ดู: 3747|ตอบกลับ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

CQI2559_พัฒนาระบบบริการคลินิก COPD

[คัดลอกลิงก์]

359

กระทู้

406

โพสต์

2325

เครดิต

ผู้ดูแลระบบ

Rank: 9Rank: 9Rank: 9

เครดิต
2325
CQI2559_พัฒนาระบบบริการคลินิก COPD


ผลงานการพัฒนาคุณภาพCQI
1.ชื่อผลงาน :  การพัฒนาระบบบริการคลินิกCOPD เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอสามง่าม
2.คำสำคัญ :    COPD
3.สรุปผลงานโดยย่อ
                การพัฒนาระบบบริการคลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (chronicobstructive pulmonary disease : COPD) ในเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอสามง่าม  เพื่อดูแลผู้ป่วยให้สามารถควบคุมอาการของโรคได้ ซึ่งทีมสหสาขาวิชาชีพได้จัดทำCPG  การดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(Gold Guildeline) ในเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอสามง่าม ,จัดบริการ Modifiled clinic COPD ที่ รพ.สต.,เพิ่มกรอบยาโรค COPDที่ รพ.สต., พัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ รพ.สต ในการดูแลผู้ป่วยCOPD , ร่วมเวทีประชุมเจ้าหน้าที่ชุมชน ชมรม อสม.  เพื่อให้ความรู้โรค  COPD, คืนข้อมูลและแลกเปลี่ยน  รับฟังข้อเสนอแนะจากชุมชนเพื่อร่วมกันวางแผนการดูแลผู้ป่วย COPD  โดยชุมชนมีส่วนร่วม  ,การส่งต่อและเชื่อมโยงข้อมูลในเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอสามง่าม จากผลการดำเนินการพบว่า  ผู้ป่วย COPD มีภาวะแทรกซ้อนลดลงและควบคุมอาการหอบกำเริบได้     
4. ชื่อผู้นำเสนอผลงาน: คลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง  โรงพยาบาลสามง่าม  จังหวัดพิจิตร
5.สมาชิกทีม :
1. นพ.มนทวัส วงษ์วานิช                 นายแพทย์ปฏิบัติการ   
2. ภญ.สมศรี  กรีพจน์                       เภสัชกรชำนาญการ
3. นางกชกร  ศิริไกรวัฒนาวงศ์       พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ   
4. นางลำเจียก  เทียมวิไล                  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ   
5.นางกัญญา สุรารักษ์                        พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ   
6. นางสาวอารีรัตน์เจริญคง             พยาบาลวิชาชีพ
7. นายมารุต  คงสน                           นักกายภาพ
8.นายณัฐพลขัติยะสุนทร                 นักกายภาพ
6.เป้าหมายและตัวชี้วัด
                เป้าหมาย เพื่อดูแลผู้ป่วยให้สามารถควบคุมอาการของโรคได้
                ตัวชี้วัด
                - ผู้ป่วย  COPD มารับบริการที่ ERด้วยภาวะ Acute exacerbation <  60  %
                - ผู้ป่วย COPDที่ Admit ด้วยภาวะ Acute exacerbation  < 30%
- ผู้ป่วย COPD ที่ Re-admit ด้วยภาวะ Acute exacerbation  ใน  28 วัน  < 15   %
                - ผู้ป่วย COPDที่เกิดภาวะ  Cardiac arrest   0 %
7.ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ
การดูแลโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(chronic obstructive pulmonary disease : COPD)  ที่ผ่านมา การให้
