CQI2559_ระบบการแพทย์ฉุกเฉินEMS
การพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ชื่อผลงาน/โครงการพัฒนา : การพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน คำสำคัญ : ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน(EMS :Emergency Medical system) : หน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น( FR:First responder ) : หน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินระดับสูง(ALS :Advanced life support) สรุปผลงานโดยย่อ : อำเภอสามง่าม จ.พิจิตรได้ให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน( EMS :Emergency Medical system )โดยให้บริการผ่านหมายเลขโทรศัพท์1669 และมีพื้นที่รับผิดชอบ 5 ตำบลในปี 2557 มีหน่วยปฏิบัติการขึ้นทะเบียน 4หน่วย ได้แก่ หน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น (FR : Firstresponder )ต.เนินปอ ต .สามง่าม ต.กำแพงดิน และหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินระดับสูง (ALS:Advanced life support) รพ. สามง่าม แต่มีการปฏิบัติงานจริงเพียง 2หน่วย ได้แก่ FR ต.เนินปอ และALS รพ. สามง่าม ผู้ป่วยเร่งด่วนฉุกเฉินวิกฤต(สีแดงสีเหลือง)ที่มาด้วยระบบการแพทย์ฉุกเฉินโดยแจ้งผ่าน 1669 เท่ากับ 5.46% ผู้ป่วยเร่งด่วนฉุกเฉินวิกฤต(สีแดงสีเหลือง)ได้รับการดูแลภายใน 10 นาที ( response time) เท่ากับ 38.42% การให้บริการของFR เนินปอปี2557 การให้บริการของ ALSรพ.สามง่ามปี2557 ในแต่ละตำบล | | | | ชื่อและที่อยู่ขององค์กร : งานอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลสามง่าม สมาชิกทีม : นางขวัญจิต พฤกษะวัน ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ นางณัฐณิชา เมฆฉาย ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ นางกัญญา ศรีวิเศษ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ นางเฉลิมพร บุสดี ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ นางชมนาด อินหัน ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ นางพิชชานันท์ แพรขาว ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ นางสาวจิราวรรณ นิ่มพันธ์ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ นางสาวสุพัตรา แถมต้าน ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ นางสาวทิพย์วิมล สังข์เมือง ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ นางสาวจุฑามาศ เกี้ยวสันเทียะ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ นายวทัญญู ดอนเนตร์ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ นางสาวอาทิตนันท์ สมิงนิล ตำแหน่งเจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ | | | เป้าหมาย 1. ร้อยละผู้ป่วยเร่งด่วนฉุกเฉินวิกฤต(สีแดง สีเหลือง)ได้รับการดูแลภายใน 10 นาที ( response time =ระยะเวลาตั้งแต่ศูนย์สั่งการจนถึงจุดเกิดเหตุ)มากกว่าร้อยละ 70 2. ร้อยละผู้ป่วยเร่งด่วนฉุกเฉินวิกฤต(สีแดง สีเหลือง)ที่มาด้วยระบบการแพทย์ฉุกเฉินโดยแจ้งผ่าน 1669เพิ่มขึ้นร้อยละ10 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา 3. จำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งมีผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตในเขตท้องถิ่นนั้นได้รับปฏิบัติการฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาลมากกว่าร้อยละ 75 | |
ปัญหาและสาเหตุ 1. มีหน่วยปฏิบัติการไม่ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 5 ตำบล - ขาด ต.รังนกและ ต.หนองโสน 2. มีหน่วยที่ขึ้นทะเบียนแต่ไม่ได้ออกปฏิบัติการ2 หน่วย - ต . สามง่าม เนื่องจากปัญหาการจ่ายค่าตอบแทน /กู้ชีพลาออก - ต.กำแพงดิน เนื่องจากรถเกิดอุบัติเหตุอยู่ระหว่างการซ่อมแซม 3. การประชาสัมพันธ์ 1669ไม่ทั่วถึงประชาชนส่วนใหญ่ไม่รู้จัก 1669 4. ระยะทางในการให้บริการในพื้นที่ห่างไกลทำให้ล่าช้า
