รพ.สามง่าม

ชื่อกระทู้: CQI2559_(รพ.สต.เนินปอ)การประยุกต์ใช้การแพทย์แผนไทยในการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต [สั่งพิมพ์]

โดย: admin    เวลา: 2018-2-13 09:44
ชื่อกระทู้: CQI2559_(รพ.สต.เนินปอ)การประยุกต์ใช้การแพทย์แผนไทยในการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต

1.ชื่อผลงาน:การประยุกต์ใช้การแพทย์แผนไทยในการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาต
2.คำสำคัญ ;การแพทย์แผนไทย;ผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาต
3.ความสำคัญ     โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
          ความสอดคล้องกับภารกิจรพ.สต. 5 ด้าน สร้างเสริมสุขภาพ ควบคุมป้องกันโรค รักษาโรค ฟื้นฟูสภาพ คุ้มครองผู้บริโภคเน้นการบริการเชิงรุก ทั้งนี้ รพ.สต. ไม่มีเตียงรองรับเพียงพอไม่มีเตียงนอนค้างคืน (ไม่มี IPD) จึงปรับเปลี่ยนบริการเป็น คลินิกบริการที่บ้าน(Home-based care) โดยมองบ้านเป็นส่วนหนึ่งของ คลินิก ของรพ.สต.
4.ประเด็นสำคัญ:
ผู้สูงวัย การป่วยด้วยอัมพาต
          -อัตราป่วยผู้ป่วยสูงวัยกลุ่มอัมพาต : ร้อยละ 0.47  แนวโน้มเพิ่มขึ้น
          -ต้องได้รับการฟื้นฟูต่อเนื่อง
          -การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยกระทำได้ยาก ขยับเขยื้อน เคลื่อนไหว ลำบาก เป็นภาระการดูแล
          -ปล่อยไว้นาน เกิดภาวะแทรกซ้อน และผู้ป่วยจะขาดการดูแล
5.วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษารูปแบบการดูแลรักษาผู้ป่วยสูงวัยด้วยการแพทย์แผนไทย
2.  เพื่อพัฒนาระบบการจัดการกระบวนการดูแลรักษาผู้ป่วยสูงวัยที่ป่วยเป็นโรคอัมพาตโดยผู้ดูแลที่บ้าน(Home-based care)
6.พื้นที่ดำเนินงาน ระยะเวลาการดำเนินงาน :
          เขตรับผิดชอบ 9 หมู่ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเนินปอ
7.กลุ่มเป้าหมาย
                   : ประชากร ผู้ป่วยสูงวัยกลุ่มอัมพาต ที่ได้รับการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง(Purposive Sampling)
                   -กลุ่มผู้ป่วยสูงวัยอัมพาต ที่อาสาสมัครเข้าร่วมกิจกรรม  โดยความสมัครใจผู้สูงวัยที่สามารถพูดคุยสื่อสารกับผู้วิจัยได้ ญาติพร้อมที่จะเข้าร่วม การเลือกเป็นการเลือกแบบเจาะจง
                   -กลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยสูงวัยกลุ่มตัวอย่าง
เกณฑ์การคัดเลือกผู้ยินยอมให้ทำการวิจัย (Criteria)
          1. ผู้สูงวัย อายุ 50 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลเนินปอ อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร
          2. มีอาการป่วย ด้วยโรคอัมพาตครึ่งซีกโดยเกิดจากความผิดปกติของการไหลเวียนเลือด ลมเพราะเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีโอกาสเห็นผลการเปลี่ยนแปลงที่เร็วกว่าภายในระยะเวลาการวิจัยที่จำกัด  โอกาสในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยง่ายกว่า
          3. มีผู้ดูแลประจำ (ตลอดเวลา) อย่างน้อย 1 คนและพร้อม ร่วมกิจกรรมการดูแลบำบัด
          4.โดยได้รับความยินยอมแบบอาสาสมัครหรือสมัครใจเข้าร่วมโครงการวิจัยทั้งจากตัวผู้ป่วย และญาติ  