บริการคลินิก COPD และCPG  การดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(Gold Guildeline)    อีกทั้งกรอบยาโรค COPD   มีเฉพาะที่โรงพยาบาลสามง่าม   เจ้าหน้าที่ รพ.สต ขาดการฟื้นฟูวิชาการ  ซึ่งผู้ป่วย COPD ต้องมารับบริการที่โรงพยาบาลสามง่าม  อำเภอสามง่าม ประกอบด้วย 5 ตำบล 79 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากรจำนวน 42,956คน   จากการเก็บข้อมูลในเครือข่ายสุขภาพอำเภอสามง่าม มีผู้ป่วยCOPD จำนวน 167 คน เข้ามารับบริการคลินิก COPDที่โรงพยาบาลสามง่ามจำนวน 119 คน คิดเป็นร้อยละ 71.26  เป็นผู้สูงอายุจำนวน 90คน คิดเป็นร้อยละ 53.89ซึ่งไม่สะดวกในการเดินทาง อยู่กันตามลำพังไม่มีคนดูแล เสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางบางส่วนรับบริการที่ รพ.สต. เนื่องจากมีโรคร่วมอื่น  ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงบริการได้ครอบคลุมทั้งเครือข่ายและต่อเนื่องซึ่งมีผลทำให้อาการหอบกำเริบได้  ดังนั้นทีมสหวิชาชีพจึงได้พัฒนาระบบบริการโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(chronic obstructive pulmonarydisease : COPD) ในเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอสามง่าม  
8.กิจกรรมการพัฒนา
ปี2555
1.จัดตั้งคลินิก COPDClinic  17 สิงหาคม 2555
2.โทรนัดผู้ป่วยที่มา ER visit และที่มา Admission มาเข้าคลินิก
3.ให้บริการคลินิกCOPD แบบ One stop serviceทุกวันศุกร์ตอนเช้า โดยทีมสหวิชาชีพ แพทย์ 1 พยาบาล 1เภสัชกร 1 นักกายภาพ 1
-นักกายภาพ ช่วยประเมินเป่า PFER ,จับ SpO2 ประเมิน CAT score ,MMRC,6-MWD
แนะนำการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด
                                - พยาบาลลงทะเบียนซักประวัติ Appendix 2 ให้คำแนะนำรายกลุ่ม  ติดตามนัด
                                - เภสัชกรประเมินติดตามและแนะนำวิธีการใช้ยาทุกครั้งที่มารับบริการ
                               - แพทย์ตรวจรักษาตามแนวทางการดูแลผู้ป่วย COPD
                4.เพิ่มกรอบรายการยาในโรงพยาบาล   คือ
                   - กลุ่ม LABA+steroid  (seretide)
                   -  กลุ่ม Ipratropium bromide/ Fenoterol Hydrobromide (Berodual MDI)  
ปี2556
1.            ปรับวันให้บริการคลินิก COPD เป็นทุกวันพฤหัสบดีตอนเช้า เพิ่มพยาบาลในคลินิก 1 คน
2.            จัดงานปีใหม่ในคลินิก ได้รับของบริจาคสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก
3.            ปรับปรุงแบบประเมินผู้ป่วยเป็นแบบฉบับของโรงพยาบาลสามง่าม  
4.            เชื่อมโยงการดูแลผู้ป่วย โดยประสานผ่าน ทีม Home Health care ของรพ.สต เพื่อประเมินสภาพปัญหาที่แท้จริงของผู้ป่วย
                5.   จัดทำแผ่นให้ความรู้ในคลินิก COPD
ปี2557
                1. ปรับปรุง CPG การรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(Gold Guildeline)  
                2. เพิ่มกรอบยา  Seretide evohaler (25/125)  เนื่องจากคนไข้ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและมีปัญหาเรื่องการหายใจ และจะสูดได้ง่ายกว่า
                3. ค้นหาและวิเคราะห์ปัญหารายบุคคล
                4. แลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นรายกรณี  & รายกลุ่มโดยทีมสหวิชาชีพและผู้ป่วยที่เลิกบุหรี่ได้สำเร็จมาแนะนำถึงโทษและวิธีการเลิกบุหรี่ได้สำเร็จพร้อมทั้งบอกประโยชน์และสาธิตวิธีการบริหารปอดให้เพื่อนในกลุ่มฟัง (SelfHealth Group)
                5.แพทย์ประจำคลินิกรักษาตาม Gold Guideline  โดยปรับตามบริบทของคนไข้และสภาพแวดล้อม กรณี case ที่ควบคุมอาการไม่ได้จะส่งต่อรพ.พิจิตร
                6.ประสานรพ.สต.ร่วมจัดทำConference case, Home visit และ Discharge Plan และ  มีรถรับส่งผู้ป่วยจาก อปท.
                7. นวัตกรรม เช่น แจกตะเกียบวายุเพื่อบริหารปอดที่บ้าน,ห่วงใยแจกเบอร์โทร(สติกเกอร์เบอร์โทรฉุกเฉิน), แจกถุงผ้าเพื่อใส่ยาเดิมมาโรงพยาบาล
                8. จิตอาสา “เพื่อนช่วยเพื่อน-    Buddy เดินทางโดยการให้รับเพื่อนที่อยู่ทางเดียวกันมาด้วยกัน
                9. รับรางวัล Bestpractice COPD จาก สปสช เขต 3 เรื่องพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยเมื่อ 19 มีนาคม 2557
ปี2558
                1.เภสัชกรปรับปรุงแบบการประเมินการใช้ยาในคลินิกเพื่อประเมินให้เป็นแนวทางเดียวกัน
                2.จัดทีม  Rapid Response  after Admission  เยี่ยม case admit โดย  พยาบาลเภสัชกรและนักกายภาพ เพื่อเชื่อมโยงปัญหาและวางแผนการดูแลโดยทีมสหวิชาชีพบันทึกปัญหาและการดูแลที่ Progress note
                3.หาทุนสนับสนุนบริจาค maskผ้า ให้ผู้ป่วยไว้พกติดตัว
ปี2559
1.เพิ่มนักกายภาพในคลินิก  COPD   1 คน
2.จัดทำ CPG  การดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(Gold Guildeline) ในเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอสามง่าม
3.พัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่รพ.สต,ทักษะการใช้ยา, การออกกำลังกายเพิ่มสมรรถภาพปอดและการบริหารปอด,การเป่า Peak folw
4. ส่งต่อและเชื่อมโยงข้อมูลในเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอ
                5.เพิ่มกรอบยาโรค COPD ไปใช้ในวันออก  รพ.สต.เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยาและสะดวกในการเดินทาง
                6. จัดบริการ Modifiled clinicCOPD  ที่ รพ.สต.        
7.  COPD Clinic  โรงพยาบาลสามง่าม ให้บริการแบบ One stopservice ทุกเช้าวันพฤหัส โดยทีมสหวิชาชีพ ผู้ป่วยที่ uncontrol,ER visit,Admit จะนัดเข้าคลินิกที่ รพ.สามง่ามเมื่อควบคุมอาการได้จะส่งกลับ รพ.สต.ใกล้บ้าน
8. line+mail Group  COPD เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอสามง่ามเพื่อประสานและส่งข้อมูลการดูแลต่อเนื่อง
9.จัดทำไวนิลการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังติดไว้ในชุมชน
10.ส่งข้อมูลการเยี่ยมบ้านผ่านระบบCOC ให้ รพ.สต. เพื่อติดตาม และดูแลต่อเนื่อง
11.ร่วมเวทีประชุมเจ้าหน้าที่ชุมชนชมรม อสม.  เพื่อให้ความรู้โรค  COPD, คืนข้อมูลและแลกเปลี่ยน  รับฟังข้อเสนอแนะจากชุมชนเพื่อร่วมกันวางแผนการดูแลผู้ป่วย COPD  โดยชุมชนมีส่วนร่วม
12.ส่งผู้ป่วย COPD รับยา รพ.สต.ใกล้บ้าน
9.การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง
  
ตัวชี้วัด
  
เป้าหมาย
ปี 2556
ปี 2557
ปี 2558
ปี2559  (9เดือน)
ผู้ป่วย   COPD  มารับบริการที่ ER ด้วยภาวะ Acute exacerbation   
  
<  60  %
  
37.27
79.05
94.44
35.93
ผู้ป่วย COPD ที่ Admit ด้วยภาวะ Acute exacerbation
  
< 30%
22.73
51.43
29.63
16.77
ผู้ป่วย COPD ที่ Re-admit ด้วยภาวะ Acute exacerbation  
  
ใน  28วัน  
<  15  %
36
22.22
0
7.14
ผู้ป่วย COPD ที่เกิดภาวะ  Cardiac  arrest   
0 %
0
1.90
0
0.60
               
ผู้ป่วย COPD ที่Re-admit ด้วยภาวะ Acuteexacerbation  ใน  28 วัน <  15  %    ปี 2556,2557,2558  คิดเป็น  36 %,22.22 %  และ 0% ตามลำดับ ปี 2559มีแนวโน้มสูงขึ้น แต่ไม่เกินเป้าหมาย คิดเป็น 7.14 %
ผู้ป่วยCOPD ที่เกิดภาวะ  Cardiac arrest  ปี 2556,2557,2558  คิดเป็น  0 %, 1.90 %  และ 0% ตามลำดับ ปี 2559เกินเป้าหมาย คิดเป็น 0.60 % ซึ่งคลินิกCOPD ทำ RCA พบว่าผู้ป่วย COPD ที่ Re-admit , และเกิดภาวะ  Cardiac arrest  เป็นผู้ป่วยรายเดียวกันจำนวน1  รายซึ่งมีพยาธิสภาพเดิมและมีโรคร่วม  
10.บทเรียนที่ได้รับ
                1. การสนับสนุนของผู้บริหาร ทั้งในด้านคน เงิน ของและการพัฒนาศักยภาพด้านวิชาการ ทำให้ทีมได้มีความรู้  และมีขวัญกำลังใจในการพัฒนาระบบบริการให้ดียิ่งขึ้น
2.การจัดระบบบริการโดยใช้ทีมสหวิชาชีพในเครือข่ายและชุมชนมีส่วนร่วม  การประสานงานที่ดีมีช่องทางการสื่อสารที่รวดเร็ว ทำให้ผู้ป่วย  COPD  ลดอาการหอบกำเริบ และภาวะแทรกซ้อน
3. การเก็บข้อมูลและประเมินผลเป็นระยะ ทำให้การพัฒนาระบบบริการได้ต่อเนื่องและครอบคลุม
4. การช่วยเหลือและร่วมกันพัฒนาในการทำงานของทีมสหวิชาชีพทำให้ระบบบริการในคลินิกและการพัฒนาการดูแลในภาพเครือข่ายมีประสิทธิภาพมากขึ้น
11.สิ่งที่อยากพัฒนาต่อ
                1.ค้นหากลุ่มเสี่ยงCOPDและผู้ป่วยรายใหม่ เพื่อป้องกัน ชะลอการดำเนินของโรคโดยตำบลต้นแบบเพื่อนำร่อง ต.หนองโสน ร่วมกับโครงการลดละเลิกบุหรี่ในชุมชนของตำบลหนองโสน
                2.นักกายภาพจัดทำโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดให้กับผู้ป่วยแต่ละคน
                3.ประเมินผลการดูแลผู้ป่วยCOPD เปรียบเทียบระหว่างในคลินิกโรงพยาบาลและ Modifiledclinic ที่ รพ.สต.เพื่อทบทวนและวางแผนการดูแลผู้ป่วยได้ครอบคลุมตามมาตรฐาน
12. การติดต่อกับทีมงาน
               คลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลสามง่าม จังหวัดพิจิตร  เลขที่ 104 หมู่ 5 ตำบลสามง่าม อำเภอสามง่ามจังหวัดพิจิตร 66140 โทรศัพท์ 056-691239-209 Fax : 256-691239-105
13.หลักฐานเชิงประจักษ์  :  CPG  การรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (GoldGuildeline) ในเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอสามง่าม,ข้อมูลจาก Hos-xp
DOWNLOAD >>
    CQI2559_พัฒนาระบบบริการคลินิก COPD.doc (80.5 KB, ดาวน์โหลดแล้ว: 1338)
    CQI2559_พัฒนาระบบบริการคลินิก COPD.pptx (836.3 KB, ดาวน์โหลดแล้ว: 723)

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้