admin โพสต์ 2021-3-25 11:13

ด้านที่ 3 ด้านเกณฑ์การประเมินด้านอาคาร สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก


ลำดับเกณฑ์การประเมินแนบไฟล์

ARหมวดงานสถาปัตยกรรม
1แผนพัฒนาและการวางผังโรงพยาบาล
1.1มีแผนแม่บท(แผนพัฒนาและวางผังโรงพยาบาลด้านอาคารและสภาพแวดล้อม)
1.2มีผังบริเวณของโรงพยาบาลที่เป็นปัจจุบัน
2ทางเข้า-ออกของโรงพยาบาล
   
   โรงพยาบาลของท่านมีถนนทางเข้า-ออกหลัก      เข้า-ออกคนละทาง   (ตอบข้อ2.2)       เข้า-ออกทางเดียวกัน(ตอบข้อ2.3)    (หากไม่ประเมินข้อใดให้ไปกำหนดเป็น N/A)

2.1ทางเข้า-ออกหลักของโรงพยาบาลมีการแบ่งช่องทางสัญจรสำหรับยานพาหนะและผู้สัญจรทางเท้าอย่างชัดเจน
2.2ทางเข้า-ออกหลักของโรงพยาบาลสำหรับช่องทางเดินรถทางเดียว มีความกว้างไม่น้อยกว่า 3.50 เมตร
2.3ทางเข้า-ออกหลักของโรงพยาบาลสำหรับช่องทางเดินรถสองทาง เดินรถสวนกัน มีความกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตร
3ส่วนบริการของโรงพยาบาล
3.1เข้าถึงแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินได้สะดวกรวดเร็ว
3.2สะอาดเรียบร้อยปลอดภัยและอำนวยความสะดวก
3.3มีสถานที่ให้บริการเป็นสัดส่วนและได้มาตรฐาน
3.4มีบริเวณพักรอของผู้รับบริการที่เพียงพอ
3.5มีสถานที่เอื้ออำนวยความสะดวกต่อผู้สูงอายุคนพิการและผู้เสื่อมสมรรถภาพทางกาย
3.6ห้องผ่าตัดเล็กมีขนาดพื้นที่ห้องผ่าตัดเล็กไม่น้อยกว่า 12 ตารางเมตรโดยส่วนที่แคบสุดไม่น้อยกว่า 3 เมตร
3.7ห้องผ่าตัดเล็กมีความสูงของห้องผ่าตัดเล็กไม่น้อยกว่า 2.60 เมตร แต่ในกรณีที่ความสูงไม่ถึง2.60 เมตร มีการตกแต่งทำฝ้าให้ต่ำลงมาต้องมีความสูงที่วัดจากพื้นห้องถึงฝ้าไม่ต่ำกว่า 2.45 เมตรและมีพัดลมดูดอากาศหรือระบบระบายอากาศที่เหมาะสม
3.8ห้องผ่าตัดใหญ่มีขนาดพื้นที่ห้องผ่าตัดใหญ่ไม่น้อยกว่า 20 ตารางเมตร และความสูงไม่ต่ำกว่า 3เมตร
3.9ห้องผ่าตัดใหญ่ มีพื้นที่ใช้สอย(แผนกผ่าตัด) ประกอบด้วย Staff Area, บริเวณรับคนไข้, Transfer Area,บริเวณฟอกมือ เจ้าหน้าที่, Operation Rooms และ Recovery Roomsเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
3.1การแพทย์ฉุกเฉินและการส่งต่อมีสถานที่ให้บริการทางการ แพทย์ฉุกเฉินที่ได้มาตรฐาน ตามเกณฑ์ที่กำหนด
3.11จิตเวชมีสถานที่ให้บริการคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวและ/หรือ ความปลอดภัยและเอื้อต่อกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพจิตของผู้มารับบริการและผู้ให้บริการ
3.12เวชระเบียน จัดแบ่งเป็นสัดส่วนไม่เสี่ยงต่ออันตรายจากสัตว์ หรือปัจจัยทางกายภาพและมีพื้นที่เพียงพอที่จะเก็บเวชระเบียน ได้อย่างน้อย 5 ปี
4ป้ายนำทาง ป้ายจราจร ป้ายชื่อโรงพยาบาลป้ายชื่ออาคาร
4.1มีป้ายนำทางบอกทิศทางและระยะทางสู่โรงพยาบาลติดตั้งอยู่ บนถนนสาธารณะสายหลัก สายรอง และทางแยกในระยะที่เหมาะสม
