รพ.สามง่าม

ชื่อกระทู้: CQI2559_RM_ระบบข้อมูลการจัดการความเสี่ยง [สั่งพิมพ์]

โดย: admin    เวลา: 2017-3-20 14:04
ชื่อกระทู้: CQI2559_RM_ระบบข้อมูลการจัดการความเสี่ยง
CQI2559_RM_ระบบข้อมูลการจัดการความเสี่ยง


การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง(CQI) ปี 2559
ทีมบริหารความเสี่ยง(RM) โรงพยาบาลสามง่าม จังหวัดพิจิตร
1.   ชื่อผลงาน : ระบบข้อมูลการจัดการความเสี่ยง
2.   คำสำคัญ : การจัดการความเสี่ยง
3.   สรุปผลงานโดยย่อ : มีการออกแบบระบบข้อมูลการจัดการความเสี่ยงโดยจัดทำทะเบียน กำหนดการไหลเวียนข้อมูลและติดตามการรายงานข้อมูลการจัดการความเสี่ยงและอุบัติการณ์
4.   ชื่อและที่อยู่องค์กร : งานข้อมูลข่าวสาร โรงพยาบาลสามง่าม
5.   สมาชิกทีม :
         1) นางสายเพชร  ว่องไวพิทยา  วุฒิการศึกษาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ
         2) นายณัฐวุฒิ  ประสานจิตร     วุฒิการศึกษา รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ตำแหน่ง นักจัดการงานทั่วไป
         3) นางจันทิมา  โมเรือง           วุฒิการศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงบริหารธุรกิจคอมพิวเตอร์ ตำแหน่ง เจ้าพนักงานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
         4) นายธีระยุทธ  ช้างสน           วุฒิการศึกษา วิทยาศาสตร์บัณฑิต ตำแหน่งเจ้าพนักงานบันทึกข้อมูล
6.   เป้าหมาย : ระบบข้อมูลการจัดการความเสี่ยงมีคุณภาพสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการดำเนินงานจัดการความเสี่ยงได้
7.   ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ : โรงพยาบาลสามง่ามได้กำหนดแนวทางในการจัดการความเสี่ยงโดยมีการกำหนด
นโยบาย (Policy) ในการดำเนินงาน ดังนี้
·       การค้นหาและป้องกันความเสี่ยงเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าทุกคน
·       เมื่อเกิดอุบัติการณ์หรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เจ้าหน้าที่ผู้ประสบเหตุมีหน้าที่รายงาน โดยการรายงานดังกล่าวไม่ถือเป็นความผิดและเป็นความลับ
และกำหนดเป้าหมาย (Goal)
·       เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับบริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ปลอดภัย
·       เพื่อให้ผู้ให้บริการปลอดภัยจากการปฏิบัติงาน
·       เพื่อให้สิ่งแวดล้อมปลอดภัย
รวมทั้งมีคณะกรรมการฯเป็นหัวหน้ากลุ่มงาน/หัวหน้างานและมีผู้อำนวยการโรงพยาบาลเป็นประธาน




โดยกำหนดให้ทีมเฉพาะรับผิดชอบโปรแกรมทั้ง 7 โปรแกรม ดังนี้
  
โปรแกรมความเสี่ยง
  
ผู้รับผิดชอบ
1.        ด้านการดูแลผู้ป่วยทางคลินิก
ทีม PCT
2.        ด้านการจัดการข้อร้องเรียนและสิทธิของผู้ป่วย
ทีม HRD
3.        ด้านสิ่งแวดล้อมความปลอดภัยและเครื่องมือ
ทีม ENV
4.        ด้านการควบคุมและเฝ้าระวังการติดเชื้อใน  รพ.
ทีม IC
5.        ด้านความคลาดเคลื่อนทางยา
ทีม PTC
6.        ด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ
ทีม IM
7.        ด้านการบริหารจัดการบุคลากร
ทีม  HRD
และมีศูนย์คุณภาพทำหน้าที่จัดการด้านข้อมูลการรายงานความเสี่ยงกำหนดขั้นตอนในการดำเนินงานดังนี้จากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบปัญหาดังนี้
         7.1    การรายงานอุบัติการณ์มีความล่าช้าในการแจ้งกลับโปรแกรมที่เกี่ยวข้องสาเหตุมาจากการการส่งต่อข้อมูลระหว่างศูนย์คุณภาพกับเลขาฯคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเนื่องจากมี 5 ขั้นตอน ดังนี้
         7.2    ทีมเฉพาะที่รับผิดชอบโปรแกรมความเสี่ยงไม่ได้รายงานการแก้ไขปัญหามายังคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงสาเหตุมาจากทีมเฉพาะมีการกำกับติดตามการการแก้ไขปัญหาความเสี่ยงไม่ครอบคลุม
8.   กิจกรรมการพัฒนา : พัฒนาระบบข้อมูลความเสี่ยง โดย
         8.1    จัดทำทะเบียนบันทึกข้อมูลให้ครอบคลุมและสะดวกต่อการแจงนับใน1 เรื่อง (Onerecord) จนครบขั้นตอนตั้งแต่หน่วยงานรายงานเข้ามาจนการแก้ไขปัญหาสิ้นสุดดังนี้8.2    กำหนดเวลาในการกำกับติดตาม(Time line)ระหว่างศูนย์คุณภาพกับเลขาฯคกก.RM โดยยึดกรอบแนวทางRM ของโรงพยาบาล ดังนี้