8.ตัวชี้วัด
1กลุ่มผู้ป่วยสูงวัยอัมพาตที่อาสาสมัครเข้าร่วมกิจกรรม การแพทย์แผนไทยในการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาตมีการเปลี่ยนแปลงอาการร่วมดีขึ้น ร้อยละ 50(จากแบบประเมินก่อนและหลังการเข้ารับบริการการดูแลผู้ป่วยสูงวัยโรคอัมพาต ที่นอนพักรักษาที่บ้าน)
9.วิธีการดำเนินงาน
            -การศึกษาจากการปฏิบัติงานประจำสู่การทำวิจัย (Routine to Research : R2R)โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการ(Operation Research)และการวิจัยประเมินผล (Evaluation Research)
            -เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
               -แบบสัมภาษณ์  แบ่งเป็น2 ส่วน ได้แก่
                      ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
                      ส่วนที่ 2 ประเมินภาวะสุขภาพและการดูแลบำบัด
                -  แบบบันทึกผู้ป่วย (OPD Card)
                -  แบบประเมินก่อนและหลังการเข้ารับบริการการดูแลผู้ป่วยสูงวัยโรคอัมพาต ที่นอนพักรักษาทบ้าน
            -ขั้นตอนและวิธีการศึกษา
                  การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (OperationResearch)
                1. สำรวจและกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยความสมัครใจของผู้ป่วยสูงวัย และญาติ
                2. ศึกษาข้อมูลรายบุคคลของอาสาสมัครกลุ่มตัวอย่าง
                3. วิเคราะห์ปัญหาสุขภาพกลุ่มตัวอย่างอาสาสมัครเพื่อจัดโปรแกรมการดูแลสุขภาพเฉพาะรายที่เหมาะสม
                4. สร้างหลักสูตรการอบรมผู้ดูแลผู้ป่วยสูงวัยโรคอัมพาต การวิจัยเชิงปฏิบัติการ(Operation Research)
                5. ทำตารางเยี่ยมอย่างสม่ำเสมอจัดโปรแกรมที่จะไปตรวจรักษา ที่บ้านโดยกำหนดการออกให้บริการ 3 ครั้งต่อสัปดาห์
                6. ฝึกทักษะผู้ดูแลผู้สูงวัยโดยการอบรมและเรียนรู้ร่วมกันจากการปฏิบัติจริง (Training & Learningby doing)
                7. จัดโปรแกรมบำบัดรักษาปัญหาสุขภาพที่เหมาะสมกับอาสาสมัครกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นการจัดบริการของ รพ.สต.ตำบลเนินปอ
            -การวิจัยประเมินผล (Evaluation Research)   
                 1. ประชุมทีมฯ รพ.สต. ทุก 1-2 สัปดาห์ เพื่อประเมินการทำงานและปัญหาอุปสรรค
                2. ประเมินผลการเข้าร่วมโปรแกรมก่อน-หลัง เข้าร่วมกระบวนการดูแลทุก 2 สัปดาห์ จนครบ  20 - 22 สัปดาห์  ประเมินความพึงพอใจ
            -การประยุกต์ใช้การแพทย์แผนไทยในการดูแลผู้ป่วยอัมพาต
                พิจารณาจาก         1.ง่ายกว่า
                                        2.ดีกว่า
                                         3.ถูกกว่า
            -การประยุกต์ใช้การแพทย์แผนไทยในการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน
            -แนวคิดการดูแลรักษาผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตบนพื้นฐานHome - based Care
                1.ระบบรากฐานทางสังคมวัฒนธรรมไทย
                2.ระบบศาสนา
                3.ระบบภาครัฐให้การดูแล
            
            -เกณฑ์การคัดเลือกผู้ป่วยเข้ารับการบำบัด
                1. กลุ่มผู้ป่วยอัมพาตที่มีความเชื่อมั่นและศรัทธาการรักษาด้วยการแพทย์แผนไทยที่อาสาสมัครเข้าร่วมกิจกรรมโดยความสมัครใจสามารถพูดคุยสื่อสารได้พอสมควร ญาติพร้อมที่จะเข้าร่วม
                2. กลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยสูงวัย
                 3. มีอาการหรือสภาวะความเจ็บป่วยด้วยโรคอัมพาตโดยเกิดจากความผิดปกติของการไหลเวียนเลือดลมจะเห็นผลง่ายกว่า
                4.มีผู้ดูแลประจำ (ตลอดเวลา) อย่างน้อย 1 คนและพร้อมร่วมกิจกรรมการดูแลบำบัดให้ความร่วมมือด้านอื่นๆที่จะส่งเสริมให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น
            -Model development for Home-based Care

-กระบวนการขับเคลื่อน
-ระบบบริหารจัดการ
-การพัฒนาหลักสูตร
  
วัน
  
รายวิชา
เนื้อหา
จำนวนชั่วโมง  
  
วันที่ 1
  
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคอัมพาต  
สาเหตุการเกิดโรค  อาการ การรักษา การดูแลบำบัด
2
ภาวะแทรกซ้อน  และการป้องกัน
แผลกดทับ  การเปลี่ยนแปลงของข้อต่อต่างๆ (ข้อหลุด ข้อติด)  การเปลี่ยนแปลงของระบบกล้ามเนื้อ  
  
(ลีบ แข็ง  เกร็ง กระตุก) ภาวะแทรกซ้อนตามชนิดโรคของผู้ป่วย
2
  
  
  
การดูแลสุขภาพจิต  
สาเหตุและการป้องกันความเครียดจากสภาวะโรค  ความหึงหวง การป้องกันการฆ่าตัวตาย แนวทางการให้กำลังใจ
2
  
  
  
อาหารบำบัดโรค  
การเลือกอาหารสมุนไพร  งดอาหารแสลง อาหารเฉพาะโรค เช่น อาหารควบคุมโซเดียม ควบคุมน้ำตาล
2
  
วัน
  
รายวิชา
เนื้อหา
จำนวนชั่วโมง
  
วันที่  2  
  
การดูแลการทำกิจวัตรประจำวัน
การกิน การชำระล้างร่างกาย การขับถ่าย  การพักผ่อน
2  
  
   
  
การใช้ยาสมุนไพรอย่างปลอดภัย
สมุนไพรเฉพาะโรค  การเลือกใช้ยาสมุนไพรให้ปลอดภัย การเฝ้าระวังสมุนไพรผสมสารต้องห้าม
2  
  
   
  
การประดิษฐ์อุปกรณ์ช่วยฟื้นฟู
การประดิษฐ์อุปกรณ์ช่วยฟื้นฟูที่เหมาะสม  ด้วยวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น และลงทุนต่ำ
2  
  
   
  
การบริหารร่างกายเพื่อการฟื้นฟู
การบริหารกล้ามเนื้อ การบริหารข้อต่อ  โดยใช้อุปกรณ์ และไม่ใช้อุปกรณ์
2  
  
วัน
  
รายวิชา
เนื้อหา
จำนวนชั่วโมง
  
วันที่  3  
  
การจัดสิ่งแวดล้อม  
หลักการและวิธีการจัดสิ่งแวดล้อมให้มีความสะอาด  ความปลอดภัย ต่อผู้ป่วย เอื้อต่อการฟื้นฟูทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ
2  
  
   
  
การนวดกระตุ้นกล้ามเนื้อ  
การนวดในท่านอนหงาย  การนวดกระตุ้นกล้ามเนื้อ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ดูแลกับผู้ป่วย
2  
  
   
  
การนวดกระตุ้นกล้ามเนื้อ  
การนวดในท่านอนหงาย  การนวดกระตุ้นกล้ามเนื้อ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ดูแลกับผู้ป่วย
2  
  
   
  
การนวดกระตุ้นกล้ามเนื้อ  
การนวดในท่านอนตะแครง  การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ดูแลกับผู้ป่วย
2  
  
วันที่  4  
  
การนวดกระตุ้นกล้ามเนื้อ  
ฝึกปฏิบัติ  
8  
10.ผลลัพธ์ตามตัวชี้วัด
-การเปรียบเทียบรูปแบบการดูแลรักษาผู้ป่วยอัมพาต
  
รูปแบบ
  
ก่อน
สรุปผล
หลัง
สรุปผล
  
อสม. ประจำละแวก
  
มี
ผู้ป่วยไม่ได้รับการวัดความดันฯ ขณะต้องไปรับยา ที่ รพ.สต.  ส่งผลทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการปรับยาหากคุมความดันไม่ได้
มี เพิ่มการดูแลผู้ป่วย Home - based Care
- ช่วยป้อนข้าว ป้อนน้ำ เวลาญาติไม่อยู่
  
- มีการเปลี่ยนแปลง เช่น การรับยาแทน  จะมีการวัดความดันฯ ไปให้เจ้าหน้าที่
  
สาธารณสุข
สิ่งแวดล้อม
ตามสภาพ  
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การนอนที่นอนแข็ง นอนกับพื้น  ความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้าน
จัดการปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ตามบริบทของผู้ป่วยแต่ละราย
- ปรับปรุงเรื่องเตียง
  
- ที่นอน
  
- บริเวณในการฝึกเดิน
  
- การจัดระเบียบภายในบ้าน
  
- พื้นที่การขับถ่าย
-ติดตามประเมินผล
เตียง1-0201601  ผู้ป่วยเพศหญิง  อายุ 53 ปี  ผู้ดูแลประจำ คือ สามีและบุตร  ระยะเวลาที่ป่วย 1 ปี
แบบประเมินหลังการเข้ารับบริการ  การดูแลผู้ป่วยสูงวัยที่นอนพักรักษาที่บ้าน  กรณีศึกษาผู้สูงวัยในกลุ่มผู้ป่วยอัมพาต
  
ชื่อ ผู้ป่วย
  
  
วัน เดือน ปี  ประเมิน       8  กันยายน   2559
  
  
รายการประเมิน
  
  
1. อาการเกร็ง, ตึง,  กระตุก, ชา, ตะคริว
  
  
  
  
มี
  
  
X
  
  
ไม่มี
  
  
2. การใช้มือ (ตักข้าว,  หยิบจับของ)
  
  
  
  
ไม่ได้
  
  
X
  
  
ได้
  
  
3. การนั่ง (ทรงตัว)
  
  
  
  
ไม่ได้
  
  
X
  
  
ได้
  
  
4.  การเคลื่อนที่ในท่านั่ง แนวราบ
  
  
  
  
ไม่ได้
  
  
X
  
  
ได้
  
  
5.  การเคลื่อนที่ในท่านั่ง แนวดิ่ง
  
  
  
  
ไม่ได้
  
  
X
  
  
ได้
  
  
    เช่น การขยับลงบันได
  
  
  
  
  
  
6. การทรงตัวในท่ายืน
  
  
  
  
ไม่ได้
  
  
  
  
ได้ โดยมีผู้ช่วยเหลือ
  
  
X
  
  
ได้เอง
  
  
7. การพูด
  
  
  
  
ไม่ได้/ไม่ชัด
  
  
  
  
ชัด 2-3 พยางค์
  
  
X
  
  
เป็นประโยค
  
  
8. ลักษณะการเดิน
  
  
  
  
ไม่ได้
  
  
  
  
ได้ (เดินลากเท้า)
  
  
X
  
  
ได้ (เดินยกเท้า)
  
  
9. ระยะทางการเดิน  ต่อวัน
  
  
  
  
ไม่ได้
  
  
  
  
ได้น้อยกว่า 5 เมตร
  
  
X
  
  
ได้มากกว่า 5 เมตร
  
-ติดตามประเมินผล
รายการประเมิน
เตียงที่ 1
เตียงที่ 2
เตียงที่ 3
เตียงที่ 4
เตียงที่ 5
  
1. อาการเกร็ง, ตึง, กระตุก,  ชา, ตะคริว
  
  
/
  
  
/
  
  
/
  
  
/
  
  
/
  
  
2. การใช้มือ (ตักข้าว, หยิบจับของ)
  
  
/
  
  
/
  
  
/
  
  
/
  
  
/
  
  
3. การนั่ง (ทรงตัว)
  
  
X
  
  
X
  
  
X
  
  
X
  
  
/
  
  
4. การเคลื่อนที่ในท่านั่ง แนวราบ
  
  
X
  
  
X
  
  
X
  
  
X
  
  
/
  
  
5. การเคลื่อนที่ในท่านั่ง แนวดิ่ง
  
  
/
  
  
/
  
  
X
  
  
X
  
  
/
  
  
    เช่น  การขยับลงบันได
  
  
6. การทรงตัวในท่ายืน
  
  
/
  
  
/
  
  
X
  
  
X
  
  
/
  
  
7. การพูด
  
  
/
  
  
/
  
  
X
  
  
/
  
  
/
  
  
8. ลักษณะการเดิน
  
  
/
  
  
-
  
  
X
  
  
/
  
  
/
  
  
9. ระยะทางการเดิน ต่อวัน
  
  
/
  
  
-
  
  
X
  
  
X
  
  
/
  
  
ระยะเวลาการป่วย
  
  
1 Y
  
  
1 Y
  
  
8 Y
  
  
4 Y 6 M
  
  
2 M
  
-ตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงอาการร่วม
  
รายการประเมิน  (ตัวชี้วัดชุดที่)
  
ผล
สัปดาห์ที่
สัปดาห์ที่
  
1. อาการเกร็ง, ตึง, กระตุก, ชา, ตะคริว
  
ไม่มี
น้อยสุด
4
ช้าสุด
6
  
2.  การใช้มือ (ตักข้าว,  หยิบจับของ)
  
ได้
น้อยสุด
6
ช้าสุด
16
-สรุปผลการศึกษา
รูปแบบ
ก่อน
หลัง
  
ประเมิน ผู้ป่วย
  
  
-มีความทุกข์ทรมานจากภาวะโรค
  
-ไม่ชอบการนวดกลัวเจ็บ
  
  
-ดี ลดความทุกข์ทรมาน
  
-ไม่เครียดมีคนมาพูดคุยด้วย
  
-นวดไม่เจ็บ สบาย โล่ง
  
  
ประเมิน ญาติ
  
  
-ดูแลตามมีตามเกิด
  
-อยู่กับผู้ป่วย บางครั้งเครียด
  
-อยากให้หาย
  
  
-ช่วยตัวเองมากขึ้น ลดภาระ
  
-มีเพื่อนคุย ได้ความรู้
  
-การประเมินความพึงพอใจ
ผู้ป่วย
                   ก่อนได้รับการดูแลรักษากรณีศึกษาทุกรายให้ข้อมูลที่สอดคล้องกันถึงการมีความทุกข์ทรมานจากภาวะโรคอัมพาตไม่ว่าจะเป็นอาการที่พบได้ทุกราย เช่น อาการเกร็ง กระตุก ชา ตะคริว  หรืออาการอื่นๆ เฉพาะบางราย เช่นปัญหาการใช้มือตักข้าว หยิบจับของ การเคลื่อนที่ในท่านั่ง การทรงตัวในท่ายืนการพูด ลักษณะการเดิน และระยะทางการเดินต่อวัน เป็นต้น บางรายไม่ชอบการนวด เช่นกรณีศึกษาเตียงที่ 4 - 0602802  กล่าวว่า “ไม่ชอบการนวดกลัวเจ็บ”
หลังได้รับการดูแลรักษาผู้ป่วยรู้สึกพึงพอใจ โดยรู้สึกดี ลดความทุกข์ทรมาน ทำให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ลดภาระการดูแลของผู้ดูแล ผู้ป่วยไม่เครียดเพราะมีคนมาพูดคุยด้วย การนวดไม่เจ็บสบาย โล่ง ดังคำกล่าวของกรณีศึกษาเตียงที่ 3 - 0413000  “เป็นโรคนี้แย่มากๆ เลยเขาทำให้มันโล่ง ตัวเนื้อเบาดี ถ้ามีโครงการนี้มาแต่แรกฉันหาย เดินได้แล้ว”
-ประมาณการค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาผู้ป่วยอัมพาตที่สูงวัยต่อเดือน
  
รายการค่าใช้จ่าย
  
  
กรณีพักรักษา
  
ที่บ้าน
กรณีพักรักษา
  
ที่  โรงพยาบาล  
  
-  ค่าห้องพักและค่าอาหาร
  
  
3,500 – 4,000
9,000
  
  
-  ค่ารักษาพยาบาล
  
17,040 – 27,710
66,000
  
-  ค่าตอบแทนผู้ดูแล
  
13,620 – 18,000
13,620 – 18,000
  
-  ค่าจ้างเหมารถ
  
0
300 – 800
  
ประมาณการเฉลี่ย/  ราย
  
  
34,160 – 49,710
88,920 – 93,800
-การวิเคราะห์ต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยการบริการ
รายการ
วิธีการคำนวณ
ค่าใช้จ่าย
  
1. ต้นทุนค่าแรง
  
       1.1 ค่าจ้าง  
  
            แพทย์แผนไทย
  
  
  
8,134
  
  
  
  
1.2 ค่าจ้างผู้ช่วย
  
แพทย์แผนไทย
  
  
  
150 x 3 ครั้ง  x 20 สัปดาห์
  
  
9,000
  
  
  
2. ต้นทุนค่าวัสดุ
  
      2.1 ค่าลูกประคบ  
  
  
40 x 2 ลูก x 20 สัปดาห์  
  
  
1,600
  
  
     2.2 ค่าน้ำมันรถ
  
  
4 x 4 ก.ม.  x 3 ครั้ง x 20 สัปดาห์
  
  
960
  
  
ต้นทุนเฉลี่ยต่อราย
  
  
19,694
  
11.1 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
                   - ได้รับความร่วมมือจากกลุ่มตัวอย่าง
                   -ความต่อเนื่องในการให้บริการและการและเมินผล
11.2ปัญหาและอุปสรรค
                   - การได้รับความสนใจและความร่วมมือของกลุ่มผู้สูงอายุและญาติในครอบครัวที่ยังไม่สมัครใจเข้ารับการดูและ
                   -การเดินทางไปบ้านผู้ป่วยในกรณีฤดูฝนเป็นอุปสรรค์ในการเดินทางไปบ้านผู้ป่วย
12.แผนพัฒนาต่อเนื่อง
1.มีการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
                   2.มีการขยายกลุ่มตัวอย่างให้เกิดขึ้นคลอบคลุมจำนวนผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียทั้งหมด
                  
13.ชื่อ บุคลากรหน่วยงานที่จัดทำ
          1.นายอุเทน                มุกเย              นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
          2.นางศิริขวัญ              บุญช่วย           ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย
          3.นางสาวชนัญชิดา        ปิ่นแก้ว          นักวิชาการสาธารณสุข
DOWNLOADs >> CQI2559_(รพ.สต.เนินปอ)การประยุกต์ใช้การแพทย์แผ.pptx (1.18 MB, ดาวน์โหลดแล้ว: 390) CQI_รพ.สต.เนินปอ.docx (292.28 KB, ดาวน์โหลดแล้ว: 416)







ยินดีต้อนรับสู่ รพ.สามง่าม (https://www.samngamhos.go.th/) Powered by Discuz! X3.1