4.2มีป้ายจราจรภายในโรงพยาบาลติดตั้งในตำแหน่งที่เหมาะสม สามารถมองเห็นได้ชัดเจน(ประเมินเฉพาะบริเวณส่วนให้การรักษาพยาบาล)
4.3มีป้ายบอกทางไปยังอาคาร/แผนกต่างๆมองเห็นได้ชัดเจน พร้อมระบบไฟส่องสว่างที่เหมาะสม
4.4มีป้ายชื่อโรงพยาบาลป้ายชื่ออาคารที่เป็นหน่วยบริการสำคัญ ได้แก่ แผนกฉุกเฉิน แผนกผู้ป่วยนอกเป็นต้น ติดตั้งอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม สามารถมองเห็นได้ชัดเจนในเวลากลางวันและมีไฟส่องสว่างในเวลากลางคืน
5ถนนภายในโรงพยาบาล
5.1พื้นผิวเรียบและไม่มีน้ำขัง
5.2บริเวณจุดตัดถนนมีป้ายบอกทางชัดเจนและปราศจากสิ่งบดบังสายตา
6ทางเดินเท้า
6.1แบ่งขอบเขตของทางเดินเท้าออกจากเส้นทางจราจรของยานพาหนะอย่างชัดเจน
6.2มีความกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 เมตรตลอดเส้นทาง
6.3ในจุดที่เป็นทางข้ามถนนและมีความต่างระดับจะต้องทำทางลาดเอียง ให้สามารถนำเก้าอี้มีล้อ (Wheelchair) ผ่านได้โดยสะดวกรวมทั้งต้องจัดให้มีป้ายเตือนผู้ขับขี่ยานพาหนะ ว่าเป็นทางข้ามสำหรับผู้เดินเท้า
7ทางเดินเชื่อมระหว่างอาคารสำหรับผู้ป่วย
7.1มีทางเดินเชื่อมระหว่างอาคารในทุกหน่วยบริการของโรงพยาบาล
7.2มีความกว้างประมาณ 2.50 เมตรเพื่อสะดวกต่อการเข็นเปลนอนผู้ป่วยสวนกันได้และไม่มีสิ่งกีดขวางที่เป็นอุปสรรคต่อการสัญจร
7.3ติดตั้งราวกันตก สูงประมาณ 1.10 ม.
7.4ติดตั้งราวจับ สูงประมาณ 0.80-0.90 ม.
7.5มีหลังคาหรือสิ่งปกคลุมที่ป้องกันแดดและฝนตลอดแนว
8ทางลาด สำหรับผู้ป่วย
8.1กรณีที่ระดับพื้นอาคารมีความต่างระดับกันมากกว่า2 เซนติเมตร จะต้องทำทางลาดเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้รับบริการ
8.2มีความกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 เมตรความลาดชัน 1:12 สามารถเข็นเก้าอี้มีล้อหรือเปลนอนผู้ป่วยได้สะดวกและ ปลอดภัย
8.3ติดตั้งราวกันตก สูงประมาณ 1.10 เมตร
8.4ติดตั้งราวจับ สูงประมาณ 0.80-0.90 เมตร
8.5ทางลาดภายนอกต้องมีหลังคาหรือสิ่งปกคลุมที่ป้องกันแดดและฝนตลอดแนว
8.6ห้องหรือแผนกที่ให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยตั้งแต่ที่ชั้น2 ขึ้นไป ต้องจัดให้มีทางลาดหรือลิฟท์ (BED LIFT)
9ที่จอดรถยนต์และจักรยานยนต์
9.1แยกพื้นที่จอดรถยนต์และรถจักรยานยนต์ออกจากแนวทางวิ่งของรถรวมทั้งแสดงเครื่องหมายทิศทางอย่างชัดเจน
9.2มีที่จอดรถสำหรับผู้พิการอยู่ใกล้ทางเข้าอาคารผู้ป่วยนอกและมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงอย่างชัดเจน
10บริเวณรับ-ส่งผู้ป่วยหน้าอาคาร
10.1มีความกว้างของถนนพอที่รถยนต์คันอื่นสามารถผ่านไปได้ ขณะที่มีรถยนต์จอดรับ-ส่งผู้ป่วย
10.2ระดับพื้นของบริเวณรับ-ส่งผู้ป่วยต้องอยู่ในระดับเดียวกับพื้นถนน ถ้าเป็นพื้นต่างระดับ ต้องมีทางลาดที่เหมาะสม