         8.4    สรุปปัญหาการดำเนินงานรอบ 9 เดือน ให้คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล(QMR) และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง(RM) ได้รับทราบข้อมูลและให้ข้อเสนอแนะรวมทั้งมีการทบทวนแนวทางการรายงานความเสี่ยง/อุบัติการณ์8.3    ติดตามการแก้ไขปัญหาจากทีมเฉพาะที่รับผิดชอบโปรแกรมในที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล(QMR)
9.การวัดผลและผลการเปลี่ยนแปลง :
           9.1  ลดขั้นตอนในการแจ้งข้อมูลอุบัติการณ์กลับไปยังโปรแกรมที่เกี่ยวข้องเหลือ 3 ขั้นตอน โดยให้ศูนย์คุณภาพและเลขาฯคกก.RMอยู่จุดเดียวกันดังนี้

           9.2  มีระบบข้อมูลความเสี่ยงและอุบัติการณ์ที่มีคุณภาพซึ่งสามารถแสดงข้อมูลการรายงานความเสี่ยง/อุบัติการณ์จากหน่วยงานต่างๆ และมีการรายงานการแก้ไขปัญหาจากทีมเฉพาะ(ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2559) ดังตาราง
10.บทเรียนที่ได้รับ :
           10.1 ผู้รับผิดชอบศูนย์คุณภาพไม่ได้เป็นบุคลากรกรที่มีความรู้ด้านการแพทย์และการพยาบาลโดยตรงทำให้อาจจะมีความคลาดเคลื่อนในการบันทึกข้อมูลการรายงานความเสี่ยงและอุบัติการณ์การพัฒนาต่อไปคือการนำโปรแกรมการจัดการความเสี่ยงมาใช้เพื่อลดความคลาดเคลื่อนในการจัดการบันทึกข้อมูลและเพิ่มความแม่นยำในการจัดการแจงนับข้อมูลมากขึ้น
           10.2  ผู้รายงานความเสี่ยงและอุบัติการณ์ยังขาดความชัดเจนในแนวทางการรายงาน การพัฒนาต่อไป คือชี้แจงแนวทางการรายงานความเสี่ยงและอุบัติการณ์ควบคู่ไปกับการชี้แจงการใช้โปรแกรมการจัดการความเสี่ยง
          10.3  ทีมเฉพาะรายงานการแก้ไขปัญหายังไม่ครบถ้วนการพัฒนาต่อไป คือคืนข้อมูลการรายงานความเสี่ยงและอุบัติการณ์ในที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล(QMR)
11.  การติดต่อกับทีมงาน : หน่วยงาน : งานคุณภาพ โรงพยาบาลสามง่ามจังหวัดพิจิตร
ที่อยู่:หมู่ที่ 5 ตำบลสามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร
ชื่อผู้ที่สามารถติดต่อได้: นางสายเพชร  ว่องไวพิทยา และนายณัฐวุฒิ  ประสานจิตร
โทรศัพท์:056691239 ต่อ 115 Email : samngamhospital@hotmail.com

Download ไฟล์เอกสาร >>
    CQI2559_RM_ระบบข้อมูลการจัดการความเสี่ยง.pptx.pptx (1.84 MB, ดาวน์โหลดแล้ว: 383)
    CQI2559_RM_ระบบข้อมูลการจัดการความเสี่ยง.pdf.pdf (1.51 MB, ดาวน์โหลดแล้ว: 642)
    CQI2559_RM_ระบบข้อมูลการจัดการความเสี่ยง.doc.doc (628.5 KB, ดาวน์โหลดแล้ว: 413)




ยินดีต้อนรับสู่ รพ.สามง่าม (https://www.samngamhos.go.th/) Powered by Discuz! X3.1