กิจกรรมพัฒนา 1. ประสานผู้รับผิดชอบงานการแพทย์ฉุกเฉินระดับจังหวัดเพื่อรวบรวมข้อมูลการบริการ หน่วยปฏิบัติการ จำนวนFR ที่ขึ้นทะเบียนในอำเภอสามง่าม 2. คืนข้อมูลการบริการระบบการแพทย์ฉุกเฉินในการประชุมคณะกรรมการสุขภาพระดับอำเภอผลักดันให้งานบริการการแพทย์ฉุกเฉินเข้าสู่ประเด็นหลักสุขภาพในการพัฒนาของอำเภอสามง่าม 3. ประสานหัวหน้ากองสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอสามง่ามเพื่อขอพบปะพูดคุยให้การช่วยเหลือ สนับสนุนโดยทีมผู้ประสานงานการแพทย์ฉุกเฉินจากสสจ.พิจิตร,รพ.พิจิตร และรพ.สามง่าม) 4. ติดป้ายประชาสัมพันธ์ การเรียกใช้บริการ1669 (เจ็บป่วยฉุกเฉินโทรฟรี)ทุกรพสต. ร้านค้าแหล่งชุมชน 5. จัดอบรม FR หลักสูตร24 ชั่วโมงให้แก่ FR สามง่ามและFR รังนก ในเดือนพฤษภาคม 2558 ที่เทศบาลสามง่าม มีผู้รับการอบรม 30 คน ผลการพัฒนาปี2558 1. ผู้ป่วยเร่งด่วนฉุกเฉินวิกฤต(สีแดงสีเหลือง)ที่มาด้วยระบบการแพทย์ฉุกเฉินโดยแจ้งผ่าน 1669 เท่ากับ 6.64% 2. ผู้ป่วยเร่งด่วนฉุกเฉินวิกฤต(สีแดงสีเหลือง)ได้รับการดูแลภายใน 10 นาที ( response time)เท่ากับ 51.08% 3. มี FR ให้บริการ 2 หน่วย (FRเนินปอ/ FRสามง่าม)
การให้บริการของFR การให้บริการของ ALSรพ.สามง่ามในแต่ละตำบล ปัญหาและสาเหตุ 1. หน่วยปฏิบัติการยังขาดต.หนองโสน 2. หน่วยที่ขึ้นทะเบียนแต่ไม่ได้ออกปฏิบัติการได้แก่ ต.กำแพงดิน FR ลาออกวิทยุเสียหาย 3. FR รังนกรอขึ้นทะเบียนใหม่ยังไม่ได้เลขออกปฏิบัติการ 4.การประชาสัมพันธ์ 1669ไม่ทั่วถึง ประชาชนไม่รู้จัก 1669
กิจกรรมพัฒนา 1. คืนข้อมูลการให้บริการ ความไม่ครอบคลุม ความรุนแรงให้แก่กลุ่มแกนนำและประชาชนในเวทีสมัชชาสุขภาพอำเภอ ผลักดันให้อปทต. รังนก/ต.หนองโสน และ ต.กำแพงดินเข้าร่วมในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินอำเภอสามง่าม 2. ประสานEMSจากสสจ.พิจิตรติดตามเรื่องการขึ้นทะเบียนใหม่ 3. ติดป้ายประชาสัมพันธ์ การเรียกใช้บริการ1669(เจ็บป่วยฉุกเฉินโทรฟรี) ให้มากขึ้นทุกรพสต. ร้านค้าแหล่งชุมชน วัด โรงเรียนที่ทำการหมู่บ้าน อบต. เทศบาลทุกแห่ง ถนนสายรองชนบท 4. อบรมอาสาฉุกเฉินชุมชน แก่นักเรียนมัธยมครูประถมในเรื่องการใช้1669 การปฐมพยาบาลและช่วยฟื้นคืนชีพ 5. อบรม FR หลักสูตร40ชั่วโมงให้แก่ FRหนองโสนในเดือนพฤษภาคม 2559 มีผู้รับการอบรม 16 คน 6. อบรมฟื้นฟู FR หลักสูตร24ชั่วโมงให้แก่FR กำแพงดินในเดือนสิงหาคม 2559 มีผู้รับการอบรม 20 คน ผลการพัฒนาปี2559 1. ผู้ป่วยเร่งด่วนฉุกเฉินวิกฤต(สีแดงสีเหลือง)ที่มาด้วยระบบการแพทย์ฉุกเฉินโดยแจ้งผ่าน 1669 เท่ากับ 7.54% 2. ผู้ป่วยเร่งด่วนฉุกเฉินวิกฤต(สีแดงสีเหลือง)ได้รับการดูแลภายใน 10 นาที ( response time)เท่ากับ 75.75% 3. มี FR ให้บริการ 3 หน่วย (FRเนินปอ/ FRสามง่ามFRรังนก)
การให้บริการของFR การให้บริการของ ALSรพ.สามง่ามในแต่ละตำบล บทเรียนที่ได้รับ 1. การที่จะให้อปท.เห็นความสำคัญในการจัดตั้งหน่วยFR ได้นั้นต้องให้ประชาชนเป็นตัวขับเคลื่อน โดยการคืนข้อมูลให้ประชาชนในพื้นที่นั้นๆรับรู้และผลักดัน 2. เบอร์โทร 1669ในพื้นที่รอยต่อระหว่างจังหวัดใช้การไม่ได้ เช่นเขตมาบกระเปาโทร 1669ไปติดที่ศูนย์สั่งการ จ.กำแพงเพชรต้องใช้โทรประสานกับหน่วยปฏิบัติการโดยตรงและให้หน่วยนั้นๆแจ้ง1669อีกครั้ง 3. ปัญหาเรื่องการเบิกจ่ายค่าตอบแทนFR เป็นเรื่องการบริหารจัดการคนและงบประมาณภายในอปท. 4. สัมพันธภาพที่ดี การมีน้ำใจ ช่วยเหลือกัน จะช่วยให้เกิดการร่วมแรงร่วมใจในการทำงานร่วมกันของหน่วยปฏิบัติการทุกระดับ แผนพัฒนาต่อไป 1. ฟื้นฟูองค์ความรู้และทักษะแก่เจ้าหน้าที่ในเครือข่ายบริการในเรื่องสาธารณภัยปีละ 1 ครั้ง 2. ผลักดันให้FR หนองโสนและกำแพงดินออกปฏิบัติการ ในปี 2560 5. ฟื้นฟูองค์ความรู้และทักษะแก่FRปีละ1 ครั้ง 6. จัดเก็บข้อมูล สรุปผลการปฏิบัติงาน คืนข้อมูลที่สำคัญให้ผู้บริหารทุกหน่วยทุกเดือน การติดต่อทีมงาน งานอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลสามง่าม จังหวัดพิจิตร เบอร์โทรศัพท์ 056 -691239 ต่อ 203-204
|