10.3มีหลังคาหรือสิ่งปกคลุมที่สามารถป้องกันแดดและฝน
11ห้องน้ำ-ส้วม สำหรับผู้รับบริการ
11.1มีห้องน้ำ-ส้วม สำหรับผู้พิการ-ผู้สูงอายุ
11.2มีราวพยุงตัวติดตั้งในตำแหน่งที่เหมาะสม
11.3มีห้องน้ำสำหรับเด็กเล็กเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
12บันไดหนีไฟ *** (รพ.ระดับ F ไม่ต้องประเมินข้อ12.1-12.2)
12.1มีความกว้างของบันไดและชานพักที่สะดวกต่อการใช้งานและไม่มีสิ่งกีดขวาง
12.2มีตัวเลขระบุชั้นอยู่ภายในตัวบันไดที่มองเห็นได้ชัดเจน
INหมวดงานมัณฑนศิลป์
13งานตกแต่งภายในและเฟอร์นิเจอร์ภายในอาคาร
13.1อ่างล้างมือสำหรับแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่ไม่ควรใช้ปะปนกับอ่างเทสิ่งสกปรกหรือล้างวัสดุอุปกรณ์ต่างๆและก๊อกน้ำควรใช้ก๊อกน้ำชนิดไม่ใช้มือสัมผัส (ก๊อกน้ำชนิดก้านปัดด้วยข้อศอกหรือเป็นแบบเซนเซอร์)
13.2เคาน์เตอร์สำหรับพยาบาลเฝ้าระวังสังเกตการณ์TOP เคาน์เตอร์ระดับบนไม่ควรสูงเกินกว่า 90 เซนติเมตร จากระดับพื้นห้องเพื่อไม่ให้บังสายตาในขณะเฝ้าดูผู้ป่วย
13.3ห้องตรวจของแพทย์มีอ่างล้างมือสำหรับแพทย์และเจ้าหน้าที่อย่างน้อย 2 ห้องตรวจ ต่อ 1 อ่าง
13.4เตียงผู้ป่วยควรมีม่านกั้นระหว่างเตียงผู้ป่วยเพื่อบังสายตาระหว่างการรักษาและเพื่อความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วย
13.5มีป้ายติดหน้าห้องหรือหน้าแผนกบริการในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน
13.6แผนกผู้ป่วยใน บริเวณตั้งเตียงผู้ป่วยควรมีระยะระหว่างเตียง ไม่น้อยกว่า 1 เมตรและสามารถนำเปลเข็นเข้าเทียบเตียงผู้ป่วยได้โดยสะดวก
13.7ห้องผ่าตัดควรมีอ่างฟอกมือติดกับห้องผ่าตัดอย่างน้อย 2 อ่างต่อ 1 ห้องผ่าตัดและก๊อกน้ำควรใช้ก๊อกน้ำชนิดไม่ใช้มือสัมผัส เช่นก๊อกน้ำแบบใช้เข่าดันเปิด-ปิดน้ำ หรือแบบเซนเซอร์
13.8แผนกเภสัชกรรม มีตู้หรือชั้นเก็บยาเวชภัณฑ์ ที่เป็นสัดส่วนและมีตู้แยกเก็บยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทที่มีกุญแจปิดอย่างมีประสิทธิภาพ
13.9แผนกเภสัชกรรม มีสถานที่และโต๊ะสำหรับเตรียมยา – ผสมยา แยกเป็นสัดส่วนจากที่จัดยา
13.1มีห้องจ่ายยาและจัดแบ่งพื้นที่ใช้สอยอย่างเหมาะสม(บริเวณจ่ายยา/ให้คำแนะนำผู้ป่วย/เก็บรักษายา/ผสมยาสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย)
13.11มีตู้/ชั้นเก็บยาหรือเวชภัณฑ์ที่เพียงพอและเหมาะสม
13.12มีสถานที่ให้คำปรึกษาแนะนำด้านยาที่เป็นสัดส่วน
13.13กรณีมีการเตรียมยาสำหรับผู้ป่วยเฉพาะรายในโรงพยาบาลให้มีสถานที่สำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย
13.14แผนกรังสีวินิจฉัย มีป้ายคำเตือน“ผู้ป่วยมีครรภ์โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบ”
13.15มีห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าสำหรับผู้ป่วยเป็นสัดส่วนและมิดชิด
13.16การตรวจพิเศษทางรังสีวิทยาในระบบทางเดินอาหารต้องมีห้อง สุขาติดกับห้องตรวจ
13.17มีป้ายสัญลักษณ์แสดงเขตรังสีรักษาและไฟสัญญาณแสดงขณะใช้งานเครื่องกำเนิดรังสี
13.18แผนกผู้ป่วยหนัก บริเวณตั้งเตียงผู้ป่วยควรมีระยะห่างระหว่างเตียงไม่น้อยกว่า 2 เมตรเพื่อให้สามารถวางอุปกรณ์ช่วยชีวิตและสะดวกในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ***(รพ.ระดับ F ไม่ต้องประเมินข้อ 13.18)
13.19แผนกไตเทียมมีสถานที่และเฟอร์นิเจอร์สำหรับพักคอยของญาติผู้ป่วยโดยแยกเป็นสัดส่วนต่างหากจากบริเวณส่วนของผู้ป่วย *** (รพ.ระดับ Fไม่ต้องประเมินข้อ 13.19)
13.2แผนกไตเทียมบริเวณตั้งเตียงผู้ป่วยมีระยะห่างระหว่างเตียงไม่น้อยกว่า 1.10เมตรและความกว้างของทางเดินระหว่างปลายเตียงของสองฟากเตียงไม่น้อยกว่า 2 เมตร*** (รพ.ระดับ F ไม่ต้องประเมินข้อ 13.20)
13.21ห้องฟอกไตเทียมมีขนาดของห้องบริการฟอกเลือดที่สัมพันธ์กับจำนวนเตียงและอุปกรณ์และพื้นที่ใช้สอยเหมาะสมในการปฏิบัติงานที่ได้มาตรฐานโดยมีพื้นที่ไม่ต่ำกว่าสี่ตารางเมตรต่อหนึ่งจุดบริการโดยส่วนที่แคบที่สุดไม่น้อยกว่า 1.80 เมตร เพื่อให้มีพื้นที่สามารถช่วยเหลือและเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินได้สะดวก
13.22มีพื้นที่เตรียมน้ำบริสุทธิ์พื้นที่ล้างตัวกรองแผนกบริการเทคนิคการแพทย์
13.23มีสถานที่เก็บสิ่งส่งตรวจเหมาะสมสะดวกต่อผู้รับบริการ
13.24มีสถานที่ปฏิบัติเหมาะสมปลอดภัยมีการแยกพื้นที่ปฏิบัติการเฉพาะ เช่น งานธนาคารเลือด งานจุลชีววิทยาคลินิกเป็นต้น
13.25มีการเก็บรักษาวัตถุหรือสารเคมีและสารไวไฟโดยจัดไว้เป็นหมวดหมู่ มีป้ายและฉลากแสดงถูกต้องครบถ้วน
13.26แผนกบริการแพทย์แผนไทยห้องอบไอน้ำสมุนไพรรวมต้องแยกห้องให้บริการชาย-หญิง หรือถ้าไม่สามารถแยกได้ต้องบริหารจัดการเวลาการให้บริการแก่ผู้รับบริการชาย-หญิงได้อย่างเหมาะสม
13.27แผนกบริการแพทย์แผนไทยห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า (ถ้ามี) ต้องมีขนาดตามเกณฑ์มาตรฐานโดยแยกห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าชาย-หญิง แต่หากไม่สามารถแยกได้ต้องบริหารจัดการเวลาการใช้ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าของผู้รับบริการชาย-หญิงได้อย่างเหมาะสม
13.28แผนกบริการแพทย์แผนจีนเตียงสำหรับนวดหรือฝังเข็ม มีขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า 0.70 เมตรความยาวไม่น้อยกว่า 1.80 เมตร ความสูงไม่ต่ำกว่า 0.70 เมตรและระยะห่างระหว่างเตียงไม่น้อยกว่า 1 เมตร
13.29แผนกบริการการแพทย์แผนจีนเตียงต้องมีลักษณะมั่นคงแข็งแรงตามมาตรฐานการประกอบโรคศิลปะสาขาแพทย์แผนจีนกำหนด
LSหมวดงานภูมิทัศน์
14ภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อม
14.1บริเวณพักผ่อนมีพื้นที่รองรับเพียงพอต่อผู้ใช้บริการ มีความร่มรื่น สวยงาม สงบมีอากาศถ่ายเทที่ดี และเหมาะสมกับผู้ใช้แต่ละวัย ทั้งเด็กและผู้สูงอายุทั้งเด็กและผู้สูงอายุ
14.2พื้นที่ระหว่างอาคาร มีการจัดภูมิทัศน์ใช้พรรณไม้ที่ดูแลรักษา ง่าย หรือใช้วัสดุตกแต่งพื้นผิวซึมน้ำ (Porous Pavement)
14.3มีการจัดทำแผนปฏิบัติการ เช่นแผนการดูแลรักษาพืชพรรณไม้ แผนการแก้ไขน้ำท่วมขังบริเวณถนน-ทางเดินเท้าแผนการดูแลรักษาความสะอาดไม่ให้มีเศษขยะ แผนการจัดให้มีถังขยะพอเพียง เป็นต้น
STหมวดงานโครงสร้าง
15โครงสร้างอาคาร (ความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร)
15.1มีแผนงานในการเฝ้าระวังให้อาคารมีสภาพพร้อมใช้งานและมั่นคงแข็งแรง
15.2มีการตรวจสอบสภาพอาคารและบันทึกการตรวจสภาพอาคารพร้อมมีรายงานผลต่อหัวหน้าหน่วยงานหรือผู้บริหารโรงพยาบาล
15.3มีการตรวจสอบอาคารตามที่กฎหมายกำหนด
EEหมวดงานระบบไฟฟ้า
16ระบบไฟฟ้ากำลัง
16.1มีแผนผังระบบไฟฟ้ากำลัง(แนวแรงสูงและแรงต่ำ ตำแหน่งหม้อแปลง ตำแหน่งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแสดงการจ่ายไฟระบบไฟฟ้าภายนอกอาคาร)
16.2แนวการปักเสาพาดสายไฟฟ้าเป็นระเบียบเรียบร้อยและปลอดภัย
16.3บริเวณที่ติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าแบบตั้งพื้นและนั่งร้านต้องมีที่ว่างเพื่อปฏิบัติงาน และมีการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ามีพื้นที่เพียงพอต่อการซ่อมบำรุงและรถซ่อมบำรุงสามารถเข้าถึงได้ มีมีป้ายแจ้งเตือนระวังอันตรายไฟฟ้าแรงสูง
16.4สายไฟฟ้ามีระยะห่างจากตัวอาคารที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายและมีความสูงจากผิวจราจรหรือทางเดินที่เหมาะสมโดยไม่กีดขวางและไม่เป็นอันตรายต่อบุคคลทั่วไป
16.5มีกระแสไฟฟ้าจ่ายให้กับอุปกรณ์ที่ใช้กับผู้รับบริการอย่างเพียงพอตลอด24 ชั่วโมง
16.6มีการติดตั้งแผงจ่ายไฟฟ้าหลัก (ตู้ MDB)อยู่ในห้องที่ทำด้วยวัสดุ มั่นคงแข็งแรง มีที่ว่างเพื่อปฏิบัติงานสามารถเข้าตรวจสอบและซ่อมบำรุงได้สะดวก มีป้ายแจ้งเตือนระวังอันตรายจากไฟฟ้า
16.7ตู้สวิทช์ตัดตอน (PANEL BOARD)มีที่ว่างเพื่อปฏิบัติงานสามารถเข้าตรวจสอบได้ง่ายและอยู่ในสภาพที่ยึดติดแน่นมั่นคงแข็งแรง
16.8มีระบบการต่อลงดินของหม้อแปลงไฟฟ้าและแผงจ่ายไฟฟ้าหลัก (ตู้ MDB)
16.9มีระบบการต่อลงดินของแหล่งจ่ายไฟฟ้าแยกต่างหากเช่น เครื่อง กำเนิดไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน การติดตั้งต้องให้สอดคล้องกับ ATS 3P หรือATS 4P
16.1การต่อลงดินในพื้นที่ที่ไม่มีการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ไฟฟ้า(กลุ่ม 0) และพื้นที่ที่มีการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ไฟฟ้า (กลุ่ม 1)สายดินติดตั้งต้องเป็นแบบแยก (TN–S)
16.11การต่อลงดินในพื้นที่ที่มีการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ไฟฟ้า(กลุ่ม 2) (ยกเว้นกลุ่ม 1) เช่น บริเวณห้องผ่าตัด,ห้อง ICU ฯลฯ ซึ่งการจ่ายไฟฟ้าที่ไม่ต่อเนื่องสามารถก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้สายดินติดตั้งเป็นแบบแยกออกจากระบบ (IT)
17ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง
17.1ภายนอกอาคารมีการติดตั้งเสาไฟฟ้าแสงสว่างหรือดวงโคมที่ให้ความสว่างในเวลากลางคืนได้อย่างพอเพียงสภาพของเสาไฟฟ้าและดวงโคมมีการติดตั้งอย่างมั่นคงแข็งแรงและปลอดภัย
17.2ภายในอาคารมีค่าความเข้มของแสงสว่างพอเพียงและเหมาะสมต่อพื้นที่ใช้งาน
17.3ภายนอกอาคารมีอุปกรณ์ป้องกันการใช้กระแสไฟฟ้าเกินและป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้ารั่ว
18ระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน
18.1มีระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉินในการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าต้องสามารถจ่ายไฟใช้งานภายใน10 วินาที ภายหลังระบบไฟฟ้ากำลังหลักหยุดทำงาน
18.2เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองต้องอยู่ในที่มิดชิดโดยอาจอยู่ภายในอาคารหลักหรืออยู่เป็นอาคารแยกต่างหากมีการป้องกันแรงสั่นสะเทือนและเสียงจากเครื่องมีประตูทางเข้าออกสะดวกและกว้างเพียงพอต่อการเคลื่อนย้ายหรือซ่อมบำรุงโดยมีระยะห่างโดยรอบจากเครื่องกับผนังไม่น้อยกว่า 1 เมตร
18.3มีการทดสอบการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองเป็นประจำและมีน้ำมันสำรองสำหรับการเดินเครื่องอย่างเพียงพอไม่น้อยกว่า8 ชั่วโมง
18.4ภายในอาคารที่ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองต้องมีการระบายอากาศที่ดีและสะอาดมีแสงสว่างเพียงพอในการตรวจสอบการทำงานของเครื่อง
18.5ต้องมีรางระบายน้ำภายในห้องเครื่องในตำแหน่งที่เหมาะสมหรือรอบแท่นเครื่องสำหรับการระบายน้ำเวลาที่ทำความสะอาดพื้น
18.6เครื่องกำเนิดไฟฟ้าต้องมีขนาดกำลังที่เหมาะสมและเพียงพอสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าสำรองให้กับดวงโคมและอุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็นในแผนกอุบัติเหตุห้องผ่าตัด หอผู้ป่วยหนัก ห้องคลอด และธนาคารเลือดเป็นอย่างน้อย
18.7มีเครื่องสำรองไฟฟ้าฉุกเฉิน (UPS)จ่ายให้กับอุปกรณ์ทางการ แพทย์ที่สำคัญสำหรับวงจรช่วยชีวิตซึ่งไม่สามารถหยุดได้มีการใช้อย่างต่อเนื่องเพียงพอและเหมาะสม โดยอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน
18.8บันไดทางหนีไฟทางสัญจรห้องเครื่องและหน่วยบริการอื่นๆต้องมีระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินซึ่งใช้พลังงานจากแบตเตอรี่เพิ่มเติมตามความเหมาะสมตามมาตรฐานระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและ โคมไฟป้ายทางออกฉุกเฉินของวสท.
18.9ระบบนำทางเรืองแสงเพื่อการอพยพหนีภัย(ถ้ามี) เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการอพยพหนีภัยเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินให้แก่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลและประชาชนตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
19ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้
19.1มีการติดตั้งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ในทุกชั้นของอาคารประกอบด้วยอุปกรณ์ส่งสัญญาณที่สามารถส่งเสียงหรือสัญญาณให้ผู้ที่อยู่ภายในอาคารได้ยินหรือทราบอย่างทั่วถึงโดยการควบคุมด้วยมือหรือด้วยระบบอัตโนมัติในตำแหน่งที่เหมาะสม เช่น โถงพักรอห้องพักผู้ป่วย ห้องทำงาน เป็นต้น
20ระบบป้องกันการเข้า-ออก
20.1มีการติดตั้งระบบป้องกันการเข้าออกเพื่อป้องกันการเข้าถึงในสถานที่เฉพาะที่ต้องการความปลอดภัย
20.2มีระบบหรือวิธีการรักษาความปลอดภัยของพยาบาลในnurse station
21ระบบป้องกันแรงดันและกระแสเกิน
21.1มีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันแรงดันและกระแสเกินที่แผงจ่ายไฟฟ้าหลัก(ตู้ MDB) เพื่อป้องกันแรงดันและกระแสไฟเกินที่เกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น ฟ้าผ่า,สวิทต์ชิ่ง, การลัดวงจร เป็นต้น
SNหมวดงานระบบประปาและสุขาภิบาล
22ระบบประปา
22.1มีแผนผังประปา
22.2มีระบบจ่ายน้ำที่สะอาดไม่ปนเปื้อนสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพไม่มีการรั่วซึมและมีแรงดันเพียงพอต่อการใช้งาน
22.3มีการสำรองน้ำประปา
22.4ถังเก็บน้ำสำรองต้องมีฝาถังปิดมิดชิดมีกุญแจล็อค ป้องกันสัตว์ แมลงและคนตกลงไปในถัง
22.5ระบบสำรองน้ำประปาจะต้องไม่รั่วซึมและติดตั้งในสถานที่เหมาะสมไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนต่อคุณภาพน้ำประปา เช่น ระดับฝาถังเก็บน้ำใต้ดินต้องสูงกว่าระดับรางระบายน้ำฝนทั่วไป โดยสำรองน้ำไว้ใช้ได้อย่างน้อย 2 วัน
22.6มีระบบการทำน้ำบริสุทธิ์ที่ได้มาตรฐาน(Water Treatment System) เช่น Reverse Osmosis, Deionizer)พร้อมเกณฑ์การทำความสะอาดระบบน้ำและควบคุมคุณภาพของน้ำบริสุทธิ์อยู่ตลอดเวลา
23ระบบระบายน้ำและระบบสุขาภิบาล
23.1มีผังระบบระบายน้ำ และระบบสุขาภิบาล
23.2มีระบบระบายน้ำฝนจากอาคารสู่แหล่งระบายน้ำสาธารณะ
23.3มีการแยกประเภทสำหรับท่อต่างๆ
23.4มีระบบสุขาภิบาลห้องปฏิบัติการ
MEหมวดงานระบบเครื่องกล
24ลิฟท์ *** (รพ.ระดับ F ไม่ต้องประเมินข้อ24.1-24.6)
24.1มีการแยกประเภทของลิฟต์ตามการใช้งานได้แก่ ลิฟต์โดยสาร , ลิฟต์ขนของ , ลิฟต์สำหรับพนักงานดับเพลิง
24.2มีขนาดและจำนวนเพียงพอต่อการใช้งาน
24.3บริเวณโถงหน้าลิฟต์บรรทุกเตียงคนไข้ต้องมีพื้นที่สามารถเข็นเปลนอนสวนกันได้
24.4กำหนดให้มีลิฟต์สำหรับผู้พิการและทุพพลภาพสามารถใช้งานได้
24.5บริเวณโถงหน้าลิฟต์และภายในห้องโดยสารต้องสะอาด มีระบบระบายอากาศและแสงสว่างภายในห้องโดยสารที่เหมาะสม
24.6กรณีไฟฟ้าดับ จัดให้มีระบบ ARD (AutomaticRescue Device)เพื่อให้ลิฟท์สามารถเคลื่อนไปเทียบยังชั้นที่ใกล้ที่สุดและประตูลิฟท์จะต้องเปิดออกทันที
25ระบบระบายอากาศและปรับอากาศ
25.1พื้นที่ให้บริการและพื้นที่ปฏิบัติงานต้องมีอากาศที่สะอาดจากภายนอกเติมเข้าสู่พื้นที่บริการ/ปฏิบัติงานให้ได้อัตราการถ่ายเทอากาศที่เหมาะสม ทั้งโดยวิธีธรรมชาติหรือวิธีกล
25.2มีการควบคุมทิศทางการเคลื่อนที่ของอากาศในบริเวณห้องตรวจ
25.3มีระบบควบคุมการติดเชื้อที่ได้มาตรฐาน
25.4ห้องตรวจผู้ป่วยที่แสดงอาการโรคติดเชื้อทางอากาศต้องมีการควบคุมแรงดันอากาศ
หน้า: [1]
ดูในรูปแบบกติ: ด้านที่ 3 ด้านเกณฑ์การประเมินด้านอาคาร สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก