ดู: 1238|ตอบกลับ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

[CQI2559] ระบบการจัดการด้านยา

[คัดลอกลิงก์]

359

กระทู้

406

โพสต์

2325

เครดิต

ผู้ดูแลระบบ

Rank: 9Rank: 9Rank: 9

เครดิต
2325

ระบบการจัดการด้านยา
คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด/PTC

1.     ชื่อผลงาน/ โครงการ: การพัฒนาระบบการค้นหาปัญหาจากการใช้ยาจากการประเมิน Medication reconciliation (ความสอดคล้องต่อเนื่องทางยา) ของผู้ป่วยนอนโรงพยาบาล

2.     คำสำคัญ:
Medication reconciliation (ความสอดคล้องต่อเนื่องทางยา)หมายถึงกระบวนการเปรียบเทียบและประสานรายการยาระหว่างรายการยาที่ผู้ป่วยรับประทานอยู่อย่างต่อเนื่องก่อนเข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลกับรายการยาที่ผู้ป่วยได้รับเมื่อแรกรับรวมทั้งเมื่อผู้ป่วยย้ายแผนก ย้ายหอผู้ป่วยหรือเมื่อถูกจำหน่ายกลับบ้าน

3.     สรุปผลงานโดยย่อ:
ถุงยาเดิมผู้ป่วยมีความสำคัญต่อการค้นหาปัญหาจากการใช้ยา การที่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังสามารถนำถุงยาเดิมที่รับประทานอยู่ในปัจจุบันติดตัวมาโรงพยาบาลด้วยทุกครั้งจึงสามารถลดความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยาได้โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่รับการรักษาจากหลายโรงพยาบาล หรือผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่รับการรักษาจากโรงพยาบาลอื่นๆซึ่งถุงยาเดิมเป็นสิ่งที่บ่งบอกรายการยาที่ผู้ป่วยใช้อยู่ในปัจจุบันได้ระดับหนึ่งร่วมกับประวัติการรักษาในระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล และสมุดประจำตัวผู้ป่วย(กรณีที่มีข้อมูลรายการยาที่ใช้เป็นปัจจุบัน)
การเน้นย้ำของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลทุกจุดบริการให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังนำถุงยาเดิมติดตัวมาโรงพยาบาลด้วยทุกครั้งจึงมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยปฏิบัติตามทำให้เกิดการตรวจสอบความครบถ้วนของการสั่งใช้ยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการรักษาที่ถูกต้องซึ่งจากการดำเนินการพบว่าผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มานอนโรงพยาบาลนำถุงยาเดิมติดตัวมาด้วยทั้งหมด ร้อยละ64 ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั้งหมดที่มานอนโรงพยาบาล (มากกว่าเป้าหมายที่กำหนด)
จากการพัฒนาระบบการค้นหาปัญหาจากการใช้ยาจากการประเมินMedication reconciliation (ความสอดคล้อง ต่อเนื่องทางยา)ของผู้ป่วยนอนโรงพยาบาล พบว่าจำนวนความคลาดเคลื่อนทางยา ชนิด Prescribingerror ระดับ B-C ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่นอนโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนโดยที่ Prescribing error ระดับ D-I ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่นอนโรงพยาบาลเท่าเดิม(อุบัติการณ์ เท่ากับ 0 ครั้ง)


.
1.     ชื่อและที่อยู่องค์กร: ฝ่ายเภสัชกรรมโรงพยาบาลสามง่าม

2.     สมาชิกทีม: คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด(PTC) โรงพยาบาลสามง่าม
3.     เป้าหมาย:
-        ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่นอนโรงพยาบาล ที่นำถุงยาเดิมมาโรงพยาบาลทุกราย
-        สามารถค้นหาปัญหาจากการใช้ยาหรือความคลาดเคลื่อนทางยา ระดับ B-C มากขึ้น และระดับ D–I ลดลง

4.     ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ:
จากการเก็บข้อมูลยาเดิมของผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสามง่าม ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2555 – มกราคม 2557 พบว่ายาเดิมที่ผู้ป่วยเหลือใช้มากที่สุดคือ กลุ่มยาโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานสาเหตุที่อาจทำให้ผู้ป่วยมียาเดิมเหลือเป็นจำนวนมาก ได้แก่ 1. ผู้ป่วยลืมรับประทานยา2. แพทย์ปรับยาให้ใหม่โดยที่ยาเก่ายังคงอยู่ที่ผู้ป่วย 3. ผู้ป่วยมานอนโรงพยาบาลแล้วได้ยากลับไปซ้ำซ้อนกับยาเดิมที่บ้าน และ 4. ผู้ป่วยรับยาที่หลายที่ ยาซ้ำซ้อนซึ่งการมียาเหลือใช้อยู่ในบ้านของผู้ป่วย เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการใช้ยาที่ไม่ถูกต้องของผู้ป่วยนอกจากนี้อาจทำให้เกิดการรักษาที่ไม่ต่อเนื่องขาดการติดตามจากนัดเพราะผู้ป่วยมียาเดิมเหลืออยู่เป็นจำนวนมาก และถ้ายิ่งเก็บยาไม่ถูกวิธีจะกลายเป็นยาที่เสื่อมคุณภาพหรือหมดอายุ ยาที่มีคุณอนันต์ก็อาจทำให้เกิดโทษมหันต์ได้  โดยเฉพาะถ้ามีเด็กเล็กในบ้าน  ความเสี่ยงยิ่งทวีคูณ เพราะเด็กอาจจะนำยานั้นไปรับประทานโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
The Joint Commissionon Accreditation of Healthcare Organization (JCAHO) ได้กำหนดให้การทบทวนความสอดคล้องต่อเนื่องทางยาเป็นnational patient safety goal (8A&8B) ตั้งแต่ปี ค.ศ.2005 และในประเทศไทยสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลกำหนดให้กระบวนการทบทวนความสอดคล้องต่อเนื่องทางยา เป็นส่วนหนึ่งในการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล
กระบวนการ reconcile ก็จะช่วยลดความคลาดเคลื่อน(medication error) ในประเด็นต่างๆ ดังนี้
·                              การที่ผู้ป่วยไม่ได้รับยาที่เคยใช้อยู่อย่างต่อเนื่อง
·                              การที่ไม่ได้หยุดยาบางตัวก่อนเข้ารับการทำหัตถการบางอย่าง
·                              การที่ผู้ป่วยไม่ได้รับยาที่เคยใช้อยู่หลังจากหยุดใช้ยาชั่วคราว
·                              ผู้ป่วยได้รับยาซ้ำซ้อนเพราะไม่ทราบว่าแพทย์สั่งเปลี่ยนยาแล้ว
·                              การได้รับยาซ้ำซ้อนกับยาที่ผู้ป่วยซื้อกินเอง
ซึ่งจากข้อมูลรายงานความเสี่ยงความคลาดเคลื่อนทางยาของโรงพยาบาลสามง่ามพบว่าไม่มีรายงายอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนทางยา ชนิด Prescribing error ของผู้ป่วยนอนโรงพยาบาล นั่นอาจแสดงว่าไม่สามารถตรวจสอบความคลาดเคลื่อนได้ก่อนเกิดเหตุการณ์ความคลาดเคลื่อนหรือไม่มีความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นจริง
จากปัญหาที่พบในโรงพยาบาลฝ่ายเภสัชกรรมจึงต้องการพัฒนาระบบการค้นหาปัญหาจากการใช้ยา ด้วยการประเมิน Medicationreconciliation (ความสอดคล้องต่อเนื่องทางยา) เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาที่ครบถ้วนเหมาะสมและทีมสหวิชาชีพสามารถค้นหาปัญหาจากการใช้ยาได้ก่อนเกิดความคลาดเคลื่อนทางยา

5.     กิจกรรมการพัฒนา:
5.1    เน้นย้ำให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มารับบริการนำถุงยาเดิมติดตัวมาโรงพยาบาลทุกครั้งโดยเพิ่มแนวทางให้เภสัชกรที่จ่ายยาผู้ป่วย จะต้องแจ้งให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังนำยาเดิมมาโรงพยาบาลพร้อมบอกความสำคัญของยาเดิมและแจกเอกสารเตือนผู้ป่วยเรื่องยาเดิม
5.2    ผู้ป่วยโรคเรื้อรังแรกรับทุกรายจะต้องได้รับการประเมิน Medication reconciliation ภายใน 24ชั่วโมงหลังรับเข้าหอผู้ป่วย เพื่อค้นหาปัญหาจากการใช้ยาจากคำสั่งการใช้ยาแรกรับ โดย
-        ทุกบ่ายของวันทำการแต่ละวัน เภสัชจะประเมิน Medicationreconciliation ผู้ป่วยโรคเรื้อรังรายใหม่ จากข้อมูลการรักษาในระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลร่วมกับข้อมูลยาในถุงยาเดิมของผู้ป่วย
-        หากพบปัญหาการใช้ยาส่งปรึกษาแพทย์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอคำแนะนำและปรับเปลี่ยนการใช้ยา
-        เก็บข้อมูลความคลาดเคลื่อนทางยาเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาระบบงานต่อไป

6.     การวัดผลและผลการเปลี่ยนแปลง
6.1    จำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังนอนโรงพยาบาลแล้วนำถุงยาเดิมติดตัวมาโรงพยาบาลด้วยทุกราย
6.2    อุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนทางยาชนิด Prescribingerror ระดับ B-C มีจำนวนที่เพิ่มขึ้น
6.3    อุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนทางยาชนิด Prescribingerror ระดับ D-I มีจำนวนที่ลดลง

วิเคราะห์
A.     ร้อยละของจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มานอนโรงพยาบาลแล้วนำถุงยาเดิมติดตัวมาโรงพยาบาลด้วย
ผลการดำเนินการ
-        ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมานอนโรงพยาบาลทั้งหมด 59ราย มีจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่นำถุงยาเดิมติดตัวมาโรงพยาบาลด้วยทั้งหมด 38 ราย ทุกรายได้รับประเมิน  
-        จำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่ได้นำถุงเดิมยาติดตัวมาโรงพยาบาลด้วยทั้งหมด21 ราย ดังนั้นร้อยละของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มานอนโรงพยาบาล แล้วนำถุงยาเดิมติดตัวมาโรงพยาบาลด้วยคิดเป็น ร้อยละ 64 ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั้งหมดที่มานอนโรงพยาบาล
B.     อุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนทางยา ชนิด Prescribing error ระดับ B-C และ D-I
ผลการดำเนินการ
ตาราง 1   แสดงผลความคลาดเคลื่อนทางยา ชนิด Prescribing error ก่อนและหลังพัฒนาระบบการค้นหาปัญหาจากการใช้ยา จากการประเมินMedication reconciliation (ความสอดคล้อง ต่อเนื่องทางยา)

  
ผลการดำเนินการ
  
ก่อนดำเนินการ
  
หลังดำเนินการ
  
  
จำนวนอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนทางยา ระดับ B-C (ครั้ง/  เดือน)
  
0.58
11
  
จำนวนอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนทางยา ระดับ D-I (ครั้ง/  เดือน)
  
0
0

จากตาราง 1 พบว่า
-        ก่อนดำเนินการ พบอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนทางยาชนิด Prescribingerror ระดับ B-C และ D-I เท่ากับ 7 ครั้ง (เฉลี่ย 0.58 ครั้ง/ เดือน) และ 0ครั้ง (เฉลี่ย 0 ครั้ง/ เดือน) ตามลำดับ
-        หลังดำเนินการ พบอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนทางยาชนิด Prescribingerror ระดับ B-C และ D-I เท่ากับ 11 ครั้ง และ 0 ครั้ง ตามลำดับ

ตาราง 2   แสดงประเภทของความคลาดเคลื่อนทางยาที่เกิดจาก Prescribing error ก่อนและหลังพัฒนาระบบการค้นหาปัญหาจากการใช้ยา จากการประเมินMedication reconciliation (ความสอดคล้อง ต่อเนื่องทางยา)

  
ประเภทของความคลาดเคลื่อนทางยา
  
ก่อนดำเนินการ
  
หลังดำเนินการ
  
  
ผิดวิธีใช้ (ครั้ง)
  
2
3
  
ไม่ครบรายการ (ครั้ง)
  
3
3
  
ผิดความแรง (ครั้ง)
  
1
1
  
ไม่ครบจำนวน (ครั้ง)
  
1
0
  
ผิดรายการ (ครั้ง)
  
0
3
  
รายการยาซ้ำ (ครั้ง)
  
0
1
  
รวม (ครั้ง)
  
7
11

            จากตาราง 2 พบว่า
                                    ประเภทของอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนทางยาก่อนดำเนินการ คือ ผิดวิธีใช้ และ ไม่ครบรายการ ซึ่งหลังจากดำเนินการพบว่าประเภทของอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนทางยา ที่พบบ่อยก็ยังคงเป็นผิดวิธีใช้และ ไม่ครบรายการ เหมือนก่อนดำเนินการ แต่หลังดำเนินการสามารถค้นหาความคลาดเคลื่อนทางยาประเภทผิดรายการ ได้เพิ่มขึ้น

จากข้อมูลดังกล่าวจึงสามารถสรุปได้ว่า การพัฒนาระบบการค้นหาปัญหาจากการใช้ยา จากการประเมิน Medicationreconciliation (ความสอดคล้อง ต่อเนื่องทางยา)สามารถทำให้เกิดการค้นหาปัญหาจากการสั่งใช้ยา ชนิด Prescribing error ระดับ B-C ได้เพิ่มขึ้น และระดับ D-I ได้ลดลง (อุบัติการณ์ เท่ากับ 0 เท่าเดิม)

7.     บทเรียนที่ได้รับ
-        พัฒนาระบบการส่งต่อข้อมูลการรักษาของผู้ป่วยในแต่ละสถานพยาบาลเพื่อให้เกิดการส่งต่อข้อมูลการรักษาที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันมากที่สุด
-        พัฒนาให้ผู้ป่วยเกิดวัฒนธรรมการนำยาเดิมมาโรงพยาบาลทุกครั้งเพื่อลดความเสี่ยงจากการใช้ยา โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับการปรับเปลี่ยนรายการยา
-        พัฒนาระบบการค้นหาปัญหาจากการใช้ยาของตัวผู้ป่วยเพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนการปรับยาของแพทย์ที่ถูกต้อง (แผนต่อไป)

8.     การติดต่อกับทีมงาน
ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลสามง่ามอ.สามง่าม จ.พิจิตร

DOWNLOAS >> CQI_PTC_Medication recocillation.doc (79 KB, ดาวน์โหลดแล้ว: 401) CQI2559_(จ่ายยา)ระบบการจัดการด้านยา.pptx (139.81 KB, ดาวน์โหลดแล้ว: 399)
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้