬาพื้นบ้านร่วมด้วย เพื่อให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างวัยรุ่นและคนในชุมชน 7 เพิ่มจุดกระจายและให้บริการถุงยางอนามัยในชุมชน เพื่อให้อัตราการป้องกันการตั้งครรภ์และการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ตัวชี้วัด 1. มีการใช้ถุงยางอนามัยในกลุ่มวัยรุ่น 2. การคลอดในหญิงอายุ 15-19 ปี ลดลง 3. หญิงอายุต่ำกว่า 20 ปีหลังคลอดหรือแท้งมีการคุมกำเนิดทุกวิธี 4. มีการตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงอายุ 15-19ปี น้อยลง ผลลัพธ์ 1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ เกิดความตระหนักมากขึ้นและได้รับการดูแลตามสภาพปัญหา 2. กลุ่มเป้าหมายที่พบปัญหาได้รับความช่วยเหลือ ดูแล และการติดตามต่อเนื่อง ตามลำดับ 3. แกนนำสุขภาพที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านการให้คำปรึกษา 4. ชมรมชายรักชายเกิดการพัฒนาศักยภาพในการให้ความช่วยเหลือปัญหาวัยรุ่นและมีการพัฒนาต่อยอดในการขยายกลุ่มเครือข่ายไปยังชุมชนใกล้เคียง 5. มีการใช้ถุงยางอนามัยในกลุ่มวัยรุ่นเพิ่มขึ้น 6. กลุ่มวัยรุ่นตั้งครรภ์ได้รับการดูแลตามเกณฑ์ มีการคุมกำเนิดด้วยทุกวิธีหลังคลอด สรุปวิธีปฏิบัติที่เป็นแบบอย่าง 1. การดำเนินการร่วมกันทุกภาคี ทำให้ชุมชนมองเห็นความสำคัญของการร่วมมือกันในการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จ 2. เกิดเครือข่ายดูแลเยาวชนเพิ่มมากขึ้น สรุปผลข้อเสนอแนะ การดำเนินงานโดยเน้นความต้องการและศักยภาพของกลุ่มเป้าหมายและชุมชนเป็นหลักจะทำให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จอย่างแท้จริง มีความต่อเนื่อง มั่นคง และยั่งยืน ประโยชน์ที่ได้รับ 1. เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่าง เจ้าหน้าที่ เยาวชนแกนนำสุขภาพ และชุมชน 2. กลุ่มเยาวชนได้รับการดูแลอย่างครอบคลุม ครบทุกด้าน และได้รับการแก้ไขปัญหาทันเวลา 3. เกิดความรัก ความสามัคคี ดูแลเอาใจใส่ระหว่างกันของคนในชุมชน 4. เกิดความยั่งยืนในการดำเนินงานชมรมชายรักชายและเครือข่ายดูแลเยาวชน ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 1. ความร่วมมือของภาคีเครือข่าย ได้แก่ ชมรมชายรักชาย ผู้นำชุมชน แกนนำสุขภาพ 2. ความรู้ ความสามารถของบุคลากรสาธารณสุข และขีดความสามารถของภาคี แผนการพัฒนาต่อ 1. การพัฒนาศักยภาพกลุ่มเยาวชนและเครือข่ายผู้ดูแลเยาวชนในชุมชน ให้สามารถดูแลและแก้ไขปัญหาเยาวชนในชุมชนได้ 2. การสนับสนุนให้ชมรมเกิดการพัฒนาชมรมกิจกรรม และขีดความสามารถของเครือข่าย DOWNLOAD >>
CQI2559_(รพ.สต.เนินพลวง)การสร้างเครือข่ายดูแลก.ppt
(5.42 MB, ดาวน์โหลดแล้ว: 409)
CQI รพ.สต.เนินพลวง.doc
(49.5 KB, ดาวน์โหลดแล้ว: 407